Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฌอง เฮย์ (ภาษาอังกฤษ: Jean Hey หรือ Jean Hay) (ราว ค.ศ. 1475 - ราว ค.ศ. 1505) เป็นจิตรกรที่เดิมรู้จักกันในนามว่า “มาสเตอร์แห่งมูแลงส์” เฮย์เป็นจิตรกรชาวเนเธอร์แลนด์ของยุคเนเธอร์แลนด์ตอนต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพศิลปะคริสต์ศาสนา และจิตรกรรมหนังสือวิจิตร ฌอง เฮย์ทำงานในฝรั่งเศสและในอาณาบริเวณของดยุคแห่งเบอร์กันดีและมีส่วนเกี่ยวข้องกับดยุคแห่งบูร์บอง
ฌอง เฮย์ |
---|
รายละเอียดเกี่ยวกับเบื้องต้นของชีวิตไม่เป็นที่ทราบเท่าใดนัก แต่สันนิษฐานว่าได้ศึกษาการเขียนกับ ฮูโก ฟาน เดอร์ โกส์ และอาจจะใช้เวลาบั้นปลายในปารีส[1]
งานที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดของเฮย์เป็นงานฉากแท่นบูชาในมหาวิหารโนเทรอดามแห่งมูแลงส์ในอัลลีเยร์ในประเทศฝรั่งเศส ที่สันนิษฐานว่าเขียนราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 แผงกลางเป็นภาพพระแม่มารีและพระบุตรชื่นชมด้วยเทวดาและบานสองข้างเป็นภาพเหมือนของปีเตอร์ที่ 2 ดยุคแห่งบูร์บอง (Peter II, Duke of Bourbon) และดัชเชส Anne de Beaujeu และลูกสาวซูซานแห่งบูร์บอง (Suzanne of Bourbon) สภาพของบานพับภาพอยู่ในสภาพที่ดีมากแม้ว่าในเวลาก่อนหน้าคริสต์ทศวรรษ 1830 ส่วนล่างถูกตัดออกไปบ้าง[2]
จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 นามของผู้เขียนฉากบานพับภาพมูแลงส์ก็ไม่เป็นที่ทราบว่าเป็นใคร แต่นักประวัติศาสตร์ศิลปะสามารถบ่งภาพเขียนอื่นได้ว่าเป็นภาพที่เขียนโดยจิตรกรเดียวกับผู้เขียนบานพับภาพมูแลงส์ หนังสือเกี่ยวกับมาสเตอร์แห่งมูแลงส์เขียนในปี ค.ศ. 1961 โดยมาดาเลน ฮุยเล็ท ดิสเตรีย (Madeleine Huillet d'Istria) ตั้งข้อเสนอว่าจิตรกรที่ว่าไม่มีตัวตนและผู้เขียนเป็นกลุ่มจิตรกรกว่าสิบสองคนที่เป็นผู้เขียนงานต่างๆ ที่เดิมบ่งว่าเป็นงานเขียนของมาสเตอร์แห่งมูแลงส์ก่อนหน้านั้น[3] ชื่อของมาสเตอร์แห่งมูแลงส์เพิ่งมาพบว่าเป็นใครเมื่อพบคำจารึกบนด้านหลังของภาพ “พระเยซูทรงมงกุฏหนาม” (ค.ศ. 1494) ที่ได้รับความเสียหายในราชพิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์แห่งเบลเยียมในบรัสเซลส์ ที่บ่งว่าชื่อ “ฌอง เฮย์” “teutonicus” และ “pictor egregius” (“จิตรกรผู้ยิ่งใหญ่”) และผู้จ้างคือฌอง คุยอิเล็ตต์ (Jean Cueillette) ผู้เป็นราชเลขาธิการของพระเจ้าแผ่นดินและผู้เกี่ยวข้องกับราชวงศ์บูร์บอง[4][5] ลักษณะการเขียนที่คล้ายคลึงกันทำให้บ่งได้ว่าเป็นงานเขียนโดยมาสเตอร์แห่งมูแลงส์[5] มาสเตอร์แห่งมูแลงส์จึงน่าจะเป็นจิตรกรประจำราชสำนักของราชวงศ์บูร์บอง[6] และจากหลักฐานจากระหว่างปี ค.ศ. 1502 ถึงปี 1503 ระบุว่าช่างเขียนประจำราชสำนักชื่อฌอง และไม่น่าจะเป็นฌอง เพร์รีอาล (Jean Perréal) หรือ ฌอง โพรโวสต์ (Jean Prévost) จากการค้นคว้าต่อมา[6] สร้อย “Teutonicus” หรือ “เยอรมัน” หลังชื่อขณะนั้นไม่แต่จะใช้สำหรับชาวเยอรมันแต่ยังรวมทั้งผู้ที่เป็นชาวเฟล็มมิชด้วยในขณะนั้น
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.