Loading AI tools
อำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วารินชำราบ เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองอุบลราชธานี มีระยะทางห่างจากอำเภอเมืองเพียง 2 กิโลเมตร โดยอยู่คนละฝั่งของแม่น้ำมูล เป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟอุบลราชธานี และสถาบันการศึกษาที่สำคัญของจังหวัดอย่างมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อำเภอวารินชำราบ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Warin Chamrap |
ภาพถ่ายทางอากาศของอำเภอวารินชำราบใน พ.ศ. 2553 | |
คำขวัญ: นมัสการหลวงปู่ชา มีปลาแซ่บหลาย มากพันธุ์ไม้ดอก บ่งบอกวัฒนธรรม | |
แผนที่จังหวัดอุบลราชธานี เน้นอำเภอวารินชำราบ | |
พิกัด: 15°12′9″N 104°52′3″E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | อุบลราชธานี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 619 ตร.กม. (239 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 160,350 คน |
• ความหนาแน่น | 259.05 คน/ตร.กม. (670.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 34190, 34310 (เฉพาะตำบลท่าลาด บุ่งหวาย และห้วยขะยุง) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3415 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอวารินชำราบ ถนนทหาร ตำบลวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 34190 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
อำเภอวารินชำราบ เดิมเรียกว่า บ้านน้ำคำเอือกก่อนจอ ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ ยกขึ้นเป็น เมืองวารินชำราบ ขึ้นกับเจ้านครจำปาศักดิ์ มีพระกำจรจัตุรงค์เป็นเจ้าเมือง ต่อมาเป็นส่วนหนึ่งของเขตการปกครองเมืองอุบลราชธานี ที่ว่าการอำเภอหลังแรกสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2451 ใช้ชื่อว่า อำเภอทักษิณูปนิคม ผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอคนแรกคือ ท้าวธรรมกิติกา (เป้ย สุวรรณกูฏ) ครั้นเมื่อปี พ.ศ. 2456 สมัยของขุนภูมิพิพัฒน์เขตร์ (แท่ง เหมะนัค) ซึ่งเป็นนายอำเภอคนที่ 2 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากฝั่งอำเภอเมืองอุบลราชธานี ข้ามแม่น้ำมูลมาตั้งอยู่ที่บ้านคำน้ำแซบ ตำบลธาตุ แล้วเปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น อำเภอวารินชำราบ
ปี พ.ศ. 2423 รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านนากอนจอ ขึ้นเป็น เมืองวารินทร์ชำราบ แต่งตั้งให้ พระกำจรจตุรงค์ เจ้าเมือง ขึ้นกับเมืองนครจำปาศักดิ อยู่ต่อมาได้ 6 ปีเจ้าเมืองวารินทร์ชำราบไม่พอใจจะทำราชการกับเมืองนครจำปาศักดิ์ จึงขอมาสังกัดเมืองเขมราษฎร์ธานีพร้อมกับเมืองเสมี๊ยะ ในปี พ.ศ. 2440 กระทรวมหาดไทยได้ลดฐานะเมืองวารินทร์ชำราบลงเป็นอำเภอวารินทร์ชำราบ โดยมี ราชวงศ์บุญ รักษาราชการนายอำเภอ ครั้นถึงปี พ.ศ. 2454 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย รับพระราชโองการยุบอำเภอวารินทร์ชำราบ โดยให้ไปรวมกับ อ.บูรพาอุบลและ อ.พิมูลมังษาหาร
อำเภอวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2451 สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แบ่งเมือง อุบลราชธานีตั้งเป็นเมืองอีก 4 อำเภอ คือ อ.บูรพูปลนิคม(อ.บูรพาอุบล) อ.อุตรูปลนิคม(อ.อุดรอุบล) อ.ปจิมูปลนิคม(อ.ปจิมอุบล) และ อ.ทักษิณูปลนิคม(อ.ทักษิณอุบล) โดยตั้งที่ว่าการอยู่บริเวณศาลาว่าการมณฑลอุบล
อำเภอทักษิณูปลนิคมหรืออำเภอทักษิณอุบล มีท้าวธรรมกิติกา(เป้ย สุวรรณกูฏ) ดำรงตำแหน่งนายอำเภอคนแรก ในสมัยขุนภูมิพัฒน์เขตร์(แท่ง เหมะนัค) นายอำเภอคนที่ 2 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่บ้านคำน้ำแซบ ตำบลธาตุ ปี พ.ศ. 2456 อำเภอทักษิณอุบลได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น อำเภอวารินทร์ชำราบ(โดยนำเอาชื่อเมืองวารินชำราบที่ถูกยุบไปมาตั้งแทนชื่อ อ.ทักษิณอุบล ในต่อๆมาชื่ออำเภอวารินชำราบ
เมืองวารินทร์ชำราบ(ปัจจุบัน: ตำบลวาริน อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี) ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2423 มีพระกำจรจตุรงค์ เป็นเจ้าเมือง กำหนดให้ขึ้นตรงต่อเมืองนครฯจำปาศักดิ์ ต่อมาไม่พอใจจะทำราชการกับเมืองนครฯจำปาศักดิ์ จึงได้มาขึ้นตรงต่อเมืองเขมราฐ ปี พ.ศ. 2440 ถูกลดฐานะลงเป็นอำเภอวารินทร์ชำราบ โดยมีราชวงศ์บุญ รักษาการตำแหน่งนายอำเภอ ในปี พ.ศ. 2454 รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้ยุบเลิกอำเภอวารินทร์ชำราบ แล้วให้รวมอยู่กับอำเภอบูรพาอุบล(ปัจจุบัน : อ.เมืองอุบลฯ)และอำเภอพิมูลมังษาหาร(ปัจจุบัน : อ.พิบูลมังสาหาร)
อำเภอวารินชำราบ (ปัจจุบัน : อ.วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เดิมชื่อ อ.ทักษิณูปลนิคม หรือ อ.ทักษิณอุบล ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2451 ในสมัยรัชกาลมี่ 5 มีท้าวธรรมกิติกา(เป้ย สุวรรณกูฏ) เป็นนายอำเภอคนแรก โดยตั้งที่ว่าการอยู่ในบริเวณศาลามณฑลอุบล ปีพ.ศ. 2456 ได้เปลี่ยนชื่อ อ.ทักษิณอุบล มาเป็น อ.วารินทร์ชำราบ โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้นำชื่ออำเภอวารินที่ถูกยุบเลิกไปนั้นมาแทน
อำเภอวารินชำราบตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
อำเภอวารินชำราบแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 16 ตำบล 190 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | วารินชำราบ | (Warin Chamrap) | - | 9. | คำขวาง | (Kham Khwang) | 10 หมู่บ้าน | ||||
2. | ธาตุ | (That) | 10 หมู่บ้าน | 10. | โพธิ์ใหญ่ | (Pho Yai) | 13 หมู่บ้าน | ||||
3. | ท่าลาด | (Tha Lat) | 12 หมู่บ้าน | 11. | แสนสุข | (Saen Suk) | 20 หมู่บ้าน | ||||
4. | โนนโหนน | (Non Non) | 12 หมู่บ้าน | 12. | หนองกินเพล | (Nong Kin Phen) | 9 หมู่บ้าน | ||||
5. | คูเมือง | (Khu Mueang) | 12 หมู่บ้าน | 13. | โนนผึ้ง | (Non Phueng) | 11 หมู่บ้าน | ||||
6. | สระสมิง | (Sa Saming) | 16 หมู่บ้าน | 14. | เมืองศรีไค | (Mueang Si Khai) | 11 หมู่บ้าน | ||||
7. | คำน้ำแซบ | (Kham Nam Saep) | 10 หมู่บ้าน | 15. | ห้วยขะยุง | (Huai Khayung) | 13 หมู่บ้าน | ||||
8. | บุ่งหวาย | (Bung Wai) | 20 หมู่บ้าน | 16. | บุ่งไหม | (Bung Mai) | 11 หมู่บ้าน |
ท้องที่อำเภอวารินชำราบประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง ได้แก่
อำเภอวารินชำราบมีเทศกาลสำคัญคือ เทศกาลงานไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่งจัดในบริเวณพื้นที่ทุ่งคำน้ำแซบของทุกปี
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.