สนามกีฬาลาการ์ตูฆา
สนามฟุตบอลในประเทศสเปน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนามฟุตบอลในประเทศสเปน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนามกีฬาลาการ์ตูฆา (สเปน: Estadio La Cartuja, Estadio de La Cartuja) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สนามกีฬาลาการ์ตูฆาเดเซบิยา (Estadio La Cartuja de Sevilla) เป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ที่ตั้งอยู่ที่อิสลาเดลาการ์ตูฆาในเมืองเซบิยา ประเทศสเปน เปิดใช้ใน ค.ศ. 1999 เพื่อใช้แข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก มีความจุราว 57,619 ที่นั่ง ในปัจจุบันมักใช้เพื่อการแข่งขันฟุตบอลเท่านั้น สนามแห่งนี้เป็นสนามที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่หกในสเปน และใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่สองในแคว้นอันดาลูซิอารองจากเบนิโต บิยามาริน[2]
ลาการ์ตูฆา | |
ที่ตั้ง | เซบิยา สเปน |
---|---|
เจ้าของ | สภาบริหารอันดาลูซิอา (40%) รัฐบาลสเปน (25%) สภานครเซบิยา (19%) สภาผู้แทนราษฎรเซบิยา (13%) เรอัลเบติส (1.5%) สโมสรฟุตบอลเซบิยา (1.5%) |
ผู้ดำเนินการ | บริษัท สนามกีฬาโอลิมปิกเซบิยา จำกัด (มหาชน) |
ความจุ | 57,619 ที่นั่ง[1] |
ขนาดสนาม | 105 × 68 เมตร |
พื้นผิว | หญ้า |
การก่อสร้าง | |
ลงเสาเข็ม | ค.ศ. 1997 |
เปิดใช้สนาม | 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 |
งบประมาณในการก่อสร้าง | 120 ล้านยูโร |
สถาปนิก | อันโตนิโอ กรุซ บิยารอน อันโตนิโอ โอติส การ์ซิอา |
การใช้งาน | |
ฟุตบอลทีมชาติสเปน (บางครั้ง) |
ลาการ์ตูฆาได้รับการสร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับจัดการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก 1999 รวมทั้งยังใช้ในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 และ 2008 เริ่มสร้างใน ค.ศ. 1997 ใช้เงิน 120 ล้านยูโร เปิดใช้เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 โดยจัดการแข่งขันฟุตบอลกระชับมิตรระหว่างสเปนกับโครเอเชีย ในครั้งนั้นสมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปนเสด็จไปทรงเป็นประธานในการเปิดสนาม และสเปนเอาชนะไปด้วยคะแนน 3–1 ก่อนที่การแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลกจะเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม[1]
บริษัทสนามกีฬาโอลิมปิกเซบิยามีแนวคิดให้สโมสรใหญ่สองแห่งของเมืองนี้คือเรอัลเบติสและเซบิยาเข้ามาใช้สนามกีฬาเป็นสนามเหย้าสลับสัปดาห์กับอีกสโมสรหนึ่งเมื่อการแข่งขันกรีฑาโลกสิ้นสุดลง อย่างไรก็ตาม แฟนบอลของทั้งสองสโมสรต่างแสดงความไม่พอใจกับแนวคิดนี้ ทำให้ทั้งสองทีมยังคงใช้สนามของตนเองอยู่จนถึงปัจจุบัน[1]
ใน ค.ศ. 2003 สนามแห่งนี้ยังใช้จัดการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศของฟุตบอลยูฟ่าคัพ ฤดูกาล 2002–03 ระหว่างเซลติกกับโปร์ตู โดยมีผู้ชม 52,972 คน และโปร์ตูเอาชนะไปด้วยคะแนน 3–2 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ ราชสหพันธ์เทนนิสสเปนยังได้เลือกสนามแห่งนี้เพื่อจัดการแข่งขันเดวิสคัพนัดชิงชนะเลิศใน ค.ศ. 2004[3] และ 2011 โดยมีการติดตั้งหลังคาชั่วคราวไว้ที่ด้านหนึ่งของสนามซึ่งเป็นที่ตั้งของสนามดิน[4]
ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 ราชสหพันธ์ฟุตบอลสเปนได้เลือกสนามนี้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันโกปาเดลเรย์นัดชิงชนะเลิศ 4 ครั้ง นับตั้งแต่ ค.ศ. 2020 จนถึง 2023[5] ในวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2021 มีการประกาศว่าสนามแห่งนี้จะใช้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 แทนซานมาเมสในบิลบาโอซึ่งไม่สามารถจัดการธุระต่าง ๆ ในฐานะเจ้าภาพได้เนื่องจากการระบาดของโควิด-19[6]
วันที่ | รายการ | ระหว่าง | ผล | จำนวนผู้ชม |
---|---|---|---|---|
5 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 | กระชับมิตร | สเปน พบ โครเอเชีย | 3–1 | |
17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 | กระชับมิตร | สเปน พบ อาร์เจนตินา | 0–2 | |
15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 | กระชับมิตร | สเปน พบ เนเธอร์แลนด์ | 1–2 | |
3 มิถุนายน ค.ศ. 2012 | กระชับมิตร | สเปน พบ จีน | 1–0 | |
17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2020 | ยูฟ่าเนชันส์ลีก | สเปน พบ เยอรมนี | 6–0 | 0[7] |
31 มีนาคม ค.ศ. 2021 | ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก | สเปน พบ คอซอวอ | 3–1 | 0[8] |
14 มีนาคม ค.ศ. 2021 | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 รอบแบ่งกลุ่ม | สเปน พบ สวีเดน | 0–0 | 10,559[9] |
19 มิถุนายน ค.ศ. 2021 | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 รอบแบ่งกลุ่ม | สเปน พบ โปแลนด์ | 1–1 | 11,742[10] |
23 มิถุนายน ค.ศ. 2021 | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 รอบแบ่งกลุ่ม | สโลวาเกีย พบ สเปน | 0–5 | 11,204[11] |
27 มิถุนายน ค.ศ. 2021 | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 รอบ 16 ทีมสุดท้าย | เบลเยียม พบ โปรตุเกส | 1–0 | 11,504[12] |
14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021 | ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก | สเปน พบ สวีเดน | 1–0 | 51,844[13] |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.