ลิงบาบูนชัคม่า หรือ ลิงบาบูนเคป (อังกฤษ: chacma baboon, Cape baboon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Papio ursinus) เป็นลิงบาบูนชนิดหนึ่ง ในวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae)
ลิงบาบูนชัคม่า | |
---|---|
ลิงบาบูนชัคม่าตัวผู้ชนิด Papio ursinus griseipes | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Primates |
วงศ์: | Cercopithecidae |
สกุล: | Papio |
สปีชีส์: | P. ursinus |
ชื่อทวินาม | |
Papio ursinus (Kerr, 1792) | |
ชนิดย่อย[2] | |
| |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ (แบ่งตามชนิดย่อย) | |
ชื่อพ้อง[3] | |
|
ลิงบาบูนชัคม่า เป็นลิงบาบูนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และนับเป็นลิงอีกชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุด[4] มีขนตามตัวสีน้ำตาล ขนค่อนข้างหยาบ หน้าดำ หูมีขนน้อย แต่ตัวผู้ขนตรงรอบคอและไหล่ยาว และมีขนปรกที่ปาก ส่งเสียงร้องได้ดัง วิ่งได้เร็วมากและทรงพลัง มีลักษณะการวิ่งเหมือนม้าควบ ว่ายน้ำเก่ง
มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ฝูงหนึ่งมีจำนวนเป็นร้อยอาจถึง 200-300 ตัว มีหัวหน้าเป็นตัวผู้ ซึ่งเป็นผู้ควบคุมสังคมของตัวให้เป็นระเบียบ ในขณะในหมู่ลิงตัวเมียจะมีการจัดลำดับสังคมตามอาวุโส ในเวลากลางคืนจะนอนพักผ่อนในถ้ำ หรือซอกหิน หรือบนกิ่งไม้ใหญ่ เพื่อหลบหลีกศัตรู เนื่องจากลิงบาบูนชัคม่าเองก็ตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่กว่าด้วย เช่น สิงโต เสือดาว, เสือชีตาห์ โดยอาจจะโดนล่าได้ถึงบนต้นไม้ และลูกลิงก็ตกเป็นเหยื่อของนกล่าเหยื่อขนาดใหญ่ เช่น นกเหยี่ยว, นกอินทรี เป็นต้น ส่วนในหมู่ลิงตัวผู้จะมีการสลับสับเปลี่ยนกันเรื่อย เนื่องจากการแย่งชิงกันเป็นจ่าฝูง และหากมีลิงจากที่อื่นจะขอเข้าเป็นสมาชิกฝูง ก็ต้องได้รับการอนุญาตจากลิงตัวอื่นในฝูง[5]
ลิงบาบูนชัคม่าไม่ค่อยพบในป่าทึบ ชอบอยู่ตามเขาที่เป็นหินมีต้นไม้น้อย เนื่องจากว่าลิงบาบูนชัคม่าขึ้นต้นไม้ไม่เก่ง ในเวลาเช้ามักลงมาจากต้นไม้เพื่อลงมาอาบแดด และแยกย้ายกันหากิน[5] มีพฤติกรรมผสมพันธุ์เป็นคู่ ไม่ปะปนกัน มีระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 6-7 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกจะอยู่กับแม่ตลอดเวลา บางครั้งพ่อลิงจะช่วยดูแลลูกด้วย เมื่อลูกยังเล็กจะอยู่ที่อกแม่และดูดนมแม่ เมื่อโตขึ้นมาหน่อยจะเปลี่ยนขึ้นมาเกาะหลังแม่ ลิงบาบูนชัคม่ามีอายุยืนราว 20 ปี [6]
ลิงบาบูนชัคม่า แพร่กระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกาตอนใต้ กินอาหารได้ทั้งเนื้อสัตว์และพืชผักและเมล็ดพืชผลไม้ต่าง ๆ นอกจากนี้แล้วยังสามารถวิ่งกระโจนจับนกฟลามิงโกกินเป็นอาหารได้ด้วย[7]
ลิงบาบูนชัคม่า แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย คือ[2]
- Papio ursinus ursinus Kerr, 1792 – พบในแอฟริกาตอนใต้
- Papio ursinus griseipes Pocock, 1911 – พบในแอฟริกาใต้ทางตอนเหนือและตอนใต้ของแซมเบีย
- Papio ursinus raucana Shortridge, 1942 – พบตั้งแต่นามิเบียจนถึงตอนใต้ของแองโกลา
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.