Loading AI tools
ผู้นำสูงสุดอิหร่าน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซย์เยด แอลี โฮเซย์นี ฆอเมเนอี (Sayyid Ali Hosseini Khamenei, เปอร์เซีย: سید علی حسینی خامنهای ; เกิด 19 เมษายน 1939)[3] เป็นนักบวชและนักการเมืองชาวอิหร่าน ผู้นำสูงสุดอิหร่านคนที่สองและคนปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ค.ศ. 1989 เขาเคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอิหร่านระหว่าง ค.ศ. 1981 ถึง 1989 ฆอเมเนอีถือเป็นประมุขแห่งรัฐที่อยู่ในตำแหน่งนานเป็นอันดับสองในตะวันออกกลาง
อายะตุลลอหฺใหญ่ เซย์เยด แอลี โฮเซย์นี ฆอเมเนอี | |
---|---|
سید علی حسینی خامنهای | |
ผู้นำสูงสุดอิหร่าน คนที่ 2 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 4 มิถุนายน ค.ศ. 1989 (35 ปี 163 วัน) | |
ประธานาธิบดี |
|
ก่อนหน้า | รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี |
ประธานาธิบดีอิหร่าน คนที่ 3 | |
ดำรงตำแหน่ง 13 ตุลาคม ค.ศ. 1981 – 3 สิงหาคม ค.ศ. 1989 (7 ปี 294 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | Mir-Hossein Mousavi |
ผู้นำสูงสุด | รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี |
ก่อนหน้า | โมแฮมแมดแอลี แรจออี |
ถัดไป | แอกแบร์ ฮอเชมี แรฟแซนจอนี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | Sayyed Ali Hosseini Khameneh 19 เมษายน ค.ศ. 1939 แมชแฮด โฆรอซอนแรแซวี, อิหร่าน |
ศาสนา | อิสลามนิกายชีอะฮ์ (อิมาม) |
พรรคการเมือง | อิสระ |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น |
|
คู่สมรส | Khojaste Bagherzadeh (m. 1964) |
บุตร | 6 คน |
ความสัมพันธ์ | Hadi Khamenei (brother) |
ลายมือชื่อ | |
เว็บไซต์ | khamenei.ir |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองพิทักษ์ปฏิวัติอิสลาม |
ประจำการ | ค.ศ. 1979–1980 |
บังคับบัญชา | ประมุขกองพิทักษ์ปฏิวัติอิสลาม[2] |
เว็บไซต์ชีวประวัติทางการระบุว่า ฆอเมเนอีเคยถูกจับกุมหกครั้งก่อนที่จะถูกเนรเทศออกนอกประเทศเป็นเวลาสามปีในรัชสมัยพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี[4] เขาเคยตกเป็นเป้าหมายการลอบสังหารในปีค.ศ. 1981 ซึ่งทำให้แขนขวาเขาเป็นอัมพาต[5] ฆอเมเนอีมีวิถีชีวิตที่น่านับถือ ใช้ชีวิตอย่างสมถะและไม่โปรดความหรูหรา[6] สำนักข่าว The Telegraph ระบุว่าเขา "มีกิตติศัพท์เรื่องวิถีชีวิตเยี่ยงนักรบ"[7] ตำแหน่งผู้นำสูงสุดนี้เป็นตำแหน่งที่ไม่มีเงินเดือนประจำ ผู้ใกล้ชิดระบุว่าฆอเมเนอีมีเงินเก็บอยู่บ้างแต่ก็ไม่ถึงกับว่าร่ำรวย[8] ถึงแม้ชีวิตส่วนตัวเขาจะไม่ร่ำรวย แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยตำแหน่งของฆอเมเนอี เขามีอำนาจควบคุมเหนือบริษัทยักษ์ใหญ่ของอิหร่านที่มีมูลค่ารวมกันกว่าแสนล้านดอลลาร์สหรัฐ[9]
ฆอเมเนอีเป็นบุคคลสำคัญผู้ใกล้ชิดของอายะตุลลอหฺรูฮุลลอฮ์ โคมัยนี ผู้นำในการปฏิวัติอิสลาม ฆอเมเนอีเป็นผู้นำแถวหน้าของอิหร่านในช่วงสงครามอิรัก–อิหร่านในคริสต์ทศวรรษที่ 1980 เขาสร้างสัมพันธ์แนบแน่นกับกองพิทักษ์ปฏิวัติอิสลาม ซึ่งเป็นเหล่าทัพที่ทรงอำนาจในปัจจุบัน และเขามีอำนาจเลือกและปลดผู้บัญชาการกองพิทักษ์ปฏิวัติฯได้โดยตรง องค์กรนี้คอยเป็นหูเป็นตาและปราบปรามผู้ต่อต้านอำนาจรัฐ[10][11] ฆอเมเนอีได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนที่สามในปี 1981 และกลายเป็นมือขวาของผู้นำสูงสุดอายะตุลลอหฺโคมัยนี ต่อมาเมื่อผู้นำสูงสุดโคมัยนีถึงแก่อสัญกรรม สมัชชาบัณฑิตได้ลงมติเลือกฆอเมเนอีเป็นผู้นำสูงสุดคนใหม่ในวันที่ 4 มิถุนายน 1989 ขณะที่เขามีอายุ 49 ปี[12]
ในฐานะผู้นำสูงสุดอิหร่าน ฆอเมเนอีมีสถานะทั้งประมุขแห่งรัฐและผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพ มีอำนาจปลดประธานาธิบดีหรือรัฐมนตรีได้โดยไม่ต้องผ่านสภา ทำให้เขาเป็นผู้มีอำนาจที่สุดในประเทศโดยปริยาย นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ตัดสินใจเรื่องสำคัญของรัฐบาลอิหร่าน ทั้งการแต่งตั้งรัฐมนตรีคนสำคัญ หรือการเห็นชอบนโยบายสำคัญ ตลอดเป็นผู้วางยุทธศาสตร์ชาติ[13][14] เขามีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมเหนือฝ่ายบริหาร, ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ รวมถึงกองทัพและสื่อมวลชน[15] ในปี 2014 ฟอบส์ จัดให้เขาเป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก อันดับที่ 19[16]
ที่ผ่านมามีการชุมนุมประท้วงระบอบการปกครองของฆอเมเนอีหลายครั้ง ได้แก่ในปี 1994, 1999, 2009, 2011–2012, 2017–2018 และ 2018–2019 อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งล้วนจบลงด้วยการปราบปราม บรรณาธิการข่าว, นักเขียน และบุคคลจำนวนมากถูกจับกุมโทษฐานหมิ่นผู้นำสูงสุด มีอีกจำนวนไม่น้อยที่ตั้งข้อหาว่าดูหมิ่นศาสนา บุคคลเหล่านี้ได้รับโทษด้วยการเฆี่ยนหรือจำคุก มีหลายรายที่เสียชีวิตขณะถูกคุมขัง[17][18]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.