Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์กรฟรีเมสัน (อังกฤษ: Freemasonry) เป็นองค์กรภราดรภาพที่มีที่มาของเบื้องหลังอันลึกลับตั้งแต่ราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 องค์กรฟรีเมสันในปัจจุบันมีด้วยกันหลายรูปหลายแบบในประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยมีสมาชิกประมาณ 5 ล้านคนที่รวมทั้งเกือบ 2 ล้านคนในสหรัฐอเมริกา และราว 480,000 คนในอังกฤษ, สกอตแลนด์ และ ไอร์แลนด์[1][2] แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดองค์กรฟรีเมสันจะถือปรัชญาจริยธรรม และอภิปรัชญาเดียวกันที่ในเกือบทุกกรณีก็จะเป็นการประกาศธรรมนูญของความเชื่อใน “ผู้เหนือสิ่งทั้งปวง” (Supreme Being)[3]
องค์กรฟรีเมสันจัดระบบบริหารเป็นหน่วยที่เรียกว่า “แกรนด์ลอดจ์” (Grand Lodges) หรือ “แกรนด์โอเรียนท์” (Grand Orients) แต่ละหน่วยก็จะมีอำนาจบริหารเครือข่ายของตนเอง ที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยหรือ “Constituent Lodges” แกรนด์ลอดจ์บ่งตนเองระหว่างกันได้โดยกระบวนการที่เรียกว่า “บัญญัติเมสัน” (Masonic Landmarks) และ “ระเบียบเมสัน” (Regular Masonic jurisdictions) นอกจากนั้นก็ยังมี “องค์กรเมสันย่อย” (Masonic bodies) ที่มีความสัมพันธ์กันองค์กรหลักแต่มีระบบการบริหารของตนเอง
องค์กรฟรีเมสันใช้อุปลักษณ์ของเครื่องมือช่างหินและวิหารแห่งโซโลมอนที่ทั้งสมาชิกขององค์กรและผู้วิพากษ์กล่าวว่าเป็น “ระบบของจริยธรรมที่พรางอยู่เบื้องหลังอุปมานิทัศน์ ที่เผยออกมาในรูปแบบของสัญลักษณ์”[4][5]
องค์กรฟรีเมสัน เป็นองค์กรภราดรภาพ ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานย้อนไปถึงต้นกำเนิดคือ สมาคมวิชาชีพของพวกช่างหิน ในช่วงปลายศตวรรษที่ 14 ที่มีหน้าที่คอยควบคุมดูแลมาตรฐานฝีมือการทำงานของช่างหิน และเป็นองค์กรกลางที่คอยประสานงาน กับผู้ปกครอง และนายจ้างของพวกเขา ระดับขั้นของฟรีเมสัน แบ่งออกเป็นสามระดับโดยสมาคมวิชาชีพช่างหิน (mason guild) ในยุคกลางของยุโรป ตามฝีมือโดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ 1. ช่างฝึกหัด (Entered Apprentice) 2. ช่างฝีมือ (Journeyman or fellow of craft ปัจจุบันเรียกว่า Fellowcraft) เป็นช่างที่ผ่านการฝึก และได้รับการพิสูจน์ว่ามีฝีมือพอจะได้รับใบแสดงความสามารถและเดินทางไปทำงานในที่อื่นๆได้โดยอิสระ คล้ายๆกับใบรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆ ในปัจจุบัน) และ ระดับที่ 3. นายช่าง (Master Mason) เป็นผู้ที่มีฝีมือโดดเด่น และได้รับเลือกจากสมาชิกสมาคมให้เป็นผู้นำ ในปัจจุบันองค์กรฟรีเมสัน ที่เราเรียกว่า Blue Lodge ซึ่งเป็นองค์กรฐานรากของฟรีเมสัน เป็นผู้แต่งตั้งระดับเหล่านี้ให้กับสมาชิก นอกจากนี้ยังมี ระดับเพิ่มเติมไปอีกหลายระดับ แตกต่างกันไปตาม พื้นที่ปกครองของ Grand Lodge ต่างๆ โดยระดับเพิ่มเติมนี้มักจะตั้งองค์กรของตัวเองควบคุมขึ้นมาโดยเฉพาะ
โดยพื้นฐานแล้ว หน่วยที่เล็กที่สุดของฟรีเมสัน คือ สภาฟรีเมสัน หรือเรียกว่าลอดจ์ (Lodge) โดยจะถูกกำกับดูแลโดย สภาฟรีเมสันระดับภูมิภาค หรือประเทศ หรือเรียกว่า แกรนด์ลอดจ์ หรือ แกรนด์ โอเรียนท์ (Grand Lodge or Grand Orient) โดยมาก แบ่งพื้นที่เขตการปกครองเป็น ประเทศ จังหวัด แคว้น หรือมลรัฐ ยกตัวอย่างเช่นใน สหรัฐอเมริกา แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็นมลรัฐ
ฟรีเมสันไม่มีองค์กรกลางระดับนานาชาติที่เข้ามาควบคุมหรือเป็นตัวแทนของฟรีเมสันทั้งหมด โดยแต่ละแกรนด์ลอดจ์มีอิสระที่จะกำหนดข้อกำหนดกฎบัตรของตนเอง และมีสิทธิ์ที่จะรับรองการมีอยู่ของแกรนด์ลอดจ์ อื่นๆ โดยอิสระ
ในปัจจุบันองค์กรฟรีเมสัน มีอยู่สองรูปแบบ ด้วยกัน คือ องค์กรฟรีเมสันแบบปกติ (Regular Freemason) เป็นองค์กรฟรีเมสันที่เมื่อมีการประกอบพิธีการประชุมของสภาฟรีเมมสัน ต้องเปิดธรรมบัญญัติอันศํกดิ์สิทธิ์ (Volume of Sacred Law) คือ คัมภีร์ทางศาสนา กลางห้องประชุมเสมออีกทั้งทุกคนที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกต้องเชื่อในสิ่งที่ดำรงอยู่สูงสุด (นับถือศาสนา) ไม่รับสมาชิกผู้หญิง และการพูดคุยถกเถียงกันใน เรื่องการเมืองและศาสนาในที่ประชุมสภาฟรีเมสันเป็นเรื่องต้องห้าม อีกรูปแบบหนึ่งคือ องค์กรฟรีเมสันแบบภาคพื้นทวีป(ยุโรป) (Continental Freemason) หรือเรียกกันว่า ฟรีเมสันแบบเสรีนิยม โดยสภาฟรีเมสันที่เป็นฟรีเมสันแบบเสรีนิยมจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบบ้างส่วน ที่เป็นหลักยึดถือขององค์กรฟรีเมสันแบบปกติ เช่นการรับผู้หญิงเข้าเป็นสมาชิก ยอมรับผู้ไม่นับถือศาสนาเข้าเป็นสมาชิก และบางที่ก็ อนุญาตให้สามารถพูดคุยเรื่อง ศาสนา และการเมืองในสภาฟรีเมสันได้ เป็นต้น โดยองค์กรฟรีเมสันลักษณะนี้เกิดขึ้นในภาคพื้นยุโรป คือประเทศฝรั่งเศส
สภาฟรีเมสันแรกในประเทศไทยตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ.1911 คือ สภาเซนต์จอห์น ลำดับทะเบียน 1072 ตามธรรมนูญสก็อตแลนด์ (Lodge Saint John No.1072 S.C.) สังกัด Grand Lodge of Scotland (GLoS)
สภาฟรีเมสันตามธรรมนูญไอร์แลนด์แห่งแรกในประเทศไทยตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1995 คือ สภามรกต ลำดับทะเบียน 945 ตามธรรมนูญไอร์แลนด์ (Morakot Lodge No.945 I.C.) สังกัด Grand Lodge of Ireland
สภาฟรีเมสันตามธรรมนูญอังกฤษแห่งแรกในประเทศไทยตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 2001 คือ สภาจุฬา ลำดับทะเบียน 9745 ตามธรรมนูญอังกฤษ (Chula Lodge No.9745 E.C.) สังกัด United Grand Lodge of England (UGLE)
และ สภาฟรีเมสันแรกในประเทศไทยที่ใช้ภาษาไทยในการประชุมทั้งหมดก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ.2006 คือ สภารัตนโกสินทร์ ลำดับทะเบียน 1833 ตามธรรมนูญสก็อตประเทศ (Lodge Ratanakosin No. 1833 S.C.) สังกัด Grand Lodge of Scotland (GLoS)
สภาฟรีเมสัน (Masonic Lodges) เป็นหน่วยพื้นฐานที่สุดขององค์กรฟรีเมสัน สภาฟรีเมสันประชุมกันสม่ำเสมอ เพื่อจัดการกิจการต่างๆเช่นเดียวกับองค์กรอื่นๆ เช่น การจ่ายค่าน้ำค่าไฟ การจัดงานสังสรรค์ การจัดงานการกุศล การลงคะแนนเพื่อรับสมาชิกใหม่เข้าเป็นสมาชิก เป็นต้น นอกเหนือจากการประชุมเพื่อจัดการกิจการทั่วไปของสภาฯแล้วนั้น ในการประชุมบางครั้งยังมีการประกอบพิธีการของฟรีเมสัน คือ พิธีการยกระดับขั้นของสมาชิก หรือ การบรรยายความรู้เกี่ยวกับฟรีเมสัน เช่น ประวัติศาสตร์ หรือ รายละเอียดเกี่ยวกับบทเรียนของฟรีเมสัน และเมื่อประชุมกันเสร็จแล้ว มักจะมีการสังสรรค์จัดเลี้ยงอย่างเป็นทางการเสมอ ซึ่งเรียกกันในภาษาอังกฤษว่า Festive Board หรือในธรรมเนียมตามธรรมนูญสก็อตแลนด์ จะเรียกว่า Harmony ซึ่งจะมีการร้องเพลง และดื่มเพื่อให้เกียรติตามโอกาส พิธีการของฟรีเมสันมีมากมายผู้สมัคร (Candidate) เข้าร่วมเป็นฟรีเมสัน จะต้องผ่านพิธีการขั้นแรกคือพิธีสถาปนาเข้าสู่ฟรีเมสัน (initiated) ขึ้นเป็นระดับช่างฝึกหัด (Entered Apprentice) ซึ่งเป็นระดับแรก ต่อมาจะเข้าพิธีสถาปนาผ่านระดับ (passed) ขึ้นเป็นระดับช่างฝีมือ (Fellowcraft) ซึ่งเป็นระดับที่สอง และเข้าพิธีสถาปนายกขึ้น (Raised) ขึ้นเป็นระดับนายช่าง (Master Mason) ซึ่งเป็นระดับสาม และถือว่าเป็นระดับอันทรงเกียรติและสูงที่สุดที่ฟรีเมสันคนหนึ่งจะได้รับ ในพิธีการต่างๆข้างต้น ผู้สมัครจะได้เรียนรู้ และรับมอบรหัสผ่าน สัญญาณ และรหัสสัมผัสมือ ซึ่งแตกต่างไปในระดับต่างๆ นอกจากนี้ยังมีพิธีการที่จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกๆปี เรียกว่าพิธีการสถาปนาประธาน และแต่งตั้งเจ้าหน้าที่สภาฟรีเมสัน ซึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่ง 12 เดือน ส่วนมากแต่ละสภาฯ จะมีการจัดงานสังสรรค์ที่ไม่มีพิธีการเมสัน เพื่อเปิดโอกาสให้ชาวเมสันพาคู่ครองของตัวเองมาเข้าร่วมงานได้ด้วย ซึ่งส่วนมากจะเป็นงานที่จัดเพื่อวัตถุประสงค์ระดมทุนเพี่อการกุศล อันเป็นหลักการหนึ่งที่ชาวฟรีเมสันยึดถือเป็นหลัก ซึ่งการจัดงานในลักษณะนี้มีทั้งในระดับ สภาฯไปจนถึงระดับแกรนด์ลอดจ์ โดยการกุศลที่องค์กรฟรีเมสันมักจะบริจาค มีตั้งแต่การบริจาคเพื่อการศึกษา ไปจนถึงเพื่อการบรรเทาสาธารณภัย สภาฯระดับสามัญเหล่านี้ ถือเป็นกระดูกสันหลังขององค์กรฟรีเมสัน ซึ่งผู้ที่จะเข้าเป็นสมาชิกฟรีเมสันก็จะต้องเข้าเป็นสมาชิกในสภาฯเหล่านี้นี่เอง นอกจากนี้ยังมีสภาฯที่ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษอื่นๆอีก เช่น เพื่อการวิจัยศึกษาทางเมสัน สำหรับผู้ที่ได้ยกขึ้นเป็นระดับ นายช่าง (Master Mason) สามารถที่จะเข้าร่วมสภาฯต่างๆเหล่านี้ และเดินทางเพื่อศึกษาค้นคว้า หรือพบปะสังสรรค์กับเพื่อนชาวฟรีเมสันได้ทั่วโลก และสามารถเข้าร่วมกับฟรีเมสันระดับเพิ่มเติมอื่นๆ ซึ่งมีองค์กรที่กำกับดูแลแยกออกไปต่างหากจาก Blue Lodge ได้อีกด้วย ธรรมเนียมที่มีอย่างยาวนานของฟรีเมสัน ก็คือ เขตการปกครองเมสันแต่ละที่นั้นมีอิสระต่อกัน โดยในแต่ละเขตก็มีวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกัน เช่น บทพิธีการ ระเบียบวิธีการ จำนวนขั้นต่ำของสมาชิกในที่ประชุม แผนผังห้องประชุม เป็นต้น เจ้าหน้าที่ผู้มีตำแหน่งในสภาฯที่ได้รับเลือกตั้ง หรือแต่งตั้ง มีวาระดำรงตำแหน่ง 1 ปี ทุกๆลอดจ์จะต้องมี ประธานสภา (Master) 1 คน และมีผู้ปกครอง (Wardens) 2 คน เลขานุการ เหรัญญิก และตำแหน่งผู้พิทักษ์ (Tyler) หรือผู้ระวังภัยภายนอกซึ่งมีหน้าที่เฝ้าประตูอยู่ภายนอกห้องประชุมเพื่อระวังภัยตลอดเวลาที่ประชุม 1 คน จึงถือได้ว่าเป็นการประชุมสภาฯที่สมบูรณ์ และสามารถเปิดประชุมได้ ส่วนตำแหน่งอื่นๆแตกต่างกันไปตามเขตการปกครองต่างๆที่มีธรรมเนียมประเพณีเป็นของตัวเอง แต่ละสภาฯที่ยังดำเนินการอยู่ จะยึดถือหลักการที่มีมาแต่โบราณกาลที่รู้จักกันว่า “บัญญัติเมสัน” (Masonic Landmarks) ซึ่งหลักการนี้ไม่สามารถถูกลบล้าง และเป็นที่ยอมรับกันในระดับสากล
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.