Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โปเกมอน รูบี้ และ แซฟไฟร์ (อังกฤษ: Pokémon Ruby Version and Sapphire Version) หรือ พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ รูบี้ และ แซฟไฟร์ (ญี่ปุ่น: ポケットモンスター ルビー・サファイア; โรมาจิ: Poketto Monsutā Rubī Safaia) เป็นวิดีโอเกมลำดับที่สามของ โปเกมอน พัฒนาโดยบริษัทเกมฟรีก จำหน่ายโดยบริษัท โปเกมอน จำกัดและนินเท็นโด ถูกผลิตสำหรับเครื่องเล่นเกมบอยอัดวานซ์ เกมออกวางจำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 และได้วางขายในต่างประเทศเมื่อปี ค.ศ. 2003 โดยแบ่งเป็น 2 เวอร์ชันประกอบไปด้วย พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ รูบี้ (ญี่ปุ่น: ポケットモンスター ルビー; โรมาจิ: Poketto Monsutā Rubī) และ พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ แซฟไฟร์ (ญี่ปุ่น: ポケットモンスター サファイア; โรมาจิ: Poketto Monsutā Safaia) ต่อมาได้เพิ่มเวอร์ชันอีกเวอร์ชันชื่อว่า พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ เอเมอรัลด์ (ญี่ปุ่น: ポケットモンスター エメラルド; โรมาจิ: Poketto Monsutā Emerarudo) ออกวางจำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2004
โปเกมอน รูบี้ โปเกมอน แซฟไฟร์ | |
---|---|
กล่องเกมโปเกมอนภาครูบี แสดงภาพโปเกมอนในตำนาน กราวดอน โปเกมอนภาคแซฟไฟร์ แสดงภาพโปเกมอนในตำนาน ไคโอกา | |
ผู้พัฒนา | เกมฟรีก |
ผู้จัดจำหน่าย | บริษัท โปเกมอน จำกัด นินเท็นโด |
กำกับ | จุนอิจิ มาสึดะ ซาโตชิ ทาจิริ |
อำนวยการผลิต | ฮิโรยูกิ จินไน ทาเกฮิโระ อิซูชิ ฮิโรอากิ ทสึรุ |
ศิลปิน | เค็น ซุงิโมริ |
เขียนบท | โทชิโนบุ มัตสึมิยะ อากิฮิโตะ โตมิซาวา |
แต่งเพลง | โก อิจิโนเซะ โมริคาชุ อาโอกิ จุนอิจิ มาสึดะ |
ชุด | โปเกมอน |
เครื่องเล่น | เกมบอยอัดวานซ์ |
วางจำหน่าย | |
แนว | วิดีโอเกมสวมบทบาท |
รูปแบบ | เล่นคนเดียว, เล่นหลายคน |
ต่อมาได้ถูกนำมาทำใหม่สำหรับเครื่องนินเท็นโด 3ดีเอส ในชื่อ โปเกมอน โอเมการูบี้ และ แอลฟาแซฟไฟร์
โปเกมอน รูบี้ และ แซฟไฟร์ เป็นเกมโปเกมอนชุดใหม่ของซีรีส์เกมโปเกมอน ชุดที่ 3 โดยหน้าปกของเกมประจำเวอร์ชันนี้คือ กราด้อน (รูบี้) และ ไคโอก้า (แซฟไฟร์) โดยตัวเกมได้เข้าสู่รุ่นของเกมบอยอัดวานซ์ (GBA) หลังจากที่ผลิตจากเกมบอยคัลเลอร์เป็นเวลายาวนาน ทำให้เกมนี้ได้ปรับประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องเล่นเก่าคุณภาพกราฟิกต่างๆ ของเกมให้ทันสมัยยิ่งขึ้น รวมทั้งเพิ่มระบบการเล่นใหม่ในรูปแบบการแข่งซึ่งนั่นก็คือแท็กแบทเทิล รวมทั้งความสามารถพิเศษของโปเกมอนและเพิ่มส่วนนิสัย
ในส่วนผู้กำกับเกมได้ จุนอิจิ มัตสึดะ มารับหน้าที่เป็นผู้กำกับเกมนี้ หลังจากที่ ซาโตชิ ทาจิริ ได้กำกับเกมซีรีส์โปเกมอนตั้งแต่ โปเกมอน เรด, กรีน, บลู, พิคาชู, โปเกมอน โกลด์ และ ซิลเวอร์ จนกระทั่งได้ลาออกจากการส่วนกำกับในช่วงที่ระหว่างพัฒนาเกมคริสตัลเวอร์ชันอยู่ จึงทำให้ จุนอิจิ มัตสึดะ เข้ามาดูแลงานกำกับเกมนี้เป็นต้นมา
ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง รูบี้ และ แซฟไฟร์ คือการปรากฏของโปเกมอนเฉพาะของเวอร์ชันที่มี, ประเภทของโปเกมอนที่ปรากฏ, ข้อความรายละเอียดจากสมุดภาพโปเกมอน และ กลุ่มศัตรูที่แตกต่างกัน โดยรายละเอียดฉากของเกมบทสนทนาของตัวละครจะแตกต่างกันไปในแต่ละเวอร์ชัน
ในส่วนของโปเกมอนได้เพิ่มโปเกมอนตัวใหม่ถึง 135 ชนิดด้วยกันและรวมจากโปเกมอนจำนวน 251 ชนิดที่ปรากฏก่อนหน้านี้ รวมกันเป็น 386 ชนิด ซึ่งได้ถูกเก็บข้อมูลในข้อมูลเกมที่ลง GBA มาแล้ว 5 เกม ในส่วนของตัวเกมมีให้จับเพียง 200 ชนิด ซึ่งจำนวน 200 ชนิดที่ให้จับนั้นมีข้อมูลจากสมุดภาพภูมิภาคเฉพาะโดยเรียกว่า สมุดภาพโฮเอ็น (ホウエン図鑑, Hoenn Dex) (ยกเว้น จิราชิ, เดอ็อกซิส ที่เป็นโปเกมอนมายาซึ่งได้จากแคมเปญต่างๆ) ในส่วนโปเกมอนที่ไม่ได้ถูกบันทึกข้อมูลในสมุดภาพโฮเอ็นนั้น ในช่วงแรกที่วางจำหน่ายเกมยังไม่ได้มีการบอกว่าตามหาที่ไหน จนกระทั่งในอีก 1 ปีถัดมา ได้มีเกม โปเกมอน โคลอสเซียม ที่วางนำหน่ายเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 ผลิตสำหรับเกมคิวบ์ และ โปเกมอน ไฟร์เรด และ ลีฟกรีน วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 2004 รวมทั้งเกมเวอร์ชันใหม่ พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ เอเมอรัลด์ ที่วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2004 ทำให้เกมดังกล่าวสามารถแลกเปลี่ยนหรือโอนข้อมูลมาได้จากโปเกมอน 185 ชนิดที่เหลือ ในส่วนการแลกเปลี่ยนให้กับโคลอสเซียม ทำให้ไม่แสดงผลและไม่สามารถยืนยันในข้อมูลสมุดภาพได้ แต่หากได้รับโปเกมอนอื่นที่ไม่ใช่สมุดภาพโฮเอ็นจะถูกยกยอดในรูปแบบ สมุดภาพประจำชาติ (全国図鑑, National Dex) แทน หากแลกเปลี่ยนโปเกมอนไปยังเกม ไฟร์เรด, ลีฟกรีน และ เอเมอรัลด์ ซึ่งทำให้สามารถลงทะเบียนข้อมูลสมุดภาพตั้งแต่หมายเลข 001 ถึงหมายเลข 386 ได้
ระบบใหม่ที่ถูกเพิ่มเติมจากเกมโดยเป็นการต่อสู้ที่ใช้โปเกมอนถึง 2 ตัวต่อสู้กัน
โปเกมอน เอเมอรัลด์ | |
---|---|
ผู้พัฒนา | เกมฟรีก |
ผู้จัดจำหน่าย | บริษัท โปเกมอน จำกัด นินเท็นโด |
กำกับ | ชิเงกิ โมริโมโตะ |
อำนวยการผลิต | ฮิโรยูกิ จินไน ฮิโตชิ ยามากามิ กาคุจิ โนโมโตะ ฮิโรอากิ ทสึรุ |
ศิลปิน | เค็น ซุงิโมริ |
เขียนบท | อากิฮิโตะ โตมิซาวา ฮิโตมิ ซาโต้ โทชิโนบุ มัตสึมิยะ |
แต่งเพลง | โก อิจิโนเซะ จุนอิจิ มาสึดะ โมริคาชุ อาโอกิ ฮิโตมิ ซาโต้ |
ชุด | โปเกมอน |
เครื่องเล่น | เกมบอยอัดวานซ์ |
วางจำหน่าย |
|
แนว | วิดีโอเกมสวมบทบาท |
รูปแบบ | เล่นคนเดียว, เล่นหลายคน |
โปเกมอน เอเมอรัลด์ (อังกฤษ: Pokémon Emerald Version) หรือ พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ เอเมอรัลด์ (ญี่ปุ่น: ポケットモンスター エメラルド; โรมาจิ: Poketto Monsutā Emerarudo) เป็นเวอร์ชัน ใหม่ที่ต่อยอกมาจากเวอร์ชัน รูบี้ และ แซฟไฟร์ และเป็นส่วนหนึ่งของรุ่นที่ 3 ของโปเกมอนซีรีส์ โดยหน้าปกเกมโปเกมอนที่ปรากฏตัวคือ เร็คคูซ่า โดยเวอร์ชัน เอเมอรัลด์ มีจุดที่เหมือนและแตกต่างกับ รูบี้ และ แซฟไฟร์ ประกอบไปด้วย การปรากฏของโปเกมอนที่แตกต่างกันกับเวอร์ชันก่อนหน้าและข้อความรายละเอียดของสมุดภาพ แต่มีการเพิ่มบางสถานการณ์และระบบ มีการเปลี่ยนแปลงเช่น การเปลี่ยนแปลงแผนที่และกราฟิกโปเกมอนบางส่วน, เสื้อผ้าของตัวละครหลักที่เปลี่ยนแปลง, การรองรับไวเลสอแด็ปเตอร์ และการเปลี่ยนแปลงฉากเปิดของเกม
ในส่วนแพ็กเกจสินค้าของเกม ได้แถมส่วนไวเลสอแด็ปเตอร์ เช่นเดียวกับ ไฟร์เรด และ ลีฟกรีน ที่วางขายในก่อนหน้านี้ แต่ว่าล็อตที่ผลิตตั้งแต่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 ไม่มีแถมส่วนนี้
การตอบรับ | ||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
รูบี้ และ แซฟไฟร์ ได้รับการตอบรับส่วนใหญ่ในด้านดี แม้ว่านักวิจารณ์จะถูกแบ่งกันประเมินเกมกันคนละส่วน โดยเฉพาะการเล่นและกราฟิก ข้อตำหนิส่วนใหญ่คือการเล่นที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากภาคก่อนหน้ามากนัก ความนิยมของเกมโปเกมอนเริ่มลดลงในขณะนั้น และยอดขายของเกมทำได้น้อยกว่าเจนเนอเรชันเก่า อย่างไรก็ตาม เกมยังคงประสบความสำเร็จ ตามข้อมูลของไอจีเอ็น เกมทำยอดขายได้ 16 ล้านหน่วย ถือเป็นเกมที่ขายดีที่สุดบนเครื่องเล่นเกมบอยแอดวานซ์
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.