การร้องเพลงด้วยลำคอแบบตูวา (อังกฤษ: Tuvan throat singing) หรือที่รู้จักด้วยชื่อเทคนิกหลักในการร้องที่เรียกว่า ฆูมีย์ (ตูวา: хөөмей, อักษรโรมัน: xöömej; มองโกเลีย: хөөмий; ᠬᠦᠭᠡᠮᠡᠢ, อักษรโรมัน: khöömii;[1] รัสเซีย: хоомей; จีน: 呼麦; พินอิน: hūmài; อักษรโรมัน: khoomei) เป็นรูปแบบหนึ่งของการขับร้องแบบโอเวอร์โทนในสาธารณรัฐตูวาของประเทศมองโกเลียและในไซบีเรีย ในปี 2009 การขับร้องนี้ได้รับการบรรจุเป็นรายการผู้แทนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติโดยยูเนสโก คำว่า hömey / kömey แปลว่า คอ และ ลาริงซ์ ในภาษากลุ่มเติร์ก[2][3][4] ซึ่งอาจจะมาจากคำว่า khooloi ในภาษามองโกเลียซึ่งแปลว่าคอเช่นกัน และมาจากรากโปรโตมองโกเลีย *koɣul-aj[5]

Thumb
วงอาลัช ซึ่งเป็นวงร้องเพลงด้วยลำคอจากสาธารณรัฐตูวา

เข้าใจว่าความนิยมในการขับร้องด้วยลำคอในตูวามาจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่และวัฒนธรรม ภูมิทัศน์กว้างเรียบของตูวาทำให้เสียงสามารถเดินทางไปได้ไกลกว่า ส่วนงานชาติพันธุ์วรรณาทางดนตรีพบว่า khoomei เป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณนิยมที่ยังคงปฏิบัติสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน บ่อยครั้งที่นักร้องจะเดินทางออกไปยังพื้นที่ห่างไกล หาแม่น้ำที่ใช้ หรือเดินขึ้นไปตามทุ่งหญ้าเสต็ปในภูเขา เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการขับร้องด้วยลำคอ[6]

การขับร้องด้วยลำคอแบบตูวามีอยู่หลายวิธี วิธีที่เป็นที่นิยมและรู้จักมากที่สุดคือ khoomei (ฆูมีย์) ซึ่งให้ความรู้สึกเหมือนเสียงของลมที่พัดผ่านตามหิน,[7] นอกจากนี้ยังมีวิธีการขับร้องแบบ sygyt และ kargyraa เป็นต้น

อ้างอิง

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.