Loading AI tools
ประธานาธิบดีอิหร่านคนที่ 8 ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ค.ศ. 2021 ถึง 2024 จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอบรอฮีม แรอีโซลซอดอที (เปอร์เซีย: ابراهیم رئیسالساداتی; 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 – 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2024)[3] โดยทั่วไปรู้จักกันในชื่อ เอบรอฮีม แรอีซี (ابراهیم رئیسی, [ebɾɒːˈhiːm-e ræʔiːˈsiː] ( ฟังเสียง)) เป็นนักการเมืองชาวอิหร่านที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอิหร่านคนที่ 8 ตั้งแต่ ค.ศ. 2021 จนกระทั่งเสียชีวิตใน ค.ศ. 2024 เขาเคยดำรงตำแหน่งสำคัญอย่างประธานสำนักงานสอบสวนกลาง อัยการสูงสุด และประธานศาลสูงสุดเป็นอาทิ เขายังเคยเป็นอาจารย์ใหญ่และนักกฎหมายอิสลามก่อนที่จะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีหลังการเลือกตั้งใน ค.ศ. 2021
เอบรอฮีม แรอีซี | |
---|---|
ابراهیم رئیسی | |
ประธานาธิบดีอิหร่าน | |
ดำรงตำแหน่ง 3 สิงหาคม 2021 – 19 พฤษภาคม 2024 | |
ผู้นำสูงสุด | แอลี ฆอเมเนอี |
ก่อนหน้า | แฮแซน โรว์ฮอนี |
ถัดไป | มุฮัมหมัด มุคบิร (รักษาการ) |
ประธานศาลสูงสุดอิหร่าน | |
ดำรงตำแหน่ง 7 มีนาคม 2019 – 1 กรกฎาคม 2021 | |
ก่อนหน้า | Sadeq Larijani |
ถัดไป | Gholam-Hossein Mohseni-Eje'i |
อัยการสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 23 สิงหาคม 2014 – 1 เมษายน 2016 | |
แต่งตั้งโดย | ซอเดก ลอรีจอนี |
ก่อนหน้า | โกลอม-โฮสเซน โมฮ์เซนี-เอเฌอี |
ถัดไป | โมแฮมแมด แจอ์แฟร์ โมนแทเซรี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | Sayyid Ebrahim Raisol-Sadati 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 แมชแฮด รัฐจักรพรรดิอิหร่าน |
เสียชีวิต | 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2024 ปี) | (63
ลายมือชื่อ | |
เว็บไซต์ | Government website Personal website (Persian) |
19 พฤษภาคม 2024 ประธานาธิบดีแรอีซี พร้อมด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่หลายคน ประสบอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกบริเวณใกล้แวร์แซฆอน ภายหลังสื่อของรัฐยืนยันว่าทุกคนเสียชีวิต[4][5]
แรอีซีเกิดที่เมืองแมชแฮด เมืองใหญ่อันดับสองของอิหร่าน บิดาของเขาซึ่งเป็นผู้นำศาสนาเสียชีวิตขณะที่เขามีอายุห้าขวบ แรอีซีเข้าศึกษาโรงเรียนศาสนาที่เมืองโกมเมื่อมีอายุสิบห้าปี[6] ต่อมาแรอีซีเข้าร่วมในการปฏิวัติอิสลามเพื่อโค่นล้มระบอบกษัตริย์และสถาปนาระบอบสาธารณรัฐ แรอีซีจบการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาเอกสาขากฎหมายเอกชนจากมหาวิทยาลัยโมแทแฮรีในกรุงเตหะราน[7] ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยขนาดเล็กมาก
แรอีซีเริ่มทำงานในฐานะอัยการตั้งแต่ปี 1981 และได้ย้ายเข้ามาในตำแหน่งรองอัยการกรุงเตหะรานในปี 1985[8] ขณะมีอายุยี่สิบห้าปี จากนั้น แรอีซีเริ่มได้รับความสนใจจากอายะตุลลอฮ์รูฮุลลอฮ์ โคมัยนีในปี 1988 ซึ่งในปีดังกล่าว แรอีซีได้รับแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในคณะผู้พิพากษาจำนวนสี่คนที่ทำการตัดสินคดีของนักโทษการเมืองที่เป็นสมาชิกมุญาฮิดีนประชาชนอิหร่าน คาดการณ์ว่ามีนักโทษการเมืองหลายพันคนที่ถูกพิพากษาประหารชีวิตและถูกฝังในหลุมศพโดยไม่ระบุชื่อ จนทำให้เขาได้รับฉายา "จอมเชือดแห่งเตหะราน"[9] แรอีซีพยายามปฏิเสธว่าตัวเขาไม่ได้มีบทบาทในการสั่งประหาร แต่ก็ระบุว่าการประหารดังกล่าวเป็นสิ่งชอบธรรมแล้วตามหลัก "ฟัตวา" ของอายะตุลลอฮ์โคมัยนี มีหลักฐานบ่งชี้ว่าการประหารหมู่ที่เกิดขึ้น ทำให้แรอีซีหลุดจากการถูกวางตัวให้เป็นผู้สืบทอดอำนาจของอายะตุลลอฮ์โคมัยนี
หลังการอสัญกรรมของอายะตุลลอฮ์โคมัยนี ตำแหน่งผู้นำสูงสุดคนใหม่ตกเป็นของแอลี ฆอเมเนอี แรอีซีดำรงตำแหน่งอัยการกรุงเตหะรานระหว่างปี 1989–1994, ประธานสำนักงานสอบสวนกลางระหว่างปี 1994–2004, รองประธานศาลสูงสุดระหว่างปี 2004–2014, อัยการสูงสุดระหว่างปี 2014–2016 จากนั้นเขาลงสมัครท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2017 แต่พ่ายแพ้ให้แก่แฮแซน โรว์ฮอนี ต่อมาเขาได้ดำรงตำแหน่งประธานศาลสูงสุดระหว่างปี 2019–2021 จากนั้นเขาลงสมัครท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้งในปี 2021 และได้รับชัยชนะด้วยคะแนนเสียง 62% ของผู้มาใช้สิทธิ์[10]
หลังจาก 6 เดือนนับจากการเข้ารับตำแหน่งของ Ebrahim Raisi สถานการณ์ของตลาดทุนยังคงน่าผิดหวัง ดัชนีรวมของตลาดหลักทรัพย์เตหะรานลดลงมากกว่า 30,000 หน่วยในระหว่างการซื้อขายวันนี้ และแตะระดับ 1 ล้าน 275,000 หน่วย ในสถานการณ์นี้ เมื่อหุ้นในตลาดส่วนใหญ่ติดลบ ผู้ถือหุ้นได้ติดเทรนด์แฮชแท็ก "First_Priority_Stock Exchange" ในพื้นที่เสมือน แฮชแท็กนี้สร้างขึ้นเพื่อประท้วงพฤติกรรมนิ่งเฉยของประธานาธิบดีและทีมเศรษฐกิจของเขาเกี่ยวกับสถานะของเมืองหลวง และอ้างถึงคำสัญญาของ Ebrahim Raisi ก่อนการเลือกตั้งว่าตลาดหุ้นจะมีความสำคัญอันดับแรกของรัฐบาลของเขา
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.