สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (อังกฤษ: Chulabhorn Graduate Institute) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน มีหน้าที่จัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ทำการวิจัย นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และให้บริการทางวิชาการ

ข้อมูลเบื้องต้น ชื่อย่อ, ประเภท ...
สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์
Thumb
ชื่อย่อสบจ. / CGI
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
สถาปนา28 ธันวาคม พ.ศ. 2548 (18 ปี)
อธิการบดีศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สมศักดิ์ รุจิรวัฒน์[1][2]
ผู้ศึกษา95 คน (2566)[3]
ที่ตั้ง
เลขที่ 54 ถนนกำแพงเพชร 6 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
สี████ สีส้ม สีฟ้า
เว็บไซต์www.cgi.ac.th
ปิด

อดีตเป็นบัณฑิตวิทยาลัยเอกชน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2548[4] ตั้งอยู่ที่ถนนกำแพงเพชร 6 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร โดยให้ดำเนินการสอนระดับปริญญาโทและเอก ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์ชีวภาพประยุกต์ สาขาเคมีชีวภาพ และสาขาพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 ราชกิจจานุเบกษา[5] ได้ลงประกาศ พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พ.ศ. 2559 ซึ่งมีใจความสำคัญโดยให้ควบรวม 3 หน่วยงานคือ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ และ สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ เข้าด้วยกันแล้วจัดตั้งเป็น ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้ในอีก 3 เดือนต่อมาคือในวันที่ 18 เมษายน 2559

จากนั้นเมื่อ พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2566 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 ส่งผลให้ สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ แยกตัวออกมาจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์และกลายสภาพเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ภายใต้มูลนิธิจุฬาภรณ์[6] โดยทางกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ออกคำสั่งที่ 85/2566 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566 ให้สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์จัดตั้ง สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนพร้อมกับย้ายที่ตั้งสถาบันมาอยู่ที่ 906 ถนนกำแพงเพชร 6 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่[7]

ประวัติ

สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ เป็นพระดำริที่สำคัญประการหนึ่งของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติราชนารี ในการพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับสูงของประเทศไทย ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่ขาดแคลนและมีความสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ โดยมุ่งเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการในระดับนานาชาติ และอาศัยความร่วมมือทางวิจัยและวิชาการกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนซึ่งมีมูลนิธิจุฬาภรณ์เป็นผู้รับใบอนุญาต เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2548 โดยมีสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เป็นองค์นายกสภาสถาบัน เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในโอกาสมีพระชันษาครบ 48 พรรษา สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ได้เปิดการสอนเป็นหลักสูตรนานาชาติ แก่สาธารณชน แบบไม่หวังผลกำไร โดยได้กำหนดวิสัยทัศน์ “สร้างผู้นำทางปัญญาแห่งวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ได้รับพระราชทานเงินจากมูลนิธิจุฬาภรณ์ในการสร้างอาคารเรียนและปฏิบัติการ นอกจากได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานจากมูลนิธิจุฬาภรณ์ สถาบันฯยังได้งบประมาณสนับสนุนงานวิจัยและทุนการศึกษาจากศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านสิ่งแวดล้อมสุขภาพ พิษวิทยาและการจัดการสารเคมีที่เป็นพิษ และทุนการศึกษาของนักศึกษาต่างชาติจากสำนักงานความร่วมมือเพื่อพัฒนาระหว่างประเทศ

การเรียนการสอน

สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ มีหลักสูตรระดับประกาศนียบัตร ปริญญาโทและปริญญาเอก ใน 3 สาขาวิชาคือ สาขาเคมีชีวภาพ สาขาพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม และสาขาวิทยาศาสตร์ชีววิทยาประยุกต์ โดยสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ได้เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2550 สถาบันมีผลงานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่มี Impact Factor ประมาณ 19 เรื่องต่อปี คณาจารย์ได้รับเงินสนับสนุนวิจัยจากภายนอก 1.8 ล้านบาท/ คน/ปี นักศึกษาระดับปริญญาเอกที่มีผลการศึกษา 3.75 ขึ้นไป มีโอกาสไปทำวิจัยระยะสั้นในมหาวิทยาลัยต่างประเทศที่มีความร่วมมือทางวิชาการกับ CGI สถาบันมีทุนการศึกษาให้นักศึกษาที่มีผลการเรียนดีที่ผ่านการคัดเลือก

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.