มณฑลจันทบุรี เป็นอดีตเขตการปกครองระดับมณฑลเทศาภิบาลของประเทศไทยในภาคตะวันออก มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองจันทบุรี ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2449[1] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้งมณฑลจันทบุรีและตั้งเมืองขลุง ในปีเดียวกันกับมณฑลปัตตานี หลังจากเสียมณฑลบูรพาให้แก่อินโดจีนฝรั่งเศสในปีนั้น ต่อมา มีการยุบมณฑลจันทบุรีให้ไปขึ้นกับมณฑลปราจีนบุรีในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474[2] กระทั่ง พ.ศ. 2476 มีการตราพระราชบัญญัติการบริหารราชการส่วนภูมิภาค พุทธศักราช 2476 ส่งผลให้มณฑลทั้งหมดถูกยุบ เมืองในมณฑลจันทบุรีเดิมแยกออกเป็น จังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดตราด

ข้อมูลเบื้องต้น มณฑลจันทบุรี, เมืองหลวง ...
มณฑลจันทบุรี
มณฑลเทศาภิบาล
พ.ศ. 2449 – 2475
Thumb
ธง
Thumb
แผนที่มณฑลจันทบุรี
เมืองหลวงจันทบุรี
การปกครอง
  ประเภทสมุหเทศาภิบาลต่างพระเนตรพระกรรณ
สมุหเทศาภิบาล 
 พ.ศ. 2449–2452
พระยาวิชยาธิบดี (แบน บุนนาค) (คนแรก)
 พ.ศ. 2457–2458
หม่อมเจ้าธำรงสิริ ศรีธวัช
 พ.ศ. 2459–2466
หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร
 พ.ศ. 2472–2473
พระยาศรีเสนา (ศรีเสนา สมบัติศิริ)
 พ.ศ. 2473–2475
พระยากัลยาณวัฒนวิศิษฐ์ (เชียร กัลยาณมิตร) (คนสุดท้าย)
ยุคทางประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์
 จัดตั้ง
8 เมษายน พ.ศ. 2449
 รวมเมืองตราดไว้ในปกครอง
15 กันยายน พ.ศ. 2450
 ยุบรวมกับมณฑลปราจิณบุรี
1 เมษายน พ.ศ. 2475
ก่อนหน้า
ถัดไป
เมืองจันทบุรี
เมืองระยอง
เมืองขลุง
เมืองตราด
มณฑลปราจิณบุรี
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ ไทย
ปิด

ประวัติ

มณฑลจันทบุรีก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2449 โดยนำเมืองจันทบุรี เมืองระยอง และเมืองขลุง มารวมกัน[1] และในวันที่ 15 กันยายน 2450 เมื่อฝรั่งเศสคืนเมืองตราดให้แก่สยามแล้ว จึงยุบเมืองขลุงลงเป็นอำเภอ แล้วแยกอำเภอทุ่งใหญ่ที่ขึ้นอยู่กับเมืองขลุงไปขึ้นกับเมืองตราดที่ได้คืนมาใหม่[3] ส่งผลให้มณฑลจันทบุรีประกอบไปด้วยเมืองจันทบุรี เมืองระยอง และเมืองตราด

ข้าหลวงเทศาภิบาล/สมุหเทศาภิบาล

ข้อมูลเพิ่มเติม ลำดับ, ชื่อ ...
ลำดับ ชื่อ[4] เริ่มต้น สิ้นสุด รวมระยะเวลา
1 พระยาวิชยาธิบดี (แบน บุนนาค) 2449 2452 3 ปี
2 พระยารณชัยชาญยุทธ (ถนอม บุณยเกตุ) 2452 2457 5 ปี
3 หม่อมเจ้าธำรงศิริ ศรีธวัช 2457 2458 1 ปี
4 หม่อมเจ้าประดิพัทธเกษมศรี เกษมศรี 2458 2459 1 ปี
5 หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร[5] 2459 2466 7 ปี
6 พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (ชม โชติกะพุกกณะ)[6] 2466 2471 5 ปี
7 พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (ทองย้อย เศวตศิลา) 2471 2472 1 ปี
8 พระยาศรีเสนา (ฮะ สมบัติศิริ) 2472 2473 1 ปี
9 พระยากัลยาณวัฒนวิศิษฐ์ (เชียร กัลยาณมิตร) 2473 2475 2 ปี
ปิด

สถานศึกษาประจำมณฑล

รายการอ้างอิง

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.