Loading AI tools
อดีตนายกรัฐมนตรีอิตาลี จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซิลวีโอ แบร์ลุสโกนี (อิตาลี: ; 29 กันยายน พ.ศ. 2479 – 12 มิถุนายน พ.ศ. 2566) เป็นนักการเมืองและนักธุรกิจชาวอิตาลี ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอิตาลี และอดีตสมาชิกรัฐสภายุโรป และอดีตประธานสโมสรฟุตบอลเอซี มิลาน
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ซิลวีโอ แบร์ลุสโกนี | |
---|---|
Silvio Berlusconi | |
นายกรัฐมนตรีอิตาลี | |
ดำรงตำแหน่ง 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 – 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 | |
ก่อนหน้า | โรมาโน โปรดี |
ถัดไป | มารีโอ มอนตี |
ดำรงตำแหน่ง 11 มิถุนายน พ.ศ. 2544 – 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 | |
ก่อนหน้า | จูลีอาโน อามาโต |
ถัดไป | โรมาโน โปรดี |
ดำรงตำแหน่ง 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 – 17 มกราคม พ.ศ. 2538 | |
ก่อนหน้า | การ์โล อาเซลโย ชัมปี |
ถัดไป | ลัมแบร์โต ดีนี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 กันยายน ค.ศ. 1936 มิลาโน อิตาลี |
เสียชีวิต | 12 มิถุนายน ค.ศ. 2023 ปี) มิลาโน อิตาลี | (86
ศาสนา | โรมันคาทอลิก |
ลายมือชื่อ | |
แบร์ลุสโกนีดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอิตาลีนานที่สุดนับแต่สงครามโลกครั้งที่สอง และนานที่สุดเป็นอันดับสามนับแต่การก่อตั้งอิตาลี ตามหลังเบนิโต มุสโสลินีและจิโอวานนี เบลลินี โดยดำรงตำแหน่งสามสมัยไม่ติดต่อกัน ในทางเทคนิค เขาสาบานตนเข้ารับตำแหน่งสี่ครั้ง หลังมีการสับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีรอบหนึ่ง ดังที่เกิดกับแบร์ลุสโกนีใน ค.ศ. 2005 คณะรัฐมนตรีใหม่สาบานตนเข้ารับตำแหน่งและต้องมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เขาเป็นผู้นำพรรคการเมืองเสรีประชาชน พรรคสายกลาง-ขวาที่เขาก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 2009 นับจากเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2009 ถึงพฤศจิกายน ค.ศ. 2011 เขาเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดของกลุ่มประเทศจี 8 ในปี ค.ศ. 2020 นิตยสารฟอบส์จัดอันดับให้เขาและครอบครัวเป็นบุคคลรวยที่สุดในโลกอันดับที่ 308 โดยมีทรัพย์สินรวม 5.3 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ[1]
ความก้าวหน้าทางการเมืองของแบร์ลุสโกนีนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว และห้อมล้อมด้วยข้อโต้แย้ง เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก และได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1994 เมื่อฟอร์ซา อิตาเลียได้รับเสียงค่อนข้างมากเพียงสามเดือนหลังก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ดี คณะรัฐมนตรีชุดเขาล้มลงหลังทำงานได้เก้าเดือน จากความไม่ลงรอยกันภายในรัฐบาลผสมของเขา ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกะทันหัน เดือนเมษายน ค.ศ. 1996 แบร์ลุสโกนีพ่ายต่อผู้สมัครสายกลาง-ซ้าย โรมาโน โปรดี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2001 เขาเป็นผู้สมัครสายกลาง-ขวาที่เข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และมีชัยเหนือผู้สมัครสายกลาง-ซ้าย ฟรานเซสโก รูเทลลี แบร์ลุสโกนีจัดคณะรัฐมนตรีชุดที่สองและสาม กระทั่ง ค.ศ. 2006
แบร์ลุสโกนีเป็นผู้นำรัฐบาลผสมสายกลาง-ขวาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2006 ซึ่งเขาแพ้ไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น คู่แข่งของเขาเป็นโรมาโน โปรดีคนเดิม เขาได้รับเลือกตั้งใหม่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เดือนเมษายน ค.ศ. 2008 หลังรัฐบาลโปรดีล้มและสาบานตนเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งที่สาม เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 2008
แบร์ลุสโกนีถูกวิจารณ์ว่าครอบงำสื่ออิตาลีระหว่างเขาดำรงตำแหน่งทางการเมือง[2] บริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงมีเดียเซตของเขาเป็นบริษัทใหญ่ที่สุดในประเทศ และแบร์ลุสโกนีไม่เคยทำตามสัญญาเมื่อเลือกตั้งในการขายทรัพย์สินของบริษัทเพื่อหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน ความเป็นผู้นำของเขาถูกบ่อนทำลายลงโดยกรณีอื้อฉาวทางเพศ[3] หลังแพ้เสียงข้างมากในสภา แบร์ลุสโกนีลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งสุดท้ายในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2011[4]
ซิลวีโอ แบร์ลุสโกนีเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองชื่อว่า ฟอร์ซา อิตาเลีย (ที่เขาได้จัดตั้งขึ้นเป็นการพิเศษ เพื่อเป็นการปูทางเข้าสู่ถนนทางการเมืองของตนเอง ที่เขาอ้างว่าเป็นการกระทำ"โดยชอบธรรม") และยังเป็นเจ้าของบริษัทฟินอินเวสต์ จักรวรรดิสื่อสารมวลชนในประเทศอิตาลี (ที่ควบคุมกิจการของมีเดียเซ็ตอีกต่อหนึ่ง) ในฐานะผู้ประกอบการ เขามีความสนใจในธุรกิจหลากหลายประเภท และสามารถควบคุมสื่อส่วนใหญ่ในประเทศอิตาลีได้ โดยไม่ทางตรงก็ทางอ้อม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานีโทรทัศน์หกช่องในประเทศ ที่ สามช่องเป็นของเอกชน และสามช่องเป็นของรัฐ โดยที่เขาสามารถควบคุมสามช่องหลังได้ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล) ในการจัดอันดับมหาเศรษฐีโลกของนิตยสารฟอร์บ ได้ระบุว่าเขาเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศอิตาลี โดยมีทรัพย์สินรวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้นราว 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีค.ศ. 2004)
ในปีค.ศ. 1960 ซิลวีโอ แบร์ลุสโกนีได้เริ่มอาชีพผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เขาได้ร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับนายปีเอโทร คานาลีในการจัดตั้งบริษัทคานตีเอรี รีอูนีตี มีลาเนซี อาส.ปา.อา. และได้ก่อสร้างคอมเพล็กซ์เพื่อการพักอาศัยเอดีลนอร์ด ตามมาด้วย มีลาโน 2 มีลาโน 3 และ จีราโซล ในนครมิลาน
ในปีค.ศ. 1978 เขาได้เปิดตัว เทเลมีลาโน สถานีโทรทัศน์เคเบิลในคอมเพล็กเพื่อการอยู่อาศัย มีลาโน 2 ซึ่งต่อมาสถานีโทรทัศน์ดังกล่าวก็ได้แพร่ภาพไปทั่วทั้งแคว้นลอมบาร์ดี และต่อมา เขาก็ได้ก่อตั้งบริษัทฟินอินเวสต์ บริษัทแม่ของกลุ่มกิจการ ซึ่งต่อมาได้ดำเนินกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวงการโทรทัศน์ทั้งหมด
ในปีค.ศ. 1980 เขาได้ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ คานาเล ชิงเก ซึ่งเป็นเคเบิลทีวีเอกชนแห่งแรก ที่มีการออกอากาศทั่วประเทศ (โดยอาศัยเทคนิคการอัดรายการล่วงหน้าสามวัน แล้วสำเนาเทปแจกจ่ายไปยังสถานีท้องถิ่น เพื่อออกอากาศพร้อมกันทั่วประเทศ) จากนั้นเขาก็ได้ซื้อกิจการสถานีโทรทัศน์ อิตาเลีย อูโน จากกลุ่มธุรกิจรุสโกนี (ค.ศ. 1982) และสถานีโทรทัศน์ เรเต กวาโตร จากกลุ่มธุรกิจริซโซนี (ค.ศ. 1984) ในเวลาไม่นาน เขากิจการของเขาก็ได้แพร่ขยายไปในกลุ่มประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป เขาได้ซื้อกิจการสถานีโทรทัศน์ ลา ซังก์ ของฝรั่งเศส (ค.ศ. 1986) จากนั้นก็เทเลฟุนฟ์ ของเยอรมนี ในปี(ค.ศ. 1987) จากนั้นก็ซื้อกิจการช่องเทเลซิงโก ในประเทศสเปน (ค.ศ. 1989)
ในปีค.ศ. 1989 เขายังได้ซื้อกิจการของสำนักพิมพ์มอนดาโรี และทำให้สำนักพิมพ์นี้กลายเป็นสำนักพิมพ์หนังสือและนิตยสารยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศ จากนั้น การร่วมทุนกับกลุ่มเมดูซา และซีเนมา ชิงเก ทำให้กลุ่มธุรกิจนี้กลายเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดในอิตาลี ในปีค.ศ. 1986 เขาได้ซื้อทีมฟุตบอลเอซี มิลาน นอกจากนั้น ในส่วนของธุรกิจประกันภัยและไฟแนนซ์ เขาเป็นเจ้าของบริษัทเมดีโอลานุม และโปรกรามมา อิตาเลีย
เครือธุรกิจฟินอินเวสต์ของเขา เป็นกลุ่มธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่อันดับสองของประเทศอิตาลี
จากการที่แบร์ลุสโกนีเป็นเพื่อนเก่าแก่ของนายกรัฐมนตรีเบตตีโน คราซี ประธานสภาที่ปรึกษาแห่งชาติสังกัดพรรคสังคมนิยม เขาจึงถูกกล่าวหาว่าได้ใช้อำนาจทางการเมืองเอื้ออำนวยกิจการของตนในฐานะผู้ประกอบการ ชื่อของเขาปรากฏอยู่บนบัญชีหางว่าวอันยาวเหยียดของกลุ่มล็อกเจีย มาซโซนีกา เปดูเอ (องค์กรติดอาวุธต่อต้านสาธารณรัฐที่ต้องการก่อการยึดอำนาจ) จุดเริ่มต้นของปฏิบัติการต่อต้านคอรัปชั่น มานี ปูลีเต ดูเหมือนจะเป็นเหตุผลหลักให้แบร์ลุสโกนีต้องก้าวสู่เส้นทางการเมือง
ในปีค.ศ. 1994 เขาได้ตัดสินใจเข้าสู่วงการการเมือง และเป็นผู้สมัครจากพรรคฟอร์ซา อิตาเลีย พรรคการเมืองที่เขาสร้างขึ้นมาเองเพียงสองเดือนก่อนการเลือกตั้ง เพื่อเข้าชิงเก้าอี้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งเขาก็ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นจากการใช้สื่อโทรทัศน์ในการโหมโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างหนัก ซึ่งนับว่ารูปแบบแปลกใหม่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองของอิตาลี ในที่สุด เขาก็ได้ก้าวถึงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยการจัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับพรรคเลกา นอร์ด และพรรคอาลีอานซา นาซีโอนาเล แต่ในอีกไม่กี่เดือนต่อมา เขาก็ต้องลาออกจากตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลเนื่องจากพรรคแนวร่วมตอนเหนือ (เลกา นอร์ด) พรรคร่วมรัฐบาลได้ถอนตัวออกไปรวมกับฝ่ายค้าน
ในปีเดียวกัน ทางการอิตาลีได้เข้าตรวจค้นสำนักงานกว่า 560 แห่งของกลุ่มธุรกิจฟินอินเวสต์ และแบร์ลุสโกนีที่ดำรงตำแหน่งรักษาการประธานสภาที่ปรึกษาแห่งชาติได้รับเชิญให้การต่อศาลที่นครมิลาน ขณะที่เขากำลังเป็นประธานในการประชุมองค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องอาชญากรรมที่เมืองเนเปิล จากเหตุการณ์นี้ เขาได้กลายเป็นบุคคลขาวสะอาดขึ้นมาทันที จากการที่ศาลตัดสินใจไม่ดำเนินคดี แบร์ลุสโกนีได้ฟ้องกลับต่อคณะมนตรียุติธรรม ว่ากลุ่มผู้พิพากษาในนครมิลานได้รวมหัวกันดำเนินการขัดต่ออำนาจรัฐ
รัฐบาลแบร์ลุสโกนีสอง ที่เริ่มการบริหารประเทศตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 2001 ยังคงอยู่ในอำนาจต่อไป แม้ว่าจะต้องเผชิญกับวิกฤติการณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ และวิกฤตการณ์ถาวร (การเปลี่ยนคณะรัฐมนตรี 19 ครั้ง รวมถึงการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีในกระทรวงสำคัญ ๆ เป็นต้นว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเศรษฐกิจ รองประธานสภาที่ปรึกษาคณะรัฐมนตรีแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงปฏิรูป) อย่างไม่หยุดหย่อน จนกระทั่งหมดวาระเมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 2005 ทำให้รัฐบาลของเขาเป็นรัฐบาลอิตาเลียนที่อยู่ในวาระนานที่สุดตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา แบร์ลุสโกนีได้ผ่านวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดมาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 2005 จากการที่พรรคสหภาพคริสเตียนเดโมแครต (UDC) ของพวกคริสเตียนประชาธิปไตย หนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาลผสมสองพรรค ขอถอนตัว ทำให้แบร์ลุสโกนีต้องลงเอยด้วยการยื่นใบลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดีคาร์โล อาเซกลีโอ คีอามปี แห่งสาธารณรัฐอิตาลีเมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 2005 ซึ่งก็อนุญาตให้เขาลาออกอย่างสงวนท่าที ไม่ว่าเพื่อต้องการจัดตั้งรัฐบาลแบร์ลุสโกนีสาม (โดยไม่มีพรรคพันธมิตรสองพรรคเดิมมาร่วมรัฐบาล) หรือไม่ก็เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งทั่วไปที่คาดผลได้ล่วงหน้า (ซึ่งมีขึ้นเมื่อในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2005) เมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 2005 เวลา 18 นาฬิกา 30 นาที ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอิตาลีได้เป็นตัวตั้งตัวตีในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ที่จะต้องมีรัฐมนตรีหลายตำแหน่งมาจากพรรคสหภาพคริสเตียนเดโมแครต เมื่อวันที่ 23 เมษายน เวลา 12 นาฬิกา 50 นาที เขาได้นำเสนอรายชื่อคณะรัฐมนตรี 26 คนของคณะรัฐบาลแบร์ลุสโกนีสาม โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆมากมาย นอกจากการที่นายจูลีโอ เทรมอนตีเข้ามาดำรงตำแหน่งรองประธานที่ปรึกษาคณะรัฐมนตรี แทนที่นายมาร์โค โฟลลีนี และการก่อตั้งกระทรวงใหม่ขึ้นมาโดยไม่มีรัฐมนตรีเพื่อบริหารองค์กรเพื่อการพัฒนาแคว้นต่าง ๆ ทางภาคใต้ของประเทศอิตาลี
ในปีค.ศ. 1965 เขาได้เข้าพิธีสมรสกับคาร์ลา เดลโลกลีโน ซึ่งเขามีบุตรด้วยสองคน มาเรีย เอลวีรา (ชื่อเล่น มารีนา) เกิดเมื่อปีค.ศ. 1966 และ ปีแอร์ซิลวีโอ (ชื่อเล่น ดูดี) เกิดเมื่อปีค.ศ. 1968 ต่อมาเขาได้แต่งงานใหม่กับเวโรนีกา ลารีโอ นักแสดงสาวทางจอเงิน ซึ่งเขามีบุตรด้วยสามคน บาร์บารา (ค.ศ. 1984) เอลเลโอโนรา (ค.ศ. 1986) และ ลุยกิ (ค.ศ. 1988) ปัจจุบัน มารีนาดำรงตำแหน่งรองประธานบริษัทฟินอินเวสต์ ปีแอร์ซิลวีโอ ดำรงตำแหน่งรองประธานมีเดียเซ็ต และประธานของอาร์เตอี ซึ่งเป็นบริษัทที่ควบคุมกิจการต่าง ๆ ของเขาทางด้านโทรทัศน์
ซิลวีโอ แบร์ลุสโคนี เสียชีวิตในวันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ที่โรงพยาบาลซานราฟาเอลในมิลาน เขาอายุ 86 ปี[5][6][7][8][9][10][11][12][13][14][15][16][17][18][19][20][21][22][23][24][25][26][27][28][29][30][31][32][33]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.