Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าอลองสิธู (อังกฤษ: Alaungsithu, พม่า: အလောင်းစည်သူ) กษัตริย์ในราชวงศ์พุกาม ที่ครองราชย์อย่างยาวนานถึงกว่า 54 ปี (พ.ศ. 1656 - พ.ศ. 1710) ยุคสมัยของพระองค์ อาณาจักรพุกามเจริญถึงขั้นขีดสุดในทุกด้าน
พระเจ้าอลองสิธู အလောင်းစည်သူ สิธูที่ 1 แห่งพุกาม | |||||
---|---|---|---|---|---|
ภาพพระองค์ในรูปของนะ มินสิธู | |||||
กษัตริย์แห่งพม่า | |||||
ครองราชย์ | ค.ศ. 1112/13 – 1167 | ||||
ก่อนหน้า | พระเจ้าจานซิต้า | ||||
ต่อไป | พระเจ้านะระตู | ||||
มุขยมนตรี | Aleimma | ||||
ประสูติ | 17 มกราคม ค.ศ. 1090 วันพฤหัสบดี,ขึ้น 15 ค่ำ เดือนTabodwe 451 ME พุกาม | ||||
สวรรคต | ค.ศ. 1167 (77 พรรษา) 529 ME[1] พุกาม | ||||
ชายา | Yadanabon Ti Lawka Sanda Dewi Yazakumari Taung Pyinthe | ||||
พระราชบุตร | พระเจ้ามินชินสอ พระเจ้านะระตู Htauk Hlayga Taung Phya Shwe Kyu Chit Oo Kyaungdaw | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | พุกาม | ||||
พระราชบิดา | Saw Yun | ||||
พระราชมารดา | Shwe Einthi | ||||
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
พระเจ้าอลองสิธู เป็นพระโอรสของพระเจ้าซอลู พระโอรสของพระเจ้าอโนรธามังช่อกับพระธิดาของพระเจ้าจานสิตา ครองราชย์หลังการสวรรคตของพระเจ้าจานสิตา พระนามภาษาสันสกฤตเมื่อทรงครองราชย์นั้น พบในจารึกที่วัดชเวกูยี ออกพระนามว่า ศรีตรีภูวนาทิตย์บวรธรรมราชา แต่พระนามที่เป็นที่รู้จักกัน คือ "สิธู" (Sithu) ซึ่งแปลว่า "วีรบุรุษผู้ชนะ" หรือ อลองสิธู (Alaungsithu) เนื่องจากทรงประกาศพระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ด้วยเช่นเดียวกับพระเจ้าจานสิตา พระอัยกาของพระองค์ (อลอง แปลว่าพระโพธิสัตว์) ในยุคสมัยนี้ศิลปะแบบมอญที่เคยรุ่งเรืองในสมัยแรก ๆ ของอาณาจักร ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นแบบของพุกามมากขึ้นจนถือได้ว่าเป็นจุดรุ่งเรืองสูงสุดของศิลปะพม่าแท้ รัชสมัยของพระองค์ เป็นรัชสมัยที่ทรงสร้างความรุ่งเรืองทางศิลปะ วรรณกรรม สถาปัตยกรรม และ การเมืองการปกครอง อย่างแท้จริง
พระเจ้าอลองสิธู ทรงเป็นกษัตริย์นักเดินทางไม่แพ้พระอัยกาของพระองค์ เพราะทรงเดินทางไปเยือนดินแดนต่าง ๆ ในเขตลุ่มน้ำอิระวดี และดินแดนโพ้นทะเล เช่น ชวา สุมาตรา และศรีลังกา ในทางการเมืองการปกครอง พระองค์สามารถยึดเมืองท่าตะนาวศรีได้ จึงสามารถควบคุมการติดต่อทางทะเลที่บริเวณคอคอดกระได้ เช่น การควบคุมการค้าช้างระหว่างขอม และลังกา ทำให้อาณาจักรพุกามรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่ง
ปลายรัชสมัยจัดเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของความเสื่อมของอาณาจักรเมื่อพระองค์ถูกปลงพระชนม์โดยเจ้าชายซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระองค์เอง ตามตำนานเล่าว่าพระเจ้าอลองสิธูประชวรพระวาโยสิ้นพระสติ (เป็นลมจนหมดสติ) เจ้าชายนราธู พระราชโอรสจึงอัญเชิญพระองค์ไปประทับรักษาพระวรกายที่วัดแห่งหนึ่ง เมื่อฟื้นคืนพระสติเจ้าชายนราธูใช้ผ้าปูพระแท่น (ผ้าปูเตียง) อุดพระนาสิกและพระโอษฐ์จนพระเจ้าอลองสิธูสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้ 87 พรรษา โดยที่พระองค์มิได้แต่งตั้งผู้ใดให้เป็นรัชทายาท
เมื่อข่าวทราบถึงเจ้าชายมินชินสอมกุฏราชกุมารยกทัพกลับเข้าพุกามเพื่อเข้ามาจัดงานพระศพพระราชบิดา เจ้าชายนราธูถวายราชสมบัติคืนแก่พระเชษฐาโดยได้ขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้ามินชินสอ ในปี พ.ศ. 1706 แต่ก็ครองราชย์ได้เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ถูกลอบปลงพระชนม์ด้วยยาพิษระหว่างงานฉลองในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกโดยเจ้าชายนราธูอีก
ปัจจุบัน พระเจ้าอลองสิธูได้รับการบูชาให้เป็นนะหลวงลำดับที่ 31 โดยเรียกว่า มินสิธู (Min Sithu)
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.