Loading AI tools
อำเภอในจังหวัดนราธิวาส ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระแงะ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนราธิวาสในอดีตเคยเป็นจังหวัดระแงะต่อมาจึงถูกลดฐานะลงเป็นอำเภอระแงะขึ้นกับจังหวัดนราธิวาสจนถึงปัจจุบัน
อำเภอระแงะ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Ra-ngae |
คำขวัญ: ระแงะเมืองพระยา ลองกองล้ำค่า ประชามีน้ำใจ | |
แผนที่จังหวัดนราธิวาส เน้นอำเภอระแงะ | |
พิกัด: 6°17′47″N 101°43′42″E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นราธิวาส |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 435.6 ตร.กม. (168.2 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 94,050 คน |
• ความหนาแน่น | 215.91 คน/ตร.กม. (559.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 96130, 96220 (เฉพาะตำบลบองอ) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 9605 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอระแงะ ถนนระแงะมรรคา ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส 96130 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
อำเภอระแงะ ตามประวัติศาสตร์เป็นเมืองหนึ่งขึ้นอยู่กับมณฑลปัตตานี อันเป็นเมืองโบราณตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี จนกระทั่งถึงรัชสมัยของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยเหตุผลทางการเมือง พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเล้าฯ ให้พระยาอภัยสงครามกับพระยาสงขลา ( เถียนจ๋อง ) ออกไปทำการแยก เมืองปัตตานีออกเป็นเจ็ดหัวเมือง พร้อมอัญเชิญตราตั้ง ออกไปพระราชทานแก่เมืองทั้งเจ็ดเรียกว่า “บริเวณ 7 หัวเมือง” ประกอบด้วยเมืองปัตตานีเมืองยะลา เมืองหนองจิก เมืองรามัน เมืองสายบุรี เมืองยะหริ่ง เมืองระแงะโดยมีการแต่งตั้งให้มีผู้ปกครองแต่ละเมือง เรียกว่าพระยาเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2355
พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าพระปิยมหาราชได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรตามบรรดาศักดิ์แก่เจ้าเมืองพระยาระแงะว่าพระยาภูผาภักดีศรีสุวรรณประเทศวิเศษวังษา และเจ้าเมืองอื่น ๆ ด้วย พ.ศ. 2444 ได้ประกาศข้อบังคับสำหรับการปกครอง ในการปกครองมอบหมายให้เจ้าเมืองปกครองดูแล โดยมีกองบัญชาการงานเมือง มีปลัดเมือง ยกกระบัตรผู้ช่วยผู้ว่าราชการเมือง โดยมีข้าหลวงใหญ่เป็นผู้ควบคุมดูแล ตรวจตรา แนะนำ ข้าราชการ และข้าราชการให้ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของราชการส่วนกลาง โดยยกเลิกการปกครองและตำแหน่งหน้าที่ราชการในการปกครองบริเวณ 7 หัวเมือง
เมืองระแงะจึงย้ายมาอยู่ที่ตำบลตันหยงมัส และทรงโปรดเล้าฯแต่งตั้งนายหนิเดะ เป็นพระยาเมืองปกครอง และเมื่อนายหนิเดะได้ถึงแก่กรรม ตำแหน่งว่างลง จึงทรงโปรดแต่งตั้งให้นายหนิบอสูเป็นผู้รักษาราชการแทนสืบต่อเนื่องมาจนกระทั่งมีการโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนแปลงการปกครอง 7 หัวเมืองโดยให้ขึ้นตรงต่อมณฑลนครศรีธรรมราช
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411 - 2453) ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล และให้ 7 หัวเมืองอยู่ในความ ปกครองของเทศาภิบาล เมื่อปี พ.ศ. 2449 (ร.ศ. 125) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯให้ยุบหัวเมืองทั้ง 7 เหลือแค่เพียง 4 หัวเมือง และให้ขึ้นอยู่กับมณฑลปัตตานี คือ (1) เมืองปัตตานี ประกอบด้วย หนองจิก ยะหริ่ง และปัตตานี (2) เมืองยะลา ประกอบด้วย รามัน และเมืองยะลา (3) เมืองสายบุรี (4) เมืองระแงะ
พ.ศ. 2450 ได้ย้ายที่ว่าการเมืองระแงะ ที่ตำบลบ้านตันหยงมัสไปตั้งเมืองขึ้นใหม่ที่บ้านมะนาลอ อำเภอบางนรา และยกฐานะอำเภอบางนราขึ้นเป็นเมืองบางนรา ส่วนเมืองระแงะเดิมนั้นให้เป็นอำเภอและขึ้นอยู่กับเมืองบางนรา โดยยกฐานะ “บ้านตันหยงมัส” เป็น “อำเภอเมืองระแงะ”
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2460 ชุมชนตันหยงมัส ได้เจริญและขยายตัวเมือง จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก“ อำเภอเมืองระแงะ” เป็น “อำเภอตันหยงมัส” และในปี พ.ศ. 2481 ได้เปลี่ยนชื่อจาก “อำเภอตันหยงมัส” เป็น “อำเภอระแงะ” จนถึงปัจจุบัน[1]
อำเภอระแงะตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
อำเภอระแงะแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 61 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ตันหยงมัส | (Tanyong Mat) | 13 หมู่บ้าน | |||||||
2. | ตันหยงลิมอ | (Tanyong Limo) | 8 หมู่บ้าน | |||||||
3. | บองอ | (Bo-ngo) | 10 หมู่บ้าน | |||||||
4. | กาลิซา | (Kalisa) | 6 หมู่บ้าน | |||||||
5. | บาโงสะโต | (Ba-ngo Sato) | 8 หมู่บ้าน | |||||||
6. | เฉลิม | (Chaloem) | 7 หมู่บ้าน | |||||||
7. | มะรือโบตก | (Maruebo Tok) | 9 หมู่บ้าน |
ท้องที่อำเภอระแงะประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.