Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สโมสรฟุตบอลอุดรธานี เอฟซี เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากจังหวัดอุดรธานี
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลอุดรธานี เอฟซี | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | ยักษ์แสด | |||
ชื่อย่อ | UDFC | |||
ก่อตั้ง | 1999 | |||
ยุบ | 2022 | |||
สนาม | สนามกีฬากลางจังหวัดอุดรธานี ตำบลสามพร้าว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี | |||
ความจุ | 9,000-10,000 คน | |||
เจ้าของ | บริษัท สโมสรฟุตบอลอุดรธานี เอฟซี จำกัด | |||
ประธาน | ||||
2565–66 | ไทยลีก 2, อันดับที่ 18 (ตกชั้น) | |||
|
สมาคมกีฬาจังหวัดอุดรธานี ได้รับคำเชิญจาก การกีฬาแห่งประเทศไทย และ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ให้เข้าร่วมทำการแข่งขัน โปรวินเชียลลีก ครั้งแรก ในปี 2542 โดยมี สถาพร โคตรบุตร เป็นประธานสโมสรคนแรก โดยได้เริ่มส่งทีมจังหวัด เข้าร่วมการแข่งขันมาโดยตลอด โดยผลงานที่ดีที่สุดของทีมจังหวัด ซึ่งผลงานดีที่สุดคือการคว้าอันดับที่ 4 ใน ฤดูกาล 2542/2543
ต่อมาในปี 2547 ทางสมาคมกีฬาจังหวัดฯ มีมติไม่ส่งเข้าร่วมการแข่งขันในฤดูกาล 2548 เนื่องจากไม่พอใจที่ทางฝ่ายจัดการแข่งขัน ไม่มีความชัดเจนในระบบการเลื่อนชั้น-ตกชั้น อีกทั้งทีมเองมีปัญหาด้านงบประมาณ
ในปี 2552 ได้มีการปรับโครงสร้างลีก ให้เป็นลีกภูมิภาค ทาง สมาคมกีฬาจังหวัดอุดรธานี ได้ตัดสินใจส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันอีกครั้ง โดยมี พงศาสตร์ กิจนุกร เป็นประธานสโมสร และ สามารถทำผลงานได้อย่างดีเยี่ยมและสามารถจบที่อันดับที่ 3 ของโซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้สำเร็จ
ต่อมาในปี 2554 ทางสโมสร ก็ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในนาม บริษัท สโมสรฟุตบอลอุดรธานี จำกัด และได้แยกการบริหารออกจาก สมาคมกีฬาจังหวัดอุดรธานี เพื่อพัฒนาให้เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพมากขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะเลื่อนชั้นเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอล ไทยพรีเมียร์ลีก และ ให้เป็นสโมสรฟุตบอลของจังหวัดอย่างแท้จริง โดยมีประธานสโมสรคือ สุวิทย์ พิพัฒน์วิไลกุล โดยในช่วงเวลานั้น สโมสรประสบความสำเร็จในการเลื่อนชั้นเข้าร่วมการแข่งขันใน ไทยลีก 2 ได้สำเร็จ โดยในไทยลีก 3 2560 สโมสร ชนะเลิศการเพลย์ออฟเลื่อนชั้นได้สำเร็จ
ต่อมาใน ฤดูกาล 2561 ได้มีการเปลื่ยนแปลงผู้บริหารใหม่ทั้งหมด[1] และได้แต่งตั้ง วัชรพล ขาวขำ ผู้จัดการทีมขึ้นเป็นประธานสโมสร และได้แต่งตั้ง ศราวุธ เพชรพนมพร เป็นประธานที่ปรึกษาสโมสร โดยเป็นผู้บริหารใหม่ทั้งหมด
ในการแข่งขัน ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2565-66 สโมสรจบอันดับที่ 18 ทำให้ตกชั้นต้องลงไปแข่งขันใน ไทยลีก 3 ในฤดูกาลต่อไป แต่ต่อมาทางบริษัท ไทยลีก จำกัดได้แจ้งว่าสโมสรไม่ผ่านคลับไลเซนซิ่ง ทำให้ต้องลงแข่งเซมิโปรลีกในฤดูกาลต่อมา[2]
2010
|
2011
|
2012
|
2013
|
2014 (a)
|
2014 (b)
|
2014 (c)
|
2015
|
2016
|
2017
|
2018
|
(a) ในปี พ.ศ. 2557 สโมสรได้เปลี่ยนชุดหลังจากแข่งขันไปได้ 10 นัด (b) ใช้หลังจากจบการแข่งขันเลกที่ 1 (c) ใช้ในการแข่งขันเลกที่ 2
2010
|
2011
|
2012
|
2013
|
2014 (a)
|
2014 (b)
|
2014 (c)
|
2015
|
2016
|
2017
|
2018
|
(a) ในปี พ.ศ. 2557 สโมสรได้เปลี่ยนชุดหลังจากแข่งขันไปได้ 10 นัด (b) ใช้หลังจากจบการแข่งขันเลกที่ 1 (c) ใช้ในการแข่งขันเลกที่ 2
พิกัด | ที่ตั้ง | สนาม | ความจุ | ปีที่ใช้ |
---|---|---|---|---|
17°24′20″N 102°46′09″E | ถนนเลี่ยงเมืองอุดรธานี (ด้านตะวันตก) | สนามกีฬาสถาบันพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี | 3,500 | 2550-2558, 2560-2561 |
17°23′57″N 102°47′28″E | ถนนทหาร | สนามกีฬาใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | 8,000 | 2559 |
17°26′55″N 102°54′53″E | ถนนสามพร้าว - ดอนกลอย | สนามกีฬากลางจังหวัดอุดรธานี | 10,000 | 2562 2564 |
ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอ คัพ | ลีก คัพ | ผู้ยิงประตูสูงสุด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระดับลีก | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | คะแนน | อันดับ | ชื่อ | จำนวนประตู | |||
2542/43 | โปรลีก | 22 | 12 | 2 | 8 | 35 | 26 | 38 | อันดับ 4 | - | สมศักดิ์ มีพรหม สุริยันห์ นะดาบุตร |
10 | |
2543/44 | โปรลีก | 22 | 10 | 4 | 8 | 35 | 32 | 34 | อันดับ 5 | - | |||
2545 | โปรลีก | 10 | 2 | 1 | 7 | 8 | 19 | 7 | อันดับ 6 (สาย เอ) |
- | - | ||
25461 | โปรลีก | 22 | 7 | 6 | 9 | 25 | 31 | 27 | อันดับ 8 | - | - | ||
25471 | โปรลีก | 18 | 2 | 10 | 6 | 18 | 29 | 16 | อันดับ 9 | - | - | ||
2552 | ดิวิชั่น 2 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 20 | 10 | 5 | 5 | 45 | 21 | 35 | อันดับ 3 | รอบแรก | - | ||
2553 | ดิวิชั่น 2 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 30 | 12 | 6 | 12 | 39 | 43 | 42 | อันดับ 7 | ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน | ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน | ||
2554 | ดิวิชั่น 2 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 30 | 10 | 9 | 11 | 41 | 46 | 39 | อันดับ 9 | ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน | รอบ 64 ทีมสุดท้าย | ||
2555 | ดิวิชั่น 2 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 30 | 16 | 8 | 6 | 37 | 23 | 56 | อันดับ 3 | รอบคัดเลือก | รอบแรก | Ousmanou Mohamadou | 15 |
2556 | ดิวิชั่น 2 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 30 | 18 | 5 | 7 | 53 | 25 | 59 | รองชนะเลิศ | ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน | รอบ 8 ทีมสุดท้าย | Oyewole Yemi Joseph | 15 |
2557 | ดิวิชั่น 2 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 26 | 15 | 5 | 6 | 35 | 16 | 50 | รองชนะเลิศ | ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน | รอบ 64 ทีมสุดท้าย | Tomiwa Bolarinwa | 7 |
2558 | ดิวิชั่น 2 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 34 | 21 | 8 | 5 | 78 | 29 | 71 | อันดับ 3 | ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน | รอบเพลย์ออฟ ภาคอีสานนัดที่ 2 | พร้อมพงษ์ กรานสำโรง | 32 |
2559 | ดิวิชั่น 2 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 26 | 18 | 4 | 4 | 55 | 17 | 58 | ชนะเลิศ | ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน | ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน | ณัฐภัทร สมศรี | 10 |
2560 | ไทยลีก 3 โซนบน | 26 | 15 | 7 | 4 | 43 | 18 | 52 | รองชนะเลิศ | รอบคัดเลือก | ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน | Valci Júnior | 15 |
2561 | ไทยลีก 2 | 28 | 9 | 7 | 12 | 33 | 35 | 34 | อันดับ 6 | รอบ 64 ทีม สุดท้าย | รอบ 32 ทีม สุดท้าย | ดนุสรณ์ วิจิตรปัญญา
สีหนาท สุทธิศักดิ์ |
3 |
2562 | ไทยลีก 2 | 34 | 15 | 6 | 13 | 44 | 43 | 51 | อันดับ 7 | รอบคัดเลือก | รอบเพลย์ออฟ | บรูนู โกเรอา | 18 |
2563 | ไทยลีก 2 | 34 | 9 | 11 | 14 | 44 | 46 | 38 | อันดับ 14 | รอบ 64 ทีมสุดท้าย | งดจัดการแข่งขัน | เจาเปาโล ซาเรส | 8 |
2564–65 | ไทยลีก 2 | 34 | 13 | 8 | 13 | 53 | 58 | 47 | อันดับ 8 | รอบ 64 ทีม | ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน | อาร์โนลด์ ซึว | 11 |
2565–66 | ไทยลีก 2 | 34 | 6 | 3 | 25 | 31 | 87 | 21 | อันดับ 18 | รอบแรก | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | อาร์โนลด์ ซึว | 5 |
1. แข่งขันในนาม อุดรธานี ไจแอนท์
ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | อันดับที่ 3 | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
รายการ | ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | ปีชนะเลิศ | ปีรองชนะเลิศ | ผลงานที่ดีที่สุด | ปีที่เข้ารอบสูงสุด |
---|---|---|---|---|---|---|
โปรวินเชียลลีก | 0 | 0 | - | - | อันดับที่ 4 | 2542/43 |
ดิวิชั่น 2 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
1 | 2 | 2559 | 2556, 2557 | ชนะเลิศ | 2559 |
ไทยลีก 3 | 0 | 1 | - | 2560 | ไทยลีก 3 ตอนบน | 2560 |
ไทยเอฟเอคัพ | 0 | 0 | - | - | รอบแรก | 2556 |
ไทยลีกคัพ | 0 | 0 | - | - | รอบ 8 ทีมสุดท้าย | 2556 |
ภูพานราชนิเวศน์คัพ | 7 | 0 | 2525, 2531, 2532, 2538, 2539, 2540, 2550 | - | ชนะเลิศ | 2525, 2531, 2532, 2538, 2539, 2540, 2550 |
ระยะเวลา | ชื่อ | สัญชาติ |
---|---|---|
2552 | พิทยา สันตะวงศ์ | ไทย |
มกราคม – เมษายน 2553 | วิทยา การธนะภักดี | ไทย |
เมษายน 2553 – เมษายน 2554 | พิทยา สันตะวงศ์ | ไทย |
เมษายน – ธันวาคม 2554 | วุฒิวัฒน์ แดงเสมอเกียรติ | ไทย |
มกราคม – กรกฎาคม 2555 | สุพล ยะประภา | ไทย |
กรกฎาคม – กันยายน 2555 | พัก โน บง | เกาหลีใต้ |
กันยายน 2555 – มิถุนายน 2557 | พิทยา สันตะวงศ์ | ไทย |
มิถุนายน – ตุลาคม 2557 | วุฒิวัฒน์ แดงเสมอเกียรติ | ไทย |
ตุลาคม – ธันวาคม 2557 | สมเกียรติ ฟองเพชร | ไทย |
ธันวาคม 2557 – มีนาคม 2558 | วรเดช ภูประไพ | ไทย |
มีนาคม – พฤษภาคม 2558 | หาญณรงค์ ชุณหคุณากร | ไทย |
พฤษภาคม – ธันวาคม 2558 | สมเกียรติ ฟองเพชร | ไทย |
มกราคม – ตุลาคม 2559[3] | โชคทวี พรหมรัตน์ | ไทย |
มกราคม – ตุลาคม 2560[4] | พนิพล เกิดแย้ม | ไทย |
พฤศจิกายน[5] – ธันวาคม 2560[6] | เฉลิมวุฒิ สง่าพล | ไทย |
มกราคม – เมษายน 2561 | อุทัย บุญเหมาะ | ไทย |
เมษายน – กรกฎาคม 2561 | แดร์เรน รีด | อังกฤษ |
กรกฎาคม – ตุลาคม 2561 | วัชรพงษ์ กล้าหาญ | ไทย |
พฤศจิกายน 2561[7] – พฤศจิกายน 2562 | พนิพล เกิดแย้ม | ไทย |
กรกฎาคม – สิงหาคม 2563 | จักราช โทนหงษา | ไทย |
สิงหาคม – ธันวาคม 2563 | เจษฎา จิตสวัสดิ์ | ไทย |
ธันวาคม 2563 | พนิพล เกิดแย้ม | ไทย |
ธันวาคม 2563 – กุมภาพันธ์ 2564 | เยิร์ค สเตนบรุนเนอร์ | เยอรมนี |
กุมภาพันธ์ – เมษายน 2564 | ศิริศักดิ์ ยอดญาติไทย | ไทย |
พฤษภาคม – สิงหาคม 2564 | เฟอร์นันโด ซาเลส | บราซิล |
สิงหาคม – ตุลาคม 2564 | ดานีเอล บลังกู | อาร์เจนตินา |
ตุลาคม 2564 | Hagen Hübner (รักษาการ) | เยอรมนี |
พฤศจิกายน 2564 – มกราคม 2565 | เยิร์ค สเตนบรุนเนอร์ | เยอรมนี |
มกราคม – กุมภาพันธ์ 2565 | รอยเตอร์ โมไรร่า | บราซิล |
กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2565 | เฉลิมวุฒิ สง่าพล[8] | ไทย |
มิถุนายน – สิงหาคม 2565 | พนิพล เกิดแย้ม | ไทย |
กันยายน – ธันวาคม 2565 | อักบาร์ นาบาซ | สิงคโปร์ |
ธันวาคม 2565 – กุมภาพันธ์ 2566 | มาวี ลอปึช | บราซิล |
กุมภาพันธ์ – มิถุนายน 2566 | อักบาร์ นาบาซ | สิงคโปร์ |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.