Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ (อังกฤษ: armoured personnel carrier; อักษรย่อ: APC) เป็นยานพาหนะทางทหารหุ้มเกราะแบบกว้าง ที่ออกแบบมาเพื่อการขนส่งบุคลากรและอุปกรณ์ในเขตสู้รบ โดยตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รถลำเลียงพลหุ้มเกราะได้กลายเป็นเครื่องมือทางทหารที่พบได้ทั่วไปทั่วโลก
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ตามคำนิยามในสนธิสัญญาจำกัดกำลังทหารและอาวุธในยุโรป รถลำเลียงพลหุ้มเกราะคือ "ยานเกราะต่อสู้ที่ออกแบบและติดตั้งเพื่อส่งกองทหารราบต่อสู้ และซึ่งเป็นกฎ ติดอาวุธเป็นองค์ประกอบหรือเป็นส่วนประกอบสำคัญของขนาดลำกล้องปืนน้อยกว่า 20 มม."[1] เมื่อเทียบกับรถรบทหารราบ ซึ่งใช้ในการขนส่งทหารราบเข้าสู่สนามรบ รถลำเลียงพลหุ้มเกราะมีอาวุธยุทโธปกรณ์น้อยกว่า และไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้การยิงสนับสนุนโดยตรงในการรบ ส่วนหน่วยทหารราบที่เดินทางภายในรถลำเลียงพลหุ้มเกราะเรียกว่าทหารราบยานเกราะ นอกจากนี้ กองทัพบางแห่งยังสร้างความแตกต่างระหว่างหน่วยทหารราบที่ใช้รถลำเลียงพลหุ้มเกราะและหน่วยทหารราบที่ใช้รถรบทหารราบ โดยหน่วยหลังเรียกว่าอาร์เมอดอินเฟินทรี (อังกฤษ: armoured infantry)
จุดเริ่มต้นของรถลำเลียงพลหุ้มเกราะอยู่ในแนวรบด้านตะวันตกของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในช่วงต่อมาของสงคราม รถถังของฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถบุกทะลวงแนวข้าศึกได้ แต่ทหารราบที่ตามมา—ซึ่งจำเป็นต้องรวมเป็นหนึ่ง—ยังต้องเผชิญกับอาวุธเล็กและการยิงปืนใหญ่ ซึ่งหากไม่มีทหารราบสนับสนุน รถถังก็ถูกแยกเดี่ยวและถูกทำลายได้ง่ายขึ้น ในการตอบสนอง อังกฤษได้ทำการทดลองโดยขนส่งทหารปืนกลในรถถังมาร์ก V* แต่พบว่าสภาพภายในรถถังทำให้ทหารไม่เหมาะสมสำหรับการรบ ทางอังกฤษจึงออกแบบยานเกราะขนส่งกองทหารที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์คันแรกคือมาร์ก IX แต่สงครามได้สิ้นสุดลงก่อนที่จะนำมาใช้
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง รถกึ่งสายพาน เช่น เอ็ม3 สัญช่าติอเมริกัน และเอ็สเด.เคเอฟเซท 251 สัญชาติเยอรมัน ได้มีบทบาทคล้ายกับรถลำเลียงพลหุ้มเกราะหลังสงคราม ส่วนกองกำลังเครือจักรภพบริเตนได้พึ่งพารถสายพานเต็มรูปแบบอย่างยูนิเวอร์เซล แคริเออร์ ตลอดช่วงสงคราม รถลำเลียงพลหุ้มเกราะได้พัฒนาจากรถหุ้มเกราะที่มีความสามารถในการขนส่ง สู่ยานพาหนะที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ นอกจากนี้ ยานเกราะที่ล้าสมัยยังถูกนำมาใช้ใหม่ในฐานะรถลำเลียงพลหุ้มเกราะ เช่น "แคงกะรู" ต่าง ๆ ที่ดัดแปลงจากปืนอัตตาจรเอ็ม7 พรีสท ตลอดจนจากรถถังเชอร์ชิล, เอ็ม3 สจวต และแรม
ในช่วงสงครามเย็น ได้มีการพัฒนารถลำเลียงพลหุ้มเกราะเฉพาะทางมากขึ้น สหรัฐได้มุ่งเสนอซีรีส์รถของพวกเขา รวมถึงรุ่นสืบทอดของยานพาหนะสายพานยกพลขึ้นบก แต่ที่มีมากที่สุดคือรถลำเลียงพลหุ้มเกราะเอ็ม113 ซึ่งมีการผลิตกว่า 80,000 คัน[2] ตั้งแต่นั้นมา ประเทศตะวันตกได้ปลดประจำการเอ็ม113 เป็นส่วนใหญ่ โดยแทนที่พวกมันด้วยรถลำเลียงพลหุ้มเกราะที่ใหม่กว่า ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ล้อยาง ส่วนตัวอย่างสงครามเย็นของ "แคงกะรู" คืออัคซาริตของอิสราเอลที่มีเกราะหนา ซึ่งดัดแปลงมาจากรถถังที-55 ที่ยึดมาได้ โดยแนวคิดดังกล่าวส่งผลให้เกิดรถลำเลียงพลหุ้มเกราะนาเมร์
ในขณะเดียวกัน กติกาสัญญาวอร์ซอได้พัฒนารถลำเลียงพลหุ้มเกราะในเวอร์ชันของตนเอง ส่วนสหภาพโซเวียตเรียกของพวกเขาว่าโบรนแทรนสปอร์เตอร์ (รัสเซีย: бронетранспортер) หรือที่รู้จักกันดีในฐานะซีรีส์บีทีอาร์ อันประกอบด้วยบีทีอาร์-40, บีทีอาร์-152, บีทีอาร์-60, บีทีอาร์-70, บีทีอาร์-80 และบีทีอาร์-90 ซึ่งโดยรวมมีการผลิตเป็นจำนวนมาก[คลุมเครือ] ตลอดจนประเทศเชโกสโลวาเกียและโปแลนด์ได้ร่วมกันพัฒนาโอที-64 เอสกาโอเทสะเทินน้ำสะเทินบกแบบครอบจักรวาล นอกจากนี้ ซีรีส์บีเอ็มพีได้รับการเรียกในฐานะรถรบทหารราบ แต่มีบทบาทที่ออกแบบมาในการลำเลียงกองทหารเข้าสู่สมรภูมิ ซึ่งบีเอ็มพี-1, 2 และ 3 ทั้งหมดมีความสามารถในการขนส่งทหาร
ตามแบบแผน รถลำเลียงพลหุ้มเกราะไม่ได้มุ่งหมายให้มีส่วนร่วมในการรบด้วยการยิงโดยตรง แต่ติดอาวุธสำหรับการป้องกันตัวเอง และหุ้มเกราะเพื่อป้องกันลูกแตกและการยิงด้วยอาวุธขนาดเล็ก
รถลำเลียงพลหุ้มเกราะเป็นแบบล้อหรือสายพาน หรือบางครั้งก็ใช้ทั้งสองแบบรวมกัน เช่น แบบกึ่งสายพาน
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.