นนทรีย์ นิมิบุตร ชื่อเล่น อุ๋ย (เกิด 18 ธันวาคม พ.ศ. 2505 ที่จังหวัดนนทบุรี) เป็นทั้งผู้กำกับภาพยนตร์, ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ และนักเขียนบทภาพยนตร์ นับได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกวงการภาพยนตร์ยุคใหม่ของไทย ตั้งแต่ที่ได้กำกับเรื่อง 2499 อันธพาลครองเมือง ออกฉายเมื่อ พ.ศ. 2540 และหนังประสบความสำเร็จอย่างสูง วงการหนังไทยยุคใหม่ก็ได้เริ่มต้นขึ้น ซึ่งช่วยฟื้นฟูให้อุตสาหกรรมหนังไทยเข้าถึงกลุ่มคนดูยุคใหม่ ๆ มากขึ้น หลังจากที่ยุค พ.ศ. 2530 - 2540 หนังไทยอยู่ในภาวะตกต่ำมาเป็นเวลานาน
นนทรีย์ นิมิบุตร | |
---|---|
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | 18 ธันวาคม พ.ศ. 2505 |
คู่สมรส | อัจฉรา นิมิบุตร |
อาชีพ | ผู้กำกับภาพยนตร์, นักเขียนบทภาพยนตร์, โปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน |
ผลงานเด่น | 2499 อันธพาลครองเมือง (2540) นางนาก (2542) |
ฐานข้อมูล | |
IMDb | |
ThaiFilmDb |
ก่อนเข้าสู่วงการภาพยนตร์
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม และระดับอุดมศึกษาคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อปีพ.ศ. 2530 หลังจากนั้น ได้เริ่มทำงานในวงการบันเทิงด้วยการเป็นผู้กำกับมิวสิกวิดีโอให้กับบริษัทผู้ผลิตเทปชั้นนำของประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2537 และเริ่มทำงานด้านการผลิตสารคดีและละคร หลังจากนั้นจึงได้เข้าสู่วงการกำกับโฆษณาอีกหลายปี ได้รับรางวัล แทคท์ อวอร์ดถึงสองครั้ง
เข้าสู่วงการภาพยนตร์
เริ่มสู่การกำกับหนังเรื่องแรกชื่อ 2499 อันธพาลครองเมือง ซึ่งร่วมเขียนบทโดย วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ตัวหนังมีเนื้อหาเกี่ยวกับแก๊งอันธพาลวัยรุ่นในยุค 2499 ซึ่งหนังเรื่องนี้ทำรายได้ในไทยถึง 75 ล้านบาท และได้รับเสียงตอบรับจากผู้ชมเป็นอย่างดี
หลังจากนั้นก็ได้กำกับภาพยนตร์เรื่องที่สอง คือ นางนาก ซึ่งหนังเรื่องนี้ ได้สร้างปรากฏการณ์ให้กับหนังสยองขวัญของไทยแนวใหม่ ด้วยการนำเรื่องเล่าท้องถิ่นที่เคยรู้จักกันดีอยู่แล้ว มาเสนอในรูปที่แปลกใหม่กว่าหนังผีเดิมๆที่เคยทำกันมาในยุคก่อน หนังเรื่องนี้การสร้างรายได้ถึง 149 ล้านบาท และมีผู้ชมชื่นชอบแทบทุกวัย ได้รับรางวัลในประเทศมามากมาย
ซึ่งหลังจากที่หนังทั้ง 2 เรื่องนี้ได้ฉายไป ถือได้ว่าเป็นการฟื้นฟูอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของไทย ที่ซบเซามาอย่างนานถึงเกือบ 10 ปี ได้กลับมามีชีวิตชีวาใหม่อีกครั้ง และทำให้มีหนังไทยแนวใหม่ๆ ออกฉายมากขึ้นกว่ายุคก่อนๆ
ชีวิตส่วนตัว
มีภรรยาชื่อ นางอัจฉรา นิมิบุตร
ผลงาน
ผู้กำกับ
- 2499 อันธพาลครองเมือง (2540)
- นางนาก (2542)
- จัน ดารา (2544)
- อารมณ์ อาถรรพณ์ อาฆาต (Three) (2545), ตอน The Wheel (San Geng)
- โอเคเบตง (2546)
- ภาพยนตร์สั้น The Ceiling (2548)
- ปืนใหญ่จอมสลัด (2551)
- Toyol (อยู่ในระหว่างการพัฒนา)
- ละครโทรทัศน์ ดิน น้ำ ลม ไฟ (2553) ทางช่อง 3
- ละครโทรทัศน์ เหนือเมฆ (2553) ทางช่อง 3
- เหรียญของพ่อ (2553)
- คน-โลก-จิต (2555)
- ละครโทรทัศน์ เหนือเมฆ 2 มือปราบจอมขมังเวทย์ (2555) ทางช่อง 3
- Timeline จดหมาย ความทรงจำ (2557)
- ของขวัญ (2560)
- มนต์รักนักพากย์ (2566) เป็นภาพยนตรที่ออกฉายทาง เน็ตฟลิกซ์[1]
โปรดิวเซอร์
- เสือ โจรพันธุ์เสือ (2541)
- บางกอกเดนเจอรัส (2542)
- ฟ้าทะลายโจร (2543)
- บางระจัน (2543)
- จัน ดารา (2544)
- มนต์รักทรานซิสเตอร์ (2544)
- Three , segment San Geng (The Wheel) (2002 )
- เรื่องรัก น้อยนิด มหาศาล (2546)
- เดอะ เลตเตอร์ จดหมายรัก (2547)
- โหมโรง (2547)
- The Eye 2 (2547)
- หนูหิ่น เดอะมูฟวี่ (2549)
- ปืนใหญ่จอมสลัด (2551)
- สีเรียงเซียนโต๊ด (2557)
- Timeline จดหมาย ความทรงจำ (2557)
- คืนยุติ-ธรรม (2563)
อื่นๆ
- ละครโทรทัศน์ กาหลมหรทึก (2561) ทางช่องวัน 31 (ออกแบบงานสร้าง)
- ละครโทรทัศน์ คือเธอ (2565) ทางช่อง 3 เอชดี (ที่ปรึกษาด้านงานสร้าง โดยในช่วงแรกทำหน้าที่เป็นผู้กำกับก่อนจะส่งไม้ต่อให้กับอำไพพร จิตต์ไม่งง)
ผลงานแสดง
ละครโทรทัศน์
- นางอาย (2559) (รับเชิญ)
ภาพยนตร์
- เสือ โจรพันธุ์เสือ (2541)
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.