แนวหน้า เป็นเว็บไซต์ข่าวหนังสือพิมพ์รายวัน เสนอข่าวทั่วไป ของ บริษัท หนังสือพิมพ์แนวหน้า จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2523 มีวารินทร์ และผาณิต พูนศิริวงศ์ เป็นผู้บริหาร โดยมีคอลัมนิสต์ประจำในเครือคือ สันติสุข มะโรงศรี (เจ้าของคอลัมน์ อ่านบรรทัด), สุทิน วรรณบวร (เจ้าของคอลัมน์ ทวนกระแสข่าว), เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง (เจ้าของคอลัมน์ ขอคิดด้วยคน), รุ่งเรือง ปรีชากุล (เจ้าของคอลัมน์ คิด เขียน คุย) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีคอลัมนิสต์รับเชิญ เช่น แพทย์หญิง เจรียง จันทร์กมล สุพัตรา สุภาพ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิทยา นาควัชระ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
มั่นคง ตรงไป ตรงมา | |
ประเภท | หนังสือพิมพ์รายวัน หนังสือพิมพ์ออนไลน์ |
---|---|
รูปแบบ | หนังสือพิมพ์ผู้นำ (Elite Newspaper) |
เจ้าของ | บริษัท หนังสือพิมพ์แนวหน้า จำกัด |
ก่อตั้งเมื่อ | 22 มีนาคม พ.ศ. 2523 |
นโยบายทางการเมือง | ขวาจัด |
ภาษา | ไทย |
สำนักงานใหญ่ | ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
แนวหน้าออนไลน์
นอกจากนั้น หนังสือพิมพ์แนวหน้ายังมีสื่อทางแพลตฟอร์มออนไลน์ ใช้ชื่อว่า แนวหน้าออนไลน์ โดยมีผู้ประกาศข่าวชั้นนำของเมืองไทยมาจัดรายการข่าวผ่านทางแพลตฟอร์ม เฟซบุ๊ก, ยูทูบ และ ติ๊กต็อก เช่น อัญชะลี ไพรีรัก (ผู้อำนวยการฝ่ายข่าวทางออนไลน์), บุญยอด สุขถิ่นไทย, วิทเยนทร์ มุตตามระ, กฤษณพงศ์ เกียรติศักดิ์, จิตกร บุษบา, นฤมล พุกยม, กิตติมา ธารารัตนกุล, เสริมสุข กษิติประดิษฐ์, บุญระดม จิตรดอน และปรเมษฐ์ ภู่โต
โดยในปี พ.ศ. 2566 หนังสือพิมพ์แนวหน้าร่วมกับ อัญชะลี ไพรีรัก และบุญยอด สุขถิ่นไทย จัดทำสตรีมมิ่งออนไลน์เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ซึ่งได้จัดทำรายการออนไลน์คล้ายกับจัดรายการทางโทรทัศน์ เช่น แนวหน้า Talk และ แนวหน้าข่าวเย็น จากนั้น ได้มีการปรับผังรายการใหม่ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และมีการเชิญผู้ประกาศข่าวจากสถานีโทรทัศน์ที่มีแนวคิดขวาจัด มาดำเนินรายการร่วมกัน ซึ่งทำให้เกิดรายการใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย อาทิ อาจารย์กบผู้กล้า มาก่อนเที่ยง, แนวหน้าข่าวเที่ยง, อาจารย์ปูชูรส, แนวหน้าข่าวค่ำ, สีสันการเมืองแบบเด้งๆ, เป๊ปซี่ ดีไหมล่ะ และ แนวหน้า FrontLine เป็นต้น
และตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 (ภายในระยะเวลา 1 ปี) ช่องยูทูบ มีผู้ติดตาม 300,000 ฟอลโลเวอร์ขึ้นไป และมียอดการรับชม 134,628,923 ครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ประเภทข่าวที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง และยังมีผู้ชมเข้ามากดติดตามอยู่เป็นระยะ
รางวัล
รางวัลข่าวยอดเยี่ยม มูลนิธิอิศรา อมันตกุล หรือ รางวัล “พูลิตเซอร์” เมืองไทย ประจำปี 2529 จากข่าว การนำเข้าไม้ซุงเถื่อนจากพม่า จนนำไปสู่การลาออกจาก ตำแหน่งรัฐมนตรีของ นายรัตน์ โอสถานุเคราะห์
ต่อมาหนังสือพิมพ์แนวหน้าก็ได้รับรางวัลนั้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อ “มูลนิธิอิศรา อมันตกุล” ประกาศตัดสินให้ “แนวหน้า” ได้รับรางวัลข่าวยอดเยี่ยมประจำ ปี 2531 ด้วยข่าว “ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์”[1]โดยมีการติดตามข้อเท็จจริงอย่างเข้มข้น จนนำไปสู่การเรียกร้องอย่างกว้างขวาง กระทั่งสหรัฐอเมริกายอมคืนโบราณวัตถุล้ำค่าชิ้นนี้กลับคืนมา
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.