Loading AI tools
มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (อังกฤษ: CMKL University) เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ แบบสถาบันร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน กับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง [6] โดยมุ่งเน้นการผลิตบุคลากรยุคใหม่ด้านวิศวกรรมศาสตร์ ส่งเสริมการเรียนรู้และสนับสนุนให้เกิดผลงานวิจัย [2] ตั้งอยู่ใน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ตราสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล | |
ชื่อย่อ | CMKL |
---|---|
คติพจน์ | อังกฤษ: Enabling Endless Possibilities[1] (การต่อยอดความรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด) [2] |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ[3] |
สถาปนา | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560[4] |
นายกสภาฯ | ศาสตราจารย์พิเศษ สุรเกียรติ์ เสถียรไทย [5] (ตั้งแต่ 31 กรกฎาคม 2561 – 10 มิถุนายน 2567) ศาสตราจารย์ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (ตั้งแต่ 27 กันยายน 2567 – ปัจจุบัน) |
อธิการบดี | รองศาตราจารย์ สุพันธุ์ ตั้งจิตกุศลมั่น - (รักษาการตั้งแต่ 25 ตุลาคม - 15 ธันวาคม 2560) - (ตั้งแต่ 16 ธันวาคม 2560 – ปัจจุบัน) |
ที่ตั้ง | 1 ซอย ฉลองกรุง 1 แขวง ลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520 |
สี | ส้ม แดงเลือดหมู |
เว็บไซต์ | www.cmkl.ac.th |
มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล เกิดจากความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาที่ที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ เพื่อจัดตั้งมหาวิทยาลัยศักยภาพสูงร่วมกันในประเทศไทย ในรูปแบบสถาบันร่วม (Joint Institute)
วันที่ 26 ตุลาคม 2560 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 29/2560 เรื่อง การส่งเสริมการจัดการศึกษาโดยสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ[7] เพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาและยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ด้วยการเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและวิทยาการที่มีคุณภาพและทันสมัยเพื่อนำองค์ความรู้ มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะในพื้นที่ โครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งคำสั่งนี้ทำให้สามารถดำเนินการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยร่วมกับมหาวิทยาลัยศักยภาพสูงจากต่างประเทศได้ [8]
ในเดือนตุลาคม 2560 ศาสตราจารย์ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี พร้อมคณะผู้บริหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพันธุ์ ตั้งจิตกุศลมั่น รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหารวิชาการ (ภายหลังเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล) และทีมงานของสถาบัน พร้อมกับ นายแพทย์ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะ ได้ร่วมเดินทางไปที่ มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อร่วมลงนามในสัญญาระหว่าง มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน กับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในการร่วมกันจัดตั้ง มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน ในประเทศไทย ภายใต้ชื่อว่า “มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล” (CMKL University) ซึ่งคณะของ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้รับเกียรติอย่างสูงสุดในการต้อนรับจากคณะผู้บริหารระดับสูงของ มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน โดยมีการประดับ ธงชาติสหรัฐอเมริกา คู่กับ ธงชาติไทย ในพิธีลงนามร่วมกัน และมีการเป่าปี่สกอต เนื่องจากแอนดรูว์ คาร์เนกี ผู้ก่อตั้ง มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายสกอต [6][9]
มีการกล่าวว่า ความร่วมมือกันระหว่าง มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในครั้งนี้นับเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ในการนำเสนองานวิจัยและการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์, ปัญญาประดิษฐ์, ข้อมูลมหัต และนำเสนองานวิจัยที่สร้างผลกระทบสูงเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลสำหรับประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [6][9]
มหาวิทยาลัยได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม 2560[4] ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพันธุ์ ตั้งจิตกุศลมั่น ได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการบดีคนแรกในวันที่ 16 ธันวาคม 2560[10] และทำการเปิดหลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์เป็นสาขาแรก ในระดับปริญญาโท และ ปริญญาเอก โดยเปิดรับสมัครนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2561 [11]
ในช่วงต้นปี 2565 ทางมหาวิทยาลัยได้เริ่มมีการเปิดรับนักศึกษาในระดับปริญญาตรีหลักสูตรนานาชาติ เป็นครั้งแรก ในสาขา Artificial Intelligence & Computer Engineering สำหรับปีการศึกษา 2565 [12]
วันที่ 29 พฤษภาคม 2565 ศาสตราจารย์พิเศษ สุรเกียรติ์ เสถียรไทย [13] ซึ่งนายกสภามหาวิทยาลัยคนแรก[5] ได้เป็นประธานในพิธีมอบปริญญาบัตรแก่มหาบัณฑิต รุ่นแรกที่สำเร็จการศึกษาปริญญาโทของมหาวิทยาลัยจำนวน 16 คน โดยมีทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ [14]
หลักสูตรที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล | |||
---|---|---|---|
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก | |
|
|||
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.