Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สโมสรฟุตบอลปากน้ำโพ-มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ หรือเรียกสั้นๆว่า ปากน้ำโพ เอ็นเอสอาร์ยู เอฟซี เป็นสโมสรฟุตบอลซึ่งเป็นตัวแทนทีมฟุตบอลของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ในปัจจุบันแข่งขันในไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก โซนภาคเหนือ ฉายาของสโมสรปากน้ำโพ เอ็นเอสอาร์ยู คือมังกรทอง ซึ่งเป็นการละเล่นที่มีชื่อเสียงของเมืองปากน้ำโพ (อ. เมืองนครสวรรค์)แต่มักถูกเข้าใจผิดว่ามีฉายาว่า "เด็กปากน้ำโพ" หรือ "สิงห์ปากน้ำโพ"ปากน้ำโพ-NSRU มีสีประจำสโมสรคือสีเขียว-เหลืองเป็นสีเดียวกับสีประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และจากการที่ปากน้ำโพ เอ็นเอสอาร์ยู เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนระดับมหาวิทยาลัยจึงมีกลุ่มแฟนคลับไม่มากนัก นอกจากแฟนคลับของสโมสรแล้ว กลุ่ม "สิงโตแดง แฟนคลับ" ยังร่วมเป็นแฟนคลับของสโมสรฟุตบอลปากน้ำโพ เอ็นเอสอาร์ยู ด้วย[1]ในฤดูกาล 2555 สโมสรฟุตบอลปากน้ำโพ เอ็นเอสอาร์ยูได้ย้ายจากโซนกรุงเทพฯและปริมณฑลมาแข่งขันในโซนภาคเหนือ แฟนคลับกลุ่มหนึ่งจึงได้แยกตัวออกไปสร้างกลุ่มแฟนคลับของสโมสรฟุตบอลปากน้ำโพ เอ็นเอสอาร์ยูอย่างเป็นเอกเทศ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลปากน้ำโพ-มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ Paknampho-Nakhonsawan Rachjaphat University Football Club (Panknampho-NSRU FC) | ||
---|---|---|---|
ฉายา | มังกรทองปากน้ำโพ ( The Golden Dragon ) | ||
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2542 | ||
สนาม | สนามกีฬาโรงเรียนกีฬาจังหวัดนครสวรรค์ | ||
ความจุ | 1,000 คน (ประมาณ) | ||
ประธาน | มานพ ศรีผึ้ง ประเทือง ภูมิภัทราคม (ประธานกิตติมศักดิ์) | ||
ผู้จัดการ | มานพ ศรีผึ้ง องอาจ มาเม่น (ผู้ช่วยผู้จัดการ) | ||
ผู้ฝึกสอน | เทวินทร์ ศรีวารี (หัวหน้าผู้ฝึกสอน) อัครนันท์ บุญสอด พิเชษฐ์ อังศธรรมรัตน์ | ||
ลีก | ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก | ||
2565 | รอบรองชนะเลิศ โซนภาคเหนือตอนล่าง | ||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | ||
|
ปัจจุบันสโมสรฟุตบอลปากน้ำโพ เอ็นเอสอาร์ยูยังเป็นสโมสรระดับกึ่งอาชีพ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์เป็นสโมสรฟุตบอลที่ใช้นักแตะจากท้องถิ่นเป็นหลักโดยเฉพาะนักฟุตบอลที่เป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย สโมสรเริ่มส่งทีมเข้าแข่งในรายการฟุตบอลถ้วยพระราชทาน และได้สิทธิ์เข้าแข่งขันฟุตบอลดิวิชั่น 2 ในโซนกรุงเทพฯและปริมณฑลจากการได้ตำแหน่งรองชนะเลิศฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข ในปี พ.ศ. 2551 ซึ่งถือว่าเป็นสโมสรจากต่างจังหวัดเพียงสโมสรเดียวในในโซนกรุงเทพฯและปริมณฑล
ในปี 2554 ได้เปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น ปากน้ำโพ-มหาวิทยาลัยราภัฏนครสวรรค์ และสโมสรฟุตบอลปากน้ำโพ เอ็นเอสอาร์ยู ในเวลาต่อมา ในฤดูกาลนี้เอง พิษณุ งามสงวน กองหน้าตัวเก่งของสโมสรได้เซ็นสัญญาย้ายจาสโมสรฟุตบอลปากน้ำโพ เอ็นเอสอาร์ยู สู่สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้วยค่าตัว 50,000 บาท ถือเป็นครั้งแรกของวงการฟุตบอลอาชีพในจังหวัดนครสวรรค์ที่มีการโอนย้ายแบบมีค่าตัว[2]
ฤดูกาล 2012 (พ.ศ. 2555) สโมสรได้ย้ายมาทำการแข่งขันในโซนภาคเหนือ
ในฤดูกาล 2013 (พ.ศ. 2556) สโมสรได้ย้ายมาทำการแข่งขันในโซนกรุงเทพฯ และภาคกลาง
ตั้งแต่มีระบบลีกอาชีพใน พ.ศ. 2542 สโมสรฟุตบอลปากน้ำโพ เอ็นเอสอาร์ยู และสโมสรฟุตบอลจังหวัดนครสวรรค์ ไม่เคยแข่งขันในลีกเดียวกันเลย จนกระทั่งในฤดูกาล 2555 สโมสรฟุตบอลปากน้ำโพ เอ็นเอสอาร์ยู ได้ย้ายเข้ามาแข่งขันในลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 กลุ่มภาคเหนือ จึงทำให้เกิดการแข่งขันดาร์บี้แมทช์ขึ้นเป็นครั้งแรก ในวันที่ 4 มีนาคม 2555 โดยการแข่งขันนี้ยังไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ แต่ว่ามีการเรียกขานกันในหมู่แฟนคลับว่า "สี่แควดาร์บี้" แต่ก็มีอีกส่วนหนึ่งเรียกว่า เจ้าพระยาดาร์บี้ ด้วย ในฤดูกาล 2556 สโมสรฟุตบอลปากน้ำโพ เอ็นเอสอาร์ยูย้ายไปแข่งขันในกรุงเทพฯ และภาคกลาง ดาร์บี้แมชท์ในการแข่งขันที่เป็นทางการจึงยุติลง
ครั้งที่ | วัน/เดือน/ปี | การแข่งขัน | สโมสรเหย้า | สโมสรเยือน | ผลการแข่งขัน | ผู้ทำประตู |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 4 มีนาคม 2555 | ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 | นครสวรรค์ | ปากน้ำโพ | 1 - 0 | 1 - 0 ปิยะพงษ์ ภูฆัง [3] |
2 | 1 กรกฎาคม 2555 | ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 | ปากน้ำโพ | นครสวรรค์ | 1 - 0 | 1 - 0 ฌิอัทชู จูลส์ 'บรีซ' [4] |
ฤดูกาล/พ.ศ. | การแข่งขัน | ผลงาน |
---|---|---|
2550 |
| |
2551 |
| |
2552 |
| |
2553 |
| |
2554 |
| |
2555 |
| |
2556 |
| |
2557 |
| |
2559 |
| |
2560 |
| |
2561 |
| |
2562 |
| |
2565 |
| |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.