Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กะโหลกบางตายช้า กะโหลกหนาตายก่อน ภาพยนตร์ไทย กำกับโดย มานพ อุดมเดช ฉายในปี พ.ศ. 2534 โดย บริษัท ที เค อาร์ กรุ๊ป ความยาว 118 นาที นำแสดงโดย สุรศักดิ์ วงษ์ไทย, อังคณา ทิมดี, ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย, มานพ อัศวเทพ เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่เป็นภาพยนตร์ในแนวฟิล์มนัวร์ (Film Noir) โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรื่อง The Postman Always Rings Twice
กะโหลกบางตายช้า กะโหลกหนาตายก่อน | |
---|---|
กำกับ | มานพ อุดมเดช |
เขียนบท | มานพ อุดมเดช |
อำนวยการสร้าง | ธวัทชัย โรจนะโชติกุล (บริษัท ที เค อาร์ กรุ๊ป)[1] |
นักแสดงนำ | สุรศักดิ์ วงษ์ไทย อังคณา ทิมดี ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย มานพ อัศวเทพ |
กำกับภาพ | สุทัศน์ อินทรานุปกรณ์ |
ตัดต่อ | สุรพงษ์ พินิจค้า |
ดนตรีประกอบ | จำรัส เศวตาภรณ์ |
ผู้จัดจำหน่าย | เครือเอเพ็กซ์ |
วันฉาย | พ.ศ. 2534 |
ความยาว | 118 นาที |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย |
เรื่องราวเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 โดย สลัก (สุรศักดิ์) กับ ตวง (ขจรศักดิ์) ซึ่งเป็นเพื่อนกันได้ทำงานที่บริษัทเซฟ และทั้งคู่ก็ได้ร่วมกันงัดตู้เซฟของบริษัท แต่ถูกจับได้และติดคุก ต่อมาสลักหลบหนีออกมาได้ และถูกตำรวจตามล่า จึงหนีไปกบดานอยู่ที่ อำเภอเบตง โดยทำงานอยู่ในปั๊มน้ำมันห่างไกลแห่งหนึ่งที่มีบุญเพ็ง (มานพ) เป็นเจ้าของปั๊ม บุญเพ็งเป็นคนจิตใจดีมีธรรมะธรรมโม แต่บุญเพ็งมีภรรยาแสนสวยอายุคราวลูกชื่อ ชนาง (อังคณา) สลักโกหกว่าตนชื่อ จรัล แต่จรัลทำงานได้เป็นอย่างดีจนเป็นที่วางใจของบุญเพ็ง ทุกวันบุญเพ็งจะเก็บเงินไว้ในเซฟประจำ โดยที่ชนางไม่สามารถเปิดได้และไม่รู้ว่ามีอะไรอยู่ข้างใน แต่เชื่อว่าต้องมีเงินจำนวนมากอยู่ในนั้น เมื่อชนางรู้ว่าแท้ที่จริงแล้วจรัลเป็นนักโทษที่หนีจากคดีงัดตู้เซฟชื่อ สลัก จึงเสนอให้สลักเปิดเซฟ และจะแบ่งเงินส่วนหนึ่งให้ แต่สลักปฏิเสธตลอดมา
ต่อมา ชนางได้ฆ่าบุญเพ็งตาย โดยที่สลักรู้เห็นด้วย ทั้งคู่ปิดปากเรื่องนี้เงียบและฝังศพของบุญเพ็งไว้ที่ปั๊ม จากนั้นก็พยายามจะเปิดเซฟ แต่ก็ไม่สามารถเปิดได้ วันหนึ่ง ตวงก็ได้ออกจากคุกมาและได้พบกับสลักและชนางที่ปั๊ม ตวงได้เข้าทำงานที่ปั๊มด้วย โดยที่ไม่รู้เรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมด แต่ท้ายที่สุดความลับก็ไม่อาจจะปิดมิดได้ ก่อนที่ทั้งสามคนจะหักหลังและฆ่ากันเองในที่สุด
"กะโหลกบางตายช้า กะโหลกหนาตายก่อน" มีชื่อภาษาอังกฤษว่า "The Dumb Die Fast, The Smart Die Slow" เมื่อออกฉายทำรายได้ไม่มากนัก แม้จะมีเสียงวิจารณ์ในแง่ดี แต่ก็มีหลายเสียงที่วิจารณ์ในแง่ลบด้วยเช่นกัน อาจเป็นเพราะในยุคนั้นผู้คนยังไม่คุ้นชินกับภาพยนตร์ในแนวนี้ก็เป็นได้[2]
ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ถูกผลิตออกจำหน่ายเป็นวีซีดี โดยบริษัท โรส วิดีโอ ในปี พ.ศ. 2544
รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ประจำปี พ.ศ. 2534
รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ประจำปี พ.ศ. 2534
รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ประจำปี พ.ศ. 2534
ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าประกวดในงานประกวดภาพยนตร์เอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 36 พ.ศ. 2534 ที่กรุงไทเป ไต้หวัน ได้รับรางวัลพิเศษ ภาพยนตร์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ (Special Award for Stylistic Integrity) [4]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.