Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พริกขี้หนูกับหมูแฮม เป็นภาพยนตร์ไทยโดยไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ที่ออกฉายเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2532 กำกับโดยสมจริง ศรีสุภาพ นำแสดงโดยขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย และจันทร์จิรา จูแจ้ง ภาพยนตร์ทำรายได้ 6 ล้านบาท[1] ได้รับรางวัลเกียรติยศในงานมหกรรมภาพยนตร์เอเซียนแปซิฟิก ได้รับรางวัลแต่งผมและแต่งหน้ายอดเยี่ยม รางวัลพระสุรัสวดี ปี 2532[2] และมีเพลงประกอบภาพยนตร์คือเพลง "เติมใจให้กัน" แต่งโดย ศุ บุญเลี้ยง ทำนอง-เรียบเรียงโดย สินนภา สารสาส และขับร้องโดย มัม ลาโคนิค[3]
พริกขี้หนูกับหมูแฮม | |
---|---|
กำกับ | สมจริง ศรีสุภาพ |
เขียนบท | สมจริง ศรีสุภาพ |
นักแสดงนำ | ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย จันทร์จิรา จูแจ้ง มยุรา ธนะบุตร จามจุรี เชิดโฉม สุขเกษม จาวยนต์ ชนานา นุตาคม |
ดนตรีประกอบ | เติมใจให้กัน แต่งโดย ศุ บุญเลี้ยง ขับร้องโดย มัม ลาโคนิค |
บริษัทผู้สร้าง | |
วันฉาย | 2 กันยายน พ.ศ. 2532 |
ความยาว | 112 นาที |
ประเทศ | ไทย |
ทำเงิน | 6 ล้านบาท |
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย |
ภาพยนตร์ถ่ายทำที่เมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา โดยเป็นเรื่องการใช้ชีวิตของคนไทยในสหรัฐอเมริกา สมจริงได้ร่วมเขียนบทกับชนินทรซึ่งเคยร่วมงานในภาพยนตร์ รักแรกอุ้ม โดยอาศัยการหาข้อมูลจากเรื่องสั้น นิยายและบันทึกต่าง ๆ ที่มีเรื่องราวของโรบินฮูด สมจริงได้มาถึงสหรัฐอเมริกาก่อนนาน 2 เดือนก่อนถ่ายทำ จึงได้เพิ่มเติมเนื้อหาบทเพิ่มขึ้น เช่นไปเจอเด็กผู้หญิงที่ชอบมายืนที่ทะเลแห่งหนึ่งที่ซานฟรานซิสโกเพราะเป็นมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งเชื่อมถึงประเทศไทยได้ โดยจะมาทุกครั้งที่คิดถึงประเทศไทย แต่จากการที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในลอสแอนเจลิสย้ายที่ทำการทำให้วีซ่าของทีมงานหาย จำเป็นต้องเลื่อนกำหนดถ่ายทำไปอีกหนึ่งเดือน จากนั้นใช้เวลาถ่ายทำในซานฟรานซิสโกนานหนึ่งเดือน โดยก่อนหน้าเปิดกล้อง ยุทธนา มุกดาสนิทได้มาฝึกสอนการแสดงให้กับ จันจิรา จูแจ้ง ส่วนการใช้เสียงเล่าเหตุการณ์ที่นางเอกเขียนจดหมายไปถึงเพื่อนที่เมืองไทยอ่านนั้น ไม่ได้ใช้นักพากษ์เสียง แต่ใช้เสียงของจันจิรา เป็นสิ่งที่คนทำหนังรายอื่นไม่ทำกันในยุคนั้น เพราะกลัวพากษ์ไม่ดี และที่พิเศษคือ ได้อัดบรรยากาศเสียงกลับมาด้วย นอกจากนั้นยังถ่ายทำที่โรงถ่ายอัศวิน ซึ่งเป็นฉากภายในบ้านที่ถูกจัดแต่งขึ้นมาจากที่กำหนดไว้ว่าจะเสร็จภายใน 7 วันแต่เป็นว่าต้องถ่ายทั้งหมด 17 วัน[4]
ต่อมาสมจริง ศรีสุภาพ นำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์อีกด้วย นำแสดงโดยลลิตา ปัญโญภาส และสหรัถ สังคปรีชา ออกอากาศทาง ช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2538
ในปี พ.ศ. 2557 วงโพลีแคตได้ปล่อยเพลง "เพื่อนไม่จริง", "เวลาเธอยิ้ม" และเพลง "พบกันใหม่?" ออกมาถึง 3 เพลงพร้อมกัน โดยนำภาพจากภาพยนตร์เรื่องนี้มาตัดต่อและเรียบเรียงใหม่เป็นมิวสิกวิดีโอ[5] ในปี พ.ศ. 2562 ครบรอบการออกฉาย 30 ปีของภาพยนตร์ ได้นำภาพยนตร์มารีมาสเตอร์และกลับมาออกฉายในโรงภาพยนตร์อีกครั้ง[6]
ปี | พ.ศ. 2532 | พ.ศ. 2538 |
---|---|---|
รูปแบบการสร้าง | ภาพยนตร์ | ละครโทรทัศน์ ช่อง 3 |
ผู้สร้าง | ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ | บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น |
บทการแสดง | สมจริง ศรีสุภาพ ชนินทร ประเสริฐประศาสน์ | ชนินทร ประเสริฐประศาสน์ |
ผู้กำกับการแสดง | สมจริง ศรีสุภาพ | |
จอน | ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย | สหรัถ สังคปรีชา |
พิม | จันทร์จิรา จูแจ้ง | ลลิตา ปัญโญภาส |
พอูน | มยุรา ธนะบุตร | ดวงตา ตุงคะมณี |
นัท | สุขเกษม จาวยนต์ | วรวุฒิ นิยมทรัพย์ |
เปรมมิกา | ชนานา นุตาคม | |
แพท | จามจุรี เชิดโฉม | |
มะลิวัลย์ | ยุวดี ไทยหิรัญ | ดารณีนุช ปสุตนาวิน |
ป้าศรี | จุรี โอศิริ | จุรี โอศิริ |
หนูแดง | สุดาพร ช่วยบำรุง | ยุวดี เรืองฉาย |
แม่ของพิม | ดวงใจ หทัยกาญจน์ | |
พ่อของพิม | ไพโรจน์ ใจสิงห์ | |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.