Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สโมสรฟุตบอลโตโก คัสตอม ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย ปัจจุบันแข่งขันในไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออก เจ้าของสโมสรคือ กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลโตโก คัสตอม ยูไนเต็ด | ||
---|---|---|---|
ฉายา | สิงห์นายด่าน | ||
ก่อตั้ง | 1954 2015 ในนาม เอ็มโอเอฟ ศุลกากร ยูไนเต็ด 2021 ในนาม คัสตอม ลาดกระบัง ยูไนเต็ด 2022 ในนาม คัสตอม ยูไนเต็ด 2024 ในนาม โตโก คัสตอม ยูไนเต็ด | ในนาม สโมสรศุลกากร||
สนาม | โตโก คัสตอม สเตเดียม (ถนนวัดศรีวารีน้อย/ลาดกระบัง 54) | ||
ประธาน | ยุทธนา หยิมการุณ | ||
ผู้จัดการ | เปรมสุข ภู่พลับ | ||
ผู้ฝึกสอน | เกอิตะ โงโตะ | ||
ลีก | ไทยลีก 3 | ||
2566–67 | ไทยลีก 2, อันดับที่ 17 (ตกชั้น) | ||
|
สโมสรศุลกากร ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2497 โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้พนักงานในองค์กรมีสุขภาพแข็งแรง และต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาวงการกีฬาไทย สโมสรเคยส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันชิงถ้วยพระราชทาน "ถ้วยน้อย" ซึ่งจัดโดย สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เมื่อ พ.ศ. 2511 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงได้ยุติมิได้ส่งทีมฯ เข้าร่วมแข่งขันอีกเลย [1]
จวบจนเมื่อ พ.ศ. 2536 ได้มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลศุลกากรระหว่างประเทศขึ้น โดยมี ฮ่องกง เป็นเจ้าภาพการแข่งขันครั้งแรก โดยทีมฟุตบอล สโมสรศุลกากร จึงได้ส่งทีมและเข้าร่วมแข่งขันตลอดมาตั้งแต่ครั้งแรกจนถึงปีปัจจุบัน[1]
ต่อมา สโมสรฯ ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ในปี พ.ศ. 2541 [1] และได้ส่งทีมเข้าร่วมแข่งขัน ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ทุกชั้น ทั้ง ถ้วย ง., ถ้วย ค. และ ถ้วย ข. ตามระบบคัดกรอง นอกจากนั้นยังได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลกระทรวงและการแข่งขันทุกรายการที่มีโอกาส โดยในปีแรกที่ส่งทีมเข้าแข่งขัน สโมสรทำผลงานได้ดีจนคว้าตำแหน่งชนะเลิศ "ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง." ได้ทันที ทำให้ทีมได้รับการจับตามองมากขึ้น และในปีเดียวกัน สโมสรยังชนะเลิศ "ฟุตบอลศุลกากรระหว่างประเทศ ครั้งที่ 6" ซึ่งจัดขึ้นที่ ฮ่องกง ได้อีกด้วย ก่อนปีต่อมาจะชนะเลิศการแข่งขันนี้ใน ครั้งที่ 7 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศไทย
ในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2545 สโมสรฯ มีผลงานในสนามที่ดีขึ้น โดยในระหว่างนั้น สโมสรได้ประสบความสำเร็จในการแข่งขันต่างๆมากมาย อาทิ [1]
สโมสรกรมศุลกากรได้รองชนะเลิศในการแข่งขัน ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ข. พร้อมกับสิทธิ์ได้เลื่อนชั้นสู่ลีกรองของประเทศอย่าง "ดิวิชั่น 1" ทันที ในปี พ.ศ. 2547 แถมยังหนีบถ้วยชนะเลิศฟุตบอลภายใน กระทรวงการคลัง (วายุภักษ์เกมส์) พ.ศ. 2547 อีกด้วย สโมสรกรมศุลกากร ใช้เวลาอยู่ในลีกดิวิชั่น 1 เพียง 3 ปี ก่อนจะชนะเลิศการแข่งขัน พร้อมกับเลื่อนชั้นไปเล่นใน "ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก" ได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. 2552 แต่ทว่าผลงานของสโมสรฯ ไม่ดีนัก โดยจบด้วยอันดับที่ 16 มีเพียง 20 คะแนน จาก 30 นัด ตกชั้นพร้อมกันกับ ยอดทีมอย่าง ธนาคารกรุงเทพ และ ทหารบก ในที่สุด
หลังจากการตกชั้นในปี 2552 สโมสรฯ ก็ได้ทำการเปลื่ยนชื่อเป็น สมาคมสโมสรสุวรรณภูมิ ศุลกากร ซึ่งทำผลงานได้ดี โดยได้อันดับที่ 7 เกือบที่จะได้ร่วมเพลย์ออฟเลื่อนชั้น เนื่องจากในฤดูกาลนั้น ทาง ไทยพรีเมียร์ลีก ต้องการเพิ่มทีม เป็น 18 ทีม ภายหลังในฤดูกาล 2554 สโมสรกรมศุลกากรได้จับมือเป็นพันธมิตรกับ จังหวัดสมุทรปราการ จึงได้เปลื่ยนชื่อมาเป็น สโมสรฟุตบอลสมุทรปราการ ศุลกากร ยูไนเต็ด โดยที่ทีมบริหารทั้งหมดยังเป็นของกรมศุลกากร และมีเป้าหมายคือ ปฏิเสธการซื้อผู้เล่นที่ราคาแพงเกินจริง เพื่อสวนทางกับระบบทำลายเพดานเงินเดือนของทีมใหญ่ๆในไทยพรีเมียร์ลีก และดิวิชั่น 1 และเน้นสร้างผู้เล่นดาวรุ่งสู่ทีมชุดใหญ่ วางรากฐานระบบจัดการแบบมืออาชีพ[2] ซึ่งเพราะเหตุผลนี้ ทำให้ผลงานของทีมไม่ดีนัก จนตกชั้นไปเล่น ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ในปี 2554
หลังจากที่เล่นในดิวิชั่น 2 มาเป็นเวลาถึง 5 ปี โดยลงแข่งขันในโซนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ใน ดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2559 ในโซน สโมสรฯ ทำผลงานจบด้วยอันดับที่ 2 ของสาย ทำให้ผ่านเข้ารอบแชมเปี้ยนลีก แต่แพ้ สโมสรราชประชา จากการดวลจุดโทษ ทำให้ไม่สามารถเข้าไปเล่นใน ไทยลีก 2 อย่างไรก็ดีด้วยนโยบายของ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ที่จะจัดตั้งลีกระดับ 3 แทนที่ ทำให้สโมสรได้ลงเล่นใน ไทยลีก 3 โซนตอนล่างของประเทศในปี 2560 ต่อมาในฤดูกาล 2561 สโมสรสามารถจบอันดับที่ 1 และเลื่อนชั้นสู่ ไทยลีก 2 ได้สำเร็จ
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ตำแหน่ง | ชื่อ |
---|---|
ประธานสโมสร | ยุทธนา หยิมการุณ |
ผู้จัดการทีม | เปรมสุข ภู่พลับ |
ประธานเทคนิค | YUSUKE KAWASUMI |
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | KEITA GOTO |
ผู้ช่วยหัวหน้าผู้ฝึกสอน | JUN HIRABAYASHI |
ทีมชุดใหญ่ผู้ฝึกสอน | |
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู | |
ผู้ฝึกสอนฟิตเนส | - |
ทีมแพทย์ประจำสโมสร | |
นักกายภาพบำบัด | |
ล่ามประจำสโมสร |
ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | ผู้ยิงประตูสูงสุด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระดับ | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | คะแนน | อันดับ | ชื่อ | จำนวนประตู | |||
2564–65 | ไทยลีก 2 | 34 | 9 | 8 | 17 | 44 | 63 | 35 | อันดับที่ 15 | รอบ 64 ทีมสุดท้าย | ไม่ได้เข้าร่วม | เอลีอัส | 11 |
2565–66 | ไทยลีก 2 | 34 | 17 | 7 | 10 | 45 | 31 | 58 | อันดับที่ 4 | รอบ 64 ทีมสุดท้าย | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | ไดซูเกะ ซากาอิ | 10 |
2566–67 | ไทยลีก 2 | 34 | 4 | 9 | 21 | 26 | 63 | 21 | อันดับที่ 17 | ไม่ได้เข้าร่วม | รอบเพลย์ออฟ | นราธิป เครือรัญญา | 5 |
2567–68 | ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออก | รอบแรก | รอบคัดเลือกรอบสอง |
แชมป์ | รองแชมป์ | อันดับที่สาม | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.