ประวัติศาสตร์ของจิตรกรรม (ภาษาอังกฤษ: History of painting) เริ่มสร้างกันมาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์และเผยแพร่ไปในทุกวัฒนธรรมและทุกที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในโลกจนกระทั่งปัจจุบันนี้[1] จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรที่ 20 จิตรกรรมจะเป็นการเขียนศิลปะแสดงลักษณ์ (Representational art), ศิลปะศาสนา หรือศิลปะคลาสสิก หลังจากนั้นจึงมีการเริ่มเขียนจิตรกรรมที่เป็นแต่เพียงศิลปะนามธรรม (Abstract art) และต่อมาศิลป์มโนทัศน์ (Conceptual art)
การวิวัฒนาการของจิตรกรรมตะวันตกคล้ายคลึงกับการวิวัฒนาการของจิตรกรรมตะวันออกโดยทั่วไปในสองสามร้อยปีหลัง[2] ศิลปะแอฟริกา, ศิลปะอิสลาม, ศิลปะอินเดีย,[3] ศิลปะจีน, และศิลปะญี่ปุ่น[4] แต่ละอย่างที่กล่าวมาต่างก็มีอิทธิพลสำคัญต่อศิลปะตะวันตก และในที่สุดศิลปะก็กลับไปมีอิทธิพลต่อศิลปะตะวันออก[5]
“ม้า” ลาส์โกซ์, ฝรั่งเศส
จิตรกรรมขูดหิน (Petroglyph) ของสวีเดนใน
ยุคสำริด
Pictographจาก
หุบเขาฮอร์สชู,
ยูทาห์, ราว 1500 ก่อนคริสต์ศักราช
จิตรกรรมที่เก่าที่สุดพบที่ถ้ำโชเวท์ (Grotte Chauvet) ในประเทศฝรั่งเศสที่นักประวัติศาสตร์อ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปี เป็นภาพที่แกะและทาสารสีแดงและดำเป็นภาพม้า, แรด, สิงห์โต, ควาย, ช้างแมมมอธ, และมนุษย์ที่ส่วนใหญ่อยู่ในท่าล่าสัตว์ นอกจากฝรั่งเศสแล้วจิตรกรรมผนังถ้ำก็ยังพบทั่วโลกเช่นในที่อื่นในประเทศฝรั่งเศส, อินเดีย, สเปน, โปรตุเกส, จีน, ออสเตรเลียและอื่นๆ ความเห็นถึงสาเหตุที่เขียนและความหมายของภาพก็มีกันไปต่างๆ มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์อาจจะเขียนภาพสัตว์เพื่อ “ยึด” เอาวิญญาณของสัตว์เพี่อจะได้ทำให้การล่าสัตว์ง่ายขึ้น หรืออาจจะเป็นการเขียนเพื่อสักการะธรรมชาติรอบข้าง หรืออาจจะเป็นความต้องการธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ที่ต้องการแสดงออก หรืออาจจะเป็นการเขียนเพื่อเป็นการสื่อความหมายที่มีประโยชน์ก็ได้
ในยุคหินเก่าแก่ภาพเขียนรูปมนุษย์ในถ้ำจึงแบบว่าหาดูได้ยาก ภาพเขียนส่วนใหญ่เป็นภาพสัตว์ที่และไม่แต่สัตว์สำหรับการบริโภคแต่รวมทั้สัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่งด้วยเช่นแรด หรือ สัตว์ตระกูลเสือแมวเช่นภาพในถ้ำโชเวท์ บางครั้งก็จะมีเครื่องหมายจุด แต่ภาพมนุษย์เป็นแต่เพียงภาพพิมพ์ของมือหรือรูกึ่งสัตว์กึ่งคน ส่วนภาพเขียนในถ้ำอัลตามิรา (Cave of Altamira) ในประเทศสเปนมีอายุราวระหว่าง 14,000 ถึง 12,000 ก่อนคริสต์ศักราชมีภาพต่างๆ ที่รวมทั้งไบซอน
ในโถงวัวของลาส์โกซ์ในดอร์ดอญในฝรั่งเศสมีจิตรกรรมผนังถ้ำที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดที่เขียนระหว่าง 15,000 ถึง 10,000 ก่อนคริสต์ศักราช ความหมายของการเขียนไม่เป็นที่ทราบ ตัวถ้ำไม่ได้อยู่ในบริเวณที่อยู่อาศัยของผู้วาดซึ่งอาจจะหมายถึงว่าเป็นสถานที่ที่ใช้เฉพาะฤดูในประเพณีอย่างใดอย่างหนึ่ง สัตว์แต่ละตัวก็มีเครื่องหมายซึ่งอาจจะมีความหมายทางเวทมนตร์ สัญลักษณ์ที่คล้ายศรในลาส์โกซ์บางครั้งก็ตีความหมายกันว่าเป็นปฏิทินหรือหนังสืออัลมาแนค แต่ก็ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสรุปอะไรได้แน่นอน[6]
งานที่สำคัญที่สุดของยุคหินกลางคือภาพการเดินทัพของนักการสงครามที่เป็นจิตรกรรมผนังหินที่ชิงเกิลเดอลาโมลา (Cingle de la Mola) ในกัสเตยอง (Castellón) ในประเทศสเปนที่เขียนราวระหว่าง 7,000 ถึง 4,000 ก่อนคริสต์ศักราช วิธีเขียนอาจจะเป็นการพ่นสารสีบนผนัง การเขียนมีลักษณะเป็นธรรมชาติแต่ก็ตกแต่งเพิ่มบ้าง รูปที่วาดมีลักษณะเป็นสามมิติแต่ทับกัน
งานศิลปะของอินเดียที่เก่าที่สุดเป็นจิตรกรรมผนังหินจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ จิตรกรรมขูดหิน (Petroglyph) ที่พบในที่ต่างๆ เช่นที่หลบหินที่บิมเบ็ตคา บางแห่งก็มีอายุเก่ากว่า 5500 ก่อนคริสต์ศักราช งานเขียนประเภทนี้ทำต่อกันมาเป็นเวลาหลายพันปี ในคริสต์ศตวรรที่ 7 เสาสลักแห่งอจันตา (Ajanta) ในรัฐมหาราษฏระในประเทศอินเดียแสดงให้เห็นถึงความงดงามของจิตรกรรมของอินเดียและสีที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นสีแดงและส้มเป็นสีที่ทำมาจากแร่ธาตุ
จิตรกรรมเอเชียใต้
กลุ่มสตรีจากตอนใต้ของอินเดีย, Hindupur, ราว ค.ศ. 1540.
"
พระกฤษณะกอดนางโคปี (หญิงเลี้ยงโค)
, จากหนังสือ Gîtâ-Govinda ค.ศ. 1760-1765.
“ร่ายรำ” (Floating Figures Dancing) จิตรกรรมฝาผนังจาก ราว ค.ศ. 850.
“การล่าหมูป่า” ราว ค.ศ. 1540.
“ล่าด้วยเหยี่ยว” (Chand Bibi Hawking) แบบ Deccan จากคริสต์ศตวรรษที่ 18
สตรีฟังเพลง ราว ค.ศ. 1750.
หนังสือ Rasamañjarî ของ Bhânudatta, ค.ศ. 1720.
ชิ้นส่วนจากจิตรกรรมฝาผนังสตรีกางร่ม ราว ค.ศ. 700.
จิตรกรรม Bahsoli เป็นภาพการถกระหว่าง Radha และ Krishna ราว ค.ศ. 1730.
จิตรกรรม Bahsoli ของมหาราชา Sital Dev of Mankot ในท่าสักการะ ราว ค.ศ. 1690.
ภาพเหมือนของชาห์อิบราฮิม อาดิลที่ 2 แห่ง Bijapur ราว ค.ศ. 1615.
“บัลลังก์แห่งความมั่งคั่ง” จากหนังสือ Nujûm-al-' Ulûm ค.ศ. 1570.
ช้างและลูกช้างออกจากโรงช้างของกษัตริย์โมกุลในคริสต์ศตวรรษที่ 17
“Mihrdukht ยิงธนูผ่านวงแหวน” ค.ศ. 1564-1579.
ภาพเหมือนของ Govardhân Chand,
แบบปัญจาบ ราว ค.ศ. 1750.
ราวณะลักนางสีดาและประหารนกฆ่าชฏายุ,
ราชา รวิ วรรมา, ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19
“Akbar และ Tansen ไปเยี่ยม Haridas ใน Vrindavan” แบบ
รัฐราชสถาน ราว ค.ศ. 1750.
ชายกับลูก
แบบปัญจาบ ค.ศ. 1760.
“นางราธาจับพระกฤษณะ”
แบบปัญจาบ ค.ศ. 1770.
“พระรามกับสีดาในป่า”
แบบปัญจาบ ค.ศ. 1780.
จิตรกรรมอินเดีย
บทความหลัก: จิตรกรรมอินเดีย
จิตรกรรมอินเดียตามประวัติศาสตร์แล้ววิวัฒนาการมากจากการเขียนภาพบุคคลในศาสนาและพระมหากษัตริย์ จิตรกรรมอินเดียเป็นคำที่มาจากตระกูลการเขียนหลายตระกูลที่เกิดขึ้นในอนุทวีปอินเดีย จิตรกรรมแตกต่างกันไปมีตั้งแต่จิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่ของถ้ำอจันต้า (Ajanta) ไปจนถึงงานที่ละเอียดละออของจุลจิตรกรรมของจิตรกรรมโมกุล และงานโลหะจากตระกูล Tanjore ส่วนจิตรกรรมจากแคว้นคันธาระ-ตักกสิลา เป็นจิตรกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากจิตรกรรมเปอร์เซียทางตะวันตก จิตรกรรมในอินเดียตะวันออกวิวัฒนาการในบริเวณตระกูลการเขียนของนาลันทาที่เป็นงานที่ได้รับอิทธิพลจากตำนานเทพอินเดีย
จิตรกรรมเอเชียตะวันออก
จิตรกรรมบนเสื้อคลุมจาก
ราชวงศ์ฮั่น (202 ก่อนคริสต์ศตวรรษ - ค.ศ. 220), จีน
ตุ๊กตาสาวใช้และที่ปรึกษาชายจาก
ราชวงศ์ฮั่น (202 ก่อนคริสต์ศตวรรษ - ค.ศ. 220 AD) , จีน
“Luoshenfu” โดย Gu Kaizhi (ค.ศ. 344-406), จีน
จักรพรรดิ
ซุนกวน ใน “Thirteen Emperors Scroll and Northern Qi Scholars Collating Classic Texts” โดย Yan Liben (ราว ค.ศ. 600-673), จีน
“การออกไปในฤดูใบไม้ผลิของราชสำนักราชวงศ์ถัง”, โดย Zhang Xuan คริสต์ศตวรรษที่ 8, จีน
“Paradise of the Buddha Amitabha” คริสต์ศตวรรษที่ 8, จีน
“สตรีทำไหม” ทำเลียนแบบต้นตำรับจากคริสต์ศตวรรษที่ 8 โดย Zhang Xuan โดย จักรพรรดิซ่งฮุ่ยจง ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12, จีน
จิตรกรรม sutra จาก
ยุคนารา คริสต์ศตวรรษที่ 8, ญี่ปุ่น
“สตรีเล่นเกม”, โดย Zhou Fang (ค.ศ. 730-800), จีน
“เล่นดนตรีกลางลาน”, คริสต์ศตวรรษที่ 10, จีน
“The Xiao and Xiang Rivers”, โดย Dong Yuan (ราว ค.ศ. 934-962), จีน
ภาพเหมือนของ
จักรพรรดิซ่งเสินจง (ราว ค.ศ. 1067-1085), จีน
“ไก่ป่าและกุหลาบ”, โดย
จักรพรรดิซ่งฮุ่ยจง (ราว ค.ศ. 1100-1126), จีน
“ฟัง Guqin” โดย
จักรพรรดิซ่งฮุ่ยจง (ค.ศ. 1100-1126), จีน
“เด็กเล่น”, โดย Su Han Chen, ราว ค.ศ. 1150, จีน
จิตรกรไม่ทราบนามจากคริสต์ศตวรรษที่ 12
ราชวงศ์ซ่ง
ภาพเหมือนของพระ
เซน Wuzhun Shifan ค.ศ. 1238, จีน
Ma Lin ค.ศ. 1246, จีน
“ชายและม้าในทุ่งโล่ง”, โดย Zhao Mengfu (ค.ศ. 1254-1322), จีน
ภูมิทัศน์ฤดูใบไม้ร่วง โดย Sesshu Toyo (ค.ศ. 1420-1506), ญี่ปุ่น
“
พระโพธิสัตว์แห่งความกรุณา”, โดย Kanō Motonobu (ค.ศ. 1476-1559), ญี่ปุ่น
“เรือ Nanban มาค้าขายที่ญี่ปุ่น” คริสต์ศตวรรษที่ 16, ญี่ปุ่น
ฉากภาพคนเล่น
หมากล้อม โดย Kanō Eitoku (ค.ศ. 1543-1590), ญี่ปุ่น
“ต้นสน” ฉากหกหน้า โดย Hasegawa Tohaku (ค.ศ. 1539-1610), ญี่ปุ่น
“Night Revels” งานจาก
ราชวงศ์ซ่ง สร้างจากงานเดิมของคริสต์ศตวรรษที่ 10 โดย Gu Hongzhong
ม้วนอักษรวิจิตร
พระโพธิธรรม (ค.ศ. 1686 to 1769), ญี่ปุ่น
“ดอกโบตั๋น”, โดย Yun Shouping (ค.ศ. 1633-1690), จีน
“Genji Monogatari” โดย Tosa Mitsuoki (ค.ศ. 1617–1691), ญี่ปุ่น
Ike no Taiga (ค.ศ. 1723-1776), “ปลาในฤดูใบไม้ผลิ”, ญี่ปุ่น
“สน, ไม้ไผ่, พลัม,” ฉากหกหน้าโดย Maruyama Ōkyo (ค.ศ. 1733–1795), ญี่ปุ่น
A tanuki (raccoon dog) as a tea kettle, โดย Katsushika Hokusai (ค.ศ. 1760—1849), ญี่ปุ่น
“มังกรพ่นควันหนีจากภูเขาฟูจิ” โดย Katsushika Hokusai, ญี่ปุ่น
ไม่มีชื่อโดย Miyagawa Isshō, ญี่ปุ่น
“Two Divinities Dancing” (ค.ศ. 1837-1924), ญี่ปุ่น
Art of the Western World: From Ancient Greece to Post Modernism (Paperback)
by Bruce Cole, Simon and Shuster, 1981, accessed 27 October 2007
“การพบปะระหว่างศิลปะตะวันออกและศิลปะตะวันตก” ฉบับปรับปรุงและขยายความ โดยไมเคิล ซัลลิแวน
นิวยอร์กไทมส, ฮอลแลนด์ ค็อตเตอร์ , accessed 27 ตุลาคม ค.ศ. 2007]
ญี่ปุ่น: อิทธิพลของศิลปะญี่ปุ่นต่อศิลปะตะวันตกตั้งแต่ ค.ศ. 1858 โดยซิกฟรีด วิคแมน, เทมส์และฮัดสัน; ฉบับใหม่ (19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999), ISBN-10: 0500281637, ISBN-13: 978-0500281635
“การพบปะระหว่างศิลปะตะวันออกและศิลปะตะวันตก” ฉบับปรับปรุงและขยายความ โดยไมเคิล ซัลลิแวน, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (1 มิถุนายน ค.ศ. 1989), ISBN-10 0520059026, ISBN-13 978 0520059023
M. Hoover, Art of the Paleolithic and Neolithic Eras]", from Art History Survey 1, San Antonio College (July 2001; accessed 11 June 2005).