วงศ์ปลาสอด (อังกฤษ: Molly) วงศ์ปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Poeciliidae อยู่ในอันดับปลาหัวตะกั่ว หรืออันดับปลาออกลูกเป็นตัว (Cyprinodontiformes)

ข้อมูลเบื้องต้น ปลาสอด, การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ...
ปลาสอด
Thumb
ปลาเอนด์เลอร์ตัวผู้ (Poecilia wingei)
Thumb
ปลาเซลฟิน (Poecilia latipinna)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cyprinodontiformes
วงศ์: Poeciliidae
Garman, 1895
สกุล
3 วงศ์ย่อย 40 สกุล (ดูในเนื้อหา)
ปิด

มีชื่อสามัญเรียกโดยรวมในภาษาอังกฤษว่า "มอลลี่" (Molly) และมีชื่อเรียกในภาษาไทยว่า "ปลาสอด" ซึ่งเข้าใจว่าคงเพี้ยนมาจากคำว่า "Sword" ที่หมายถึง "ดาบ"[1] อันเป็นลักษณะของปลายหางของปลาในวงศ์นี้บางสกุลที่คล้ายกับวงดาบ มีถิ่นกำเนิดตั้งแต่สหรัฐอเมริกาภาคตะวันออก, อเมริกากลาง, จนถึงทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ นอกจากนี้ยังพบในบางส่วนของทวีปแอฟริกาทางตอนใต้จนถึงเกาะมาดากัสการ์ด้วย

เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมเป็นฝูง มีพฤติกรรมหากินอยู่ตามผิวน้ำ ตัวผู้กับตัวเมียมีลักษณะที่แตกต่างกันเห็นได้ชัดเจน โดยตัวผู้มีรูปร่างเล็กกว่า แต่มีสีสันและครีบต่าง ๆ ยาวกว่า ขณะที่ตัวเมียตัวโตกว่า ท้องอูมกว่า แต่ครีบและหางสั้นกุดกว่า รวมทั้งสีสันซีดกว่าในบางชนิดด้วย นอกจากนี้ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของปลาวงศ์นี้ คือ เป็นปลาที่ปฏิสนธิภายในตัว ออกลูกเป็นตัว โดยออกลูกได้ครั้งละ 2-300 ตัว

เป็นที่รู้จักกันดีในแง่ของการเป็นปลาสวยงาม มีหลายชนิดในหลายสกุล เช่น ปลาหางนกยูง (Poecilia reticulata), ปลาเซลฟิน (P. latipinna), ปลาเอนด์เลอร์ (P. wingei), ปลาสอดหางดาบ (Xiphophorus hellerii)

ปัจจุบันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ต่าง ๆ ให้มีความหลากหลายจากดั้งเดิมยิ่งขึ้นมากมาย โดยเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1907 ที่เยอรมนี จนเกิดเป็นชนิดใหม่ขึ้นมา เช่น "เพลตี้" (Platy) หรือ ปลาเซลฟินที่ได้ครีบหลังสูงและใหญ่ขึ้นกว่าเดิมมาก จนดูคล้ายใบเรือจริง ๆ หรือ ปลาสอดมิดไนท์ที่พัฒนาจนทั้งตัวเป็นสีดำสนิท

สำหรับในประเทศไทย ปลาในวงศ์นี้ ได้ถูกนำเข้ามาสู่ประเทศครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยเลี้ยงในอ่างบัวของผู้มีฐานะ จนถึงปัจจุบันได้กลายเป็นปลาสวยงามที่เป็นที่รู้จักกันดี ด้วยคุณสมบัติที่เลี้ยงง่าย เติบโตไว ขยายพันธุ์ง่าย และมีราคาถูก อีกทั้งยังมีประโยชน์คือสามารถกินแมลงขนาดเล็ก ๆ ทีมีวงจรชีวิตในน้ำได้ด้วย จึงใช้เป็นปลาที่จำกัดลูกน้ำยุงต่าง ๆ มีชื่อเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "ปลากินยุง" และยังนิยมเพาะเพื่อเป็นปลาเหยื่อสำหรับปลากินเนื้อขนาดใหญ่กว่าด้วย

โดยคำว่า "Poeciliidae" ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์นั้นมาจากภาษากรีกคำว่า "ποικίλος" (poikilos) หมายถึง "มีสีสันที่แตกต่างหลากหลาย"[1]

การจำแนก

แบ่งออกเป็น 3 วงศ์ย่อย และสกุลต่าง ๆ ได้ดังนี้[2]

  • Aplocheilichthyinae Myers, 1928
    • Aplocheilichthys Bleeker, 1863
    • Hylopanchax Poll and Lambert, 1965
    • Laciris Huber, 1982
    • Lacustricola Myers, 1924
    • Poropanchax Clausen, 1967
  • Poeciliinae Garman, 1895
    • Alfaro Meek, 1912
    • Belonesox Kner, 1860
    • Brachyrhaphis Regan, 1913
    • Carlhubbsia Whitley, 1951
    • Cnesterodon Garman, 1895
    • Gambusia Poey, 1854
    • Girardinus Poey, 1854
    • Heterandria Agassiz, 1853
    • Limia Poey, 1854
    • Micropoecilia Hubbs, 1926
    • Neoheterandria Henn, 1916
    • Pamphorichthys Regan, 1913
    • Phallichthys Hubbs, 1924
    • Phalloceros Eigenmann, 1907
    • Phalloptychus Eigenmann, 1907
    • Phallotorynus Henn, 1916
    • Poecilia Bloch and Schneider, 1801
    • Poeciliopsis Regan, 1913
    • Priapella Regan, 1913
    • Priapichthys Regan, 1913
    • Pseudopoecilia Regan, 1913
    • Quintana Hubbs, 1934
    • Scolichthys Rosen, 1967
    • Tomeurus Eigenmann, 1909
    • Xenodexia Hubbs, 1950
    • Xenophallus Hubbs, 1924
    • Xiphophorus Heckel, 1848
  • Procatopodinae Fowler, 1916
    • Cynopanchax Ahl, 1928
    • Fluviphylax Whitley, 1965
    • Hypsopanchax Myers, 1924
    • Lamprichthys Regan, 1911
    • Micropanchax Myers, 1924
    • Pantanodon Myers, 1955
    • Plataplochilus Ahl, 1928
    • Procatopus Boulenger, 1904

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.