Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แต่ปางก่อน เป็นนวนิยายไทยแนวย้อนยุค ที่สร้างจากบทประพันธ์ของ แก้วเก้า (นามปากกาของ คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์) มีการสร้างเป็นละครโทรทัศน์มาแล้วถึงสองครั้ง คือ ในปี พ.ศ. 2530 และ พ.ศ. 2548 โดยออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ส่วนในปี พ.ศ. 2560 ได้มีการนำมาสร้างใหม่อีกครั้ง โดยออกอากาศทาง ช่องวัน 31 และมีเพลงนำละครที่แต่งโดย วิรัช อยู่ถาวร จนกลายเป็นเพลงฮิตตลอดกาล
แต่ปางก่อน | |
---|---|
ภาพประกอบละคร พ.ศ. 2560 | |
แนว | ดราม่า, พีเรียด |
บทประพันธ์ | แก้วเก้า |
บทละครโทรทัศน์ | พ.ศ. 2530 วรยุทธ พิชัยศรทัต พ.ศ. 2548 ยิ่งยศ ปัญญา ไขนภา เจียรบุตร พ.ศ. 2560 ภิรมยา |
กำกับโดย | พ.ศ. 2530 อดุลย์ ดุลยรัตน์ พ.ศ. 2548 ชนะ คราประยูร พ.ศ. 2560 สันต์ ศรีแก้วหล่อ |
นักแสดง | พ.ศ. 2530 ฉัตรชัย เปล่งพานิช จริยา แอนโฟเน่ ดวงตา ตุงคะมณี นพพล โกมารชุน อุทุมพร ศิลาพันธ์ ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ อรสา พรหมประทาน อัญชลี ไชยศิริ พ.ศ. 2548 ศรราม เทพพิทักษ์ แอน ทองประสม สกาวใจ พูนสวัสดิ์ ชาตโยดม หิรัณยัษฐิติ ศิกานต์ เจริญพาณิชย์ รัชนก แสงชูโต พ.ศ. 2560 ยุกต์ ส่งไพศาล วรรณรท สนธิไชย น้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์ ยุทธนา เปื้องกลาง ลัลณ์ลลิน เตจะสา เวศซ์ หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ประเทศไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ภาษาไทย |
จำนวนตอน | พ.ศ. 2530 15 ตอน พ.ศ. 2548 16 ตอน พ.ศ. 2560 21 ตอน |
การผลิต | |
ควบคุมงานสร้าง | พ.ศ. 2530 มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช พ.ศ. 2548 มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช พ.ศ. 2560 ถกลเกียรติ วีรวรรณ นิพนธ์ ผิวเณร |
ความยาวตอน | พ.ศ. 2530 60 นาที พ.ศ. 2548 105 นาที พ.ศ. 2560 80 นาที |
บริษัทผู้ผลิต | พ.ศ. 2530 และ พ.ศ. 2548 เมคเกอร์ กรุ๊ป พ.ศ. 2560 บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด |
ออกอากาศ | |
สถานีโทรทัศน์ | สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 |
ออกอากาศ | 6 มกราคม 2530 – 12 กุมภาพันธ์ 2530 |
ออกอากาศ | 10 พฤษภาคม 2548 – 5 กรกฎาคม 2548 |
สถานีโทรทัศน์ | ช่องวัน 31 วีทีวี |
ออกอากาศ | 15 มีนาคม 2560 – 24 พฤษภาคม 2560 |
หม่อมเจ้ารังสิธร หรือท่านชายใหญ่ พระโอรสองค์เดียวของเสด็จในกรมฯ ในรัชสมัย ร.6 ได้พบรักกับ เจ้านางม่านแก้ว ที่ได้เข้ามาฝากเนื้อฝากตัวที่วังของเสด็จพ่อ เพื่อศึกษาเล่าเรียน หม่อมพเยีย มารดาของท่านชายใหญ่คัดค้านเต็มที่ เนื่องด้วยริษยาที่ม่านแก้วเป็นคนโปรดของเสด็จฯ และมีความสามารถทางภาษาหลายด้าน และที่สำคัญได้หมายมาดให้ท่านชายใหญ่ได้สมรสกับ หม่อมเจ้าหญิงวิไลเรขา ซึ่งมีศักดิ์เป็นญาติผู้น้อง แต่ท่านชายใหญ่ก็ยังยืนยันที่จะแต่งงานกับเจ้านางม่านแก้ว ในคืนวันส่งตัวเข้าหอ เจ้านางม่านแก้วถูกลอบวางยาพิษอย่างโหดเหี้ยมจนเสียชีวิต สร้างความเสียใจให้แก่ท่านชายใหญ่เป็นอย่างยิ่ง และด้วยความรักที่มีต่อเธอ ท่านชายใหญ่ไม่ยอมที่จะมีรักกับใครอีกแม้กระทั่งหม่อมเจ้าหญิงวิไลเรขาก็ตาม
กาลเวลาผ่านไปเจ้านางม่านแก้วได้ไปเกิดใหม่ และได้กลับมาที่วังแห่งนี้อีกครั้งซึ่งในปัจจุบันเป็นโรงเรียนสตรีชื่อว่า "โรงเรียนกุลนารีวิทยา" และได้กลายเป็นสมบัติของ หม่อมราชวงศ์จิรายุส หลานชายคนเดียวของหม่อมเจ้าหญิงวิไลเรขาซึ่งมีสิทธิในสมบัติทั้งหมดหลังจากที่ท่านชายใหญ่สิ้นพระชนม์ ในชาติภพใหม่นี้เธอชื่อ ราชาวดี เธอได้เข้าทำหน้าที่เป็นครูสอนภาษา ราชาวดีรู้สึกผูกพันกับสถานที่นี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรือนฝรั่งด้านหลังและเพลงลาวม่านแก้ว ที่เป็นเพลงต้องห้ามของที่นี่เป็นอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นเพลงที่ท่านชายใหญ่นั้นได้แต่งขึ้นเพื่อมอบให้แก่เจ้านางม่านแก้ว หญิงเดียวที่เขารัก ณ ที่แห่งนี้เธอได้พบกับท่านชายใหญ่ที่คอยวนเวียนรอคอยเธออยู่ตลอดเวลา แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าราชาวดีนั้นลืมเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นในอดีตจนหมดสิ้น ราชาวดีสนใจเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตอย่างมากและหาโอกาสมาฟังท่านชายใหญ่เล่าเรื่องราวให้ฟังอยู่เสมอ โดยที่เธอไม่ได้เกรงกลัวเขาเลยแม้แต่น้อย
จนวันหนึ่งเธอได้พบรูปของเจ้านางม่านแก้วซึ่งมีใบหน้าละม้ายคล้ายเธอประหนึ่งเป็นพิมพ์เดียวกัน ทำให้เธอได้ทราบว่า เจ้านางม่านแก้วกับเธอจะต้องมีความเกี่ยวพันกันอย่างแน่นอน และเธอเองก็รู้สึกผูกพันกับท่านชายใหญ่โดยไม่รู้ตัว คุณชายจิรายุสหลงรักราชาวดี ถึงแม้ว่าเขาจะมี หม่อมราชวงศ์หญิงสวรรยา เป็นคู่หมั้นอยู่แล้ว จนเขาตัดสินใจที่จะถอนหมั้นกับคุณหญิงสวรรยา ซึ่งทำให้ท่านหญิงวิไลเรขา ซึ่งมีศักดิ์เป็นป้าและมีชีวิตอยู่อย่างเดียวดายอยู่ที่วังสาทรหลังจากเกิดเหตุโศกนาฏกรรมครั้งนั้น ท่านหญิงวิไลเรขาได้พบราชาวดี ซึ่งทันทีที่ได้เห็นเธอก็ปักใจทันทีว่านี่คือ เจ้านางม่านแก้วที่กลับชาติมาเกิดเพื่อทำลายเธอ และเธอเองก็ไม่อยากให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ท่านหญิงจึงวางแผนให้อาจารย์ใหญ่พาราชาวดีมาถวายการรับใช้ ซึ่งการที่ราชาวดีมาอยู่ที่นี่เธอได้พบว่าท่านหญิงวิไลนั้นเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญเรื่องพิษ
วันหนึ่งเธอได้พบว่าท่านชายใหญ่มาหาเธอที่วังของหม่อมเจ้าหญิงวิไลเรขา เธอจึงสอบถามและได้ทราบว่าคนที่วางยาพิษม่านแก้วก็คือหม่อมเจ้าหญิงวิไลเรขานั่นเอง โดยร่วมมือกับหม่อมพเยียมารดาของท่านชายใหญ่ในการลงมือ และความพยาบาทจากครั้งนั้นก็ยังไม่สิ้นสุด เมื่อหม่อมเจ้าหญิงวิไลเรขาพยายามที่จะวางยาราชาวดีอีกครั้ง แต่ในครั้งนี้คุณชายจิรายุสมาช่วยเหลือได้ทัน หลังจากที่หม่อมเจ้าหญิงวิไลเรขาสิ้นใจไปพร้อมกับความพยาบาท คุณชายจิรายุสก็ได้ขอราชาวดีแต่งงานอีกครั้ง แต่เป็นเพราะความรัก ความจริงใจและความผูกพันของท่านชายใหญ่ที่มีต่อเธอ เธอจึงปฏิเสธและตัดสินใจละทางโลกไปปฏิบัติธรรมเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับท่านชายใหญ่ สร้างความผิดหวังให้กับคุณชายจิรายุสเป็นอย่างยิ่ง จนเวลาผ่านไปอีกไม่นานเธอก็เสียชีวิต
ในที่สุดดวงชะตาของคนสองคนที่ได้พลัดพรากจากกันมานานแสนนานก็ได้กลับมาพบกัน ท่านชายใหญ่ได้กลับมาเกิดเป็นลูกชายคนเดียวของคุณชายจิรายุสกับคุณหญิงสวรรยาชื่อว่า หม่อมหลวงจิราคม ส่วนราชาวดีได้กลับมาเกิดเป็นลูกสาวของคุณถวิลเพื่อนรักของราชาวดีชื่อว่า อันตรา และมีใบหน้าละม้ายกับราชาวดีเป็นอย่างยิ่ง ทั้งสองสนิทสนมกันอย่างรวดเร็วจนคุณชายจิรายุสแปลกใจ แต่เมื่อคุณถวิลได้นำจดหมายของราชาวดีที่เขียนถึงเธอก่อนตาย และได้เล่าเรื่องราวทั้งหมดของเธอ ทำให้คุณชายจิรายุสเข้าใจและรู้ว่าที่ราชาวดีไม่รับรักเขาเป็นเพราะอะไร ทั้งจิราคมและอันตราผูกพันกันอย่างรวดเร็วเนื่องด้วยเพลงลาวม่านแก้วที่ทั้งคู่ชื่นชอบเป็นพิเศษจนทำให้ความสัมพันธ์พัฒนาอย่างรวดเร็วทั้ง 2 แต่งงานกันแต่ระหว่างนั้นดวงพระวิญญาณของท่านหญิงวิไลเลขา ผู้มีพระทัยอาฆาตไม่ยอมไปเกิด ก็ได้มาเล่นงานทั้งคู่ แต่แล้วคุณชายจิรายุสผู้เป็นดั่งแก้วตาดวงใจของท่านหญิงวิไลเลขาก็พูดจนท่านหญิงวิไลเลขาละความพยาบาทและไปเกิดได้ ในที่สุด การรอคอยและความรักของคนทั้งคู่ที่รอคอยการพบกันมานานแสนนานก็ได้กลับมาพบกันและสุขสมหวังอีกครั้ง
ปี | พ.ศ. 2530 | พ.ศ. 2548 | พ.ศ. 2560 |
---|---|---|---|
สถานีออกอากาศ | ช่อง 3 | ช่องวัน 31 | |
ผู้จัดสร้าง | มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช | ถกลเกียรติ วีรวรรณ นิพนธ์ ผิวเณร | |
ผู้ผลิต | เมคเกอร์ กรุ๊ป | เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ | |
บทโทรทัศน์ | วรยุทธ พิชัยศรทัต | ยิ่งยศ ปัญญา ไขนภา เจียรบุตร | ภิรมยา |
ผู้กำกับการแสดง | อดุลย์ ดุลยรัตน์ | ชนะ คราประยูร | สันต์ ศรีแก้วหล่อ |
หม่อมเจ้ารังสิธร สาธร (ท่านชายใหญ่) / หม่อมหลวงจิราคม สาธร (คุณจี) | ฉัตรชัย เปล่งพานิช | ศรราม เทพพิทักษ์ | ยุกต์ ส่งไพศาล |
เจ้านางม่านแก้ว / ราชาวดี ปชาธร (ฟ้า) / อันตรา โพสพาณิชย์ (แอน) | จริยา แอนโฟเน่ | แอน ทองประสม | วรรณรท สนธิไชย |
หม่อมราชวงศ์จิรายุส สาธร (คุณชายยุส) | นพพล โกมารชุน | ชาตโยดม หิรัณยัษฐิติ | ยุทธนา เปื้องกลาง |
หม่อมราชวงศ์สวรรยา สาธร (คุณหญิงหวัน) | อุทุมพร ศิลาพันธ์ | เมย์ เฟื่องอารมย์ | ลัลณ์ลลิน เตจะสา เวศซ์ |
หม่อมเจ้าวิไลเลขา สาธร (ท่านหญิงแต้) | ดวงตา ตุงคะมณี | สกาวใจ พูนสวัสดิ์ | น้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์ |
หม่อมพเยีย | จารุวรรณ ปัญโญภาส | ธัญญา โสภณ | จารุณี สุขสวัสดิ์ |
เสด็จในกรมฯ / เสด็จวังบางขุนพรหม (2560) | อดุลย์ ดุลยรัตน์ | เกรียงไกร อุณหะนันทน์ | |
เจ้าจอมมารดาแส | พิศมัย วิไลศักดิ์ | ดวงตา ตุงคะมณี | |
จางวางจัน | บุญส่ง ดวงดารา | สุเชาว์ พงษ์วิไล | ทนงศักดิ์ ศุภการ |
หม่อมเจ้าวงศธร (ท่านชายตั้ว) | ต่อตระกูล จันทิมา | ชลวิทย์ มีทองคำ | |
สุดถวิล วาดภรีย์ / ถวิล กุลมาธร | ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา | รัชนก แสงชูโต | หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช |
อาจารย์กาบทอง | พิมพ์แข กุญชร ณ อยุธยา | นัฏฐา ลอยด์ | อริศรา วงษ์ชาลี |
หม่อมพรรณราย | อรสา พรหมประทาน | สุพรรษา เนื่องภิรมย์ | มยุริญ ผ่องผุดพันธุ์ |
อภัย วาดภรีย์ | จีระศักดิ์ ปิ่นสุวรรณ | รอน บรรจงสร้าง | วาโย อัศวรุ่งเรือง |
ไกรสี | สมมาตร ไพรหิรัญ | สุรพันธ์ ชาวปากน้ำ | รัชพงศ์ ทิวะธนเศรษฐ์ |
ครูทับ | จุรี โอศิริ | พิมพ์แข กุญชร ณ อยุธยา | |
สุดใจ | อัญชลี ไชยศิริ | ||
ไชยยศ | ชิตณรงค์ วิเศษสมภาคย์ | ||
นางอาบ | มยุรี อิศรเสนา ณ อยุธยา | ||
นางอิ่ม | โมฬีวรรณ พันธรักษ์ | ||
อุ่นเรือน | ณัฐนี สิทธิสมาน | จิรัชฌา นาคสวัสดิ์ | สิริยา นฤนาท |
คำหอม | สุกัญญา นาคสนธิ์ | อัญชฎา อิศริวรรณ | สุชาดา พูนพัฒนสุข |
เดวิด | คริสโตเฟอร์ เชฟ | ||
คริสโตเฟอร์ เบญจกุล | |||
นักแสดงรับเชิญ | |||
หม่อมเจ้าสิทธิชัย (ท่านชายกั้ง) | สุเชาว์ พงษ์วิไล | อภิชาติ หาลำเจียก | พลวัฒน์ มนูประเสริฐ |
หม่อมสุภา | พิราวรรณ ประสพศาสตร์ | อาภาพร กรทิพย์ | ขวัญฤดี กลมกล่อม |
เสด็จวังสาธร | สมภพ เบญจาธิกุล | ศตวรรษ ดุลยวิจิตร | |
ศจี | อนิส สุวิทย์ | ||
คุณหญิงเสาวภา | นันท์ชนก ประชากิจกุล | ||
บุญเรือง ปชาธร (พ่อของราชาวดี) | อำนวย ศิริจันทร์ | สมมาตร ไพรหิรัญ | สิรคุปต์ เมทะนี |
เจ้าอินปัน (พ่อของเจ้านางม่านแก้ว) | สมควร กระจ่างศาสตร์ | วรวุฒิ พงษ์ธีระพล | วันชัย เผ่าวิบูลย์ |
จิตรกร สุนทรปักษิณ | |||
เทวัญ | พงศ์กฤษฏิ์ ศิริเบ็ญจา | ||
ตวงทิพย์ ณ นคร | |||
จุก (2548) / วดี (ตอนเด็ก) (2560) | ด.ญ.บัณฑิตา ศรีนวลนัด | ด.ญ.กรณิศ เล้าสุบินประเสริฐ | |
กาบทอง (วัยเด็ก) | ด.ญ.ทิพย์รดา ไมเออร์ | ||
นายแพทย์ | กฤตภาส จันทนะโพธิ | ||
ลินจง | |||
หม่อมหลวงจิราคม สาธร (คุณจี) (วัยเด็ก) | ด.ช.ธิติวัฒน์ ลิ้มพิมพ์เพราะ |
ปี พ.ศ. 2530 ละครเรื่อง แต่ปางก่อน ซึ่งสร้างเป็นครั้งแรกโดย มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช ได้รับการกล่าวขวัญจากผู้ชมทั้งในแง่เนื้อหาและเทคนิค จนได้รับรางวัลเมขลา จำนวน 3 รางวัล คือ ผู้แสดงประกอบดีเด่นฝ่ายหญิง (ดวงตา ตุงคะมณี), ผู้กำกับรายการละครดีเด่น (อรุโณชา ภาณุพันธุ์) และ ผู้ประพันธ์เพลงนำละครดีเด่น (วิรัช อยู่ถาวร) [1] ซึ่งเพลงดังกล่าวได้รับความนิยมตั้งแต่ละครออกอากาศ จนมีการจัดทำเป็นอัลบั้มรวมเพลงฮิต และมีการขับร้องต่อโดยศิลปินนักร้องท่านอื่นๆ ตามงานอัลบั้มบันทึกเสียง งานคอนเสิร์ต งานฉลองต่างๆ แม้กระทั่งงานมงคลสมรส จึงกลายมาเป็นเพลงประกอบการแต่งงานยอดนิยมอีกเพลงหนึ่งด้วย [2]
ละครในปี พ.ศ. 2548 ได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ดาราสนับสนุนหญิงดีเด่น (สกาวใจ พูลสวัสดิ์) [3]
ละครในปี พ.ศ. 2560 เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้นำมาสร้างใหม่เพื่อออนแอร์ลงช่องวัน 31 เดิมทีมีแผนให้ ชนะ คราประยูร ซึ่งเคยกำกับเวอร์ชันที่แล้วมากำกับเวอร์ชันนี้ด้วย แต่ภายหลังได้เปลี่ยนผู้กำกับเป็นสันต์ ศรีแก้วหล่อ ที่เคยฝากผลงานละครฟอร์มดีของค่ายไว้มากมาย อาทิ ฟ้าเพียงดิน, เลือดขัตติยา, แก้วลืมคอน, รักหลอก ๆ อย่าบอกใคร, ลิขิตรัก ลิขิตเลือด, ละอองดาว, หัวใจศิลา, แก้วล้อมเพชร, ชิงชัง, ตราบาปสีขาว, เรือนแพ, ดอกโศก, คู่กรรม, แผนรัก แผนร้าย, อีสา-รวีช่วงโชติ, บัลลังก์เมฆ, พิษสวาท ฯลฯ
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.