Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แกรนด์เอ็กซ์ (อังกฤษ: GRAND EX) เป็นวงดนตรีแนวสตริงคอมโบที่มีชื่อเสียงและประวัติยาวนาน ก่อตั้งโดย นคร เวชสุภาพร ชักชวนเพื่อน ๆ ที่วิทยาลัยบพิตรพิมุข ตั้งวงดนตรีชื่อว่า “Extreme” ต่อมาประกวดวงสตริงคอมโบชิงแชมป์ประเทศไทยครั้งที่ 3 โดยใช้ชื่อแกรนด์เอ็กซ์
แกรนด์เอ็กซ์ | |
---|---|
ที่เกิด | กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
แนวเพลง | คันทรี่ป็อป, ลูกทุ่ง, ป็อปร็อก, ดิสโก้, สตริงคอมโบ, โฟล์ค |
ช่วงปี | พ.ศ. 2512 – 2533 พ.ศ. 2546 – 2562 |
ค่ายเพลง | เสกสรรเทป-แผ่นเสียง เมโทร อโซน่า ที.เอส.อี. กรุ๊ป นิธิทัศน์ โปรโมชั่น แกรนด์เอ็กซ์ แฟมิลี่ วอร์นเนอร์ มิวสิค ไทยแลนด์ |
สมาชิก |
|
อดีตสมาชิก | วราวุธ หิรัญวรรณ เบส กำธร คุณานุกูล กีตาร์คอร์ด สมมาตร ธูปจินดา ออร์แกน ดำรง ชื่นเจริญสุข โฆษก,ร้องนํา ณรงค์ เผือกห้าวหาญ ร้องนำ สมศักดิ์ อภิวัฒน์ธีรกุล ทรอมโบน, เรียบเรียงเสียงประสาน ชาย แสงชะอุ่ม แซ็กโซโฟน จำรัส เศวตาภรณ์ (จ๋าย) ร้องนำ,กีต้าร์ ไอศูรย์ วาทยานนท์ (โอ๋) กีต้าร์,ร้องนำ สุธี แสงเสรีชน (ไก่) ร้องนํา,กีต้าร์ อริชัย อรัญนารถ (เอ) เบส,แซ็กโซโฟน,ร้อง จอนนี่ แอนโฟเน่ กลอง,คีย์บอร์ด,ร้องประสาน,ร้อง พิทพล โชติสรยุทธ กลอง,คีย์บอร์ด เสน่ห์ ศุภรัตน์ (แดง) ทรัมเป็ต,ร้อง (เสียชีวิตแล้ว) จาคมัย ศรีวาลัย กลอง ประสิทธิ์ ไชยะโท (เบิ้ม) กลอง,ร้อง (เสียชีวิตแล้ว) |
เพราะความชื่นชอบเพลงใต้ดินของวงแกรนด์ฟังก์เรลโรด กับวงเดอะ จิมมี่ เฮนดริกซ์ เอ็กซ์พีเรียนซ์ จึงนำชื่อของทั้งสองวงมารวมกันเป็น GRAND EXPERIENCE แต่เนื่องจากออกเสียงยาก ประกอบกับในช่วงนั้นที่ประเทศญี่ปุ่นมีงานเอ็กซ์โป ซึ่งในโปสเตอร์เขียนว่า EX’ 70 ซึ่งย่อมาจาก “เอ็กซ์โป 1970” จึงได้นำมาใช้และทำให้ชื่อวงถูกทอนลงกลายเป็น EX’ แทน จึงเรียกว่า แกรนด์เอ็กซ์
วงแกรนด์เอ็กซ์ รวมตัวกันก่อตั้งใน พ.ศ. 2512 โดยกลุ่มนักเรียนชั้น ม.ศ. 5 วิทยาลัยบพิตรภิมุข นำโดย นคร เวชสุภาพร (ตำแหน่งกีตาร์โซโลและหัวหน้าวง) ร่วมด้วยเพื่อน ๆวิทยาลัยเดียวกัน คือ กำธร คุณานุกูล (กีตาร์คอร์ด) วราวุธ หิรัญวรรณ (เบส) ดำรง ชื่นเจริญสุข (โฆษกและนักร้องนำ) ณรงค์ เผือกห้าวหาญ (นักร้องนำ), ประสิทธิ์ ไชยะโท (กลอง) และ สมมาตร ธูปจินดา (ออร์แกน)
สมาชิกวงแกรนด์เอ็กซ์เข้าร่วมประกวดวงสตริงคอมโบชิงแชมป์ประเทศไทยใน พ.ศ. 2515 ประเภทนักเรียนนักศึกษา ซึ่งการประกวด 2 ครั้งก่อนหน้านั้น คือ พ.ศ. 2512, และ พ.ศ. 2513 ( พ.ศ. 2514 งดเพราะเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง) โดยวง “ดิอิมพอสซิเบิ้ล” คว้าแชมป์ไปครองทั้งสองครั้ง รวมถึงครั้งที่ 3 ใน พ.ศ. 2515 ด้วย
ผลการประกวดในประเภทนักเรียนนักศึกษานั้น วงมัมมี่ได้เป็นแชมป์ ส่วนแกรนด์เอ็กซ์ได้รางวัลรองชนะเลิศคู่กับรางวัลขวัญใจสื่อมวลชนมาครอง ด้วยแนวทางการแต่งตัวที่เข้าตาสื่อ คือแม้จะเล่นเพลงร็อคดุ ๆ แต่พวกเขาแต่งตัวสุภาพเรียบร้อย ใส่กางเกงขายาวสีดำ เสื้อเชิ้ตสีขาว ผูกเนคไท สวนทางกับวงอื่น ๆ
หลังการประกวด สมาชิกบางคนเรียนจบ โดยแต่ละคนแยกย้ายกันไปเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา แต่นคร เวชสุภาพร ยังคงหาสมาชิกวง โดยลงทุนถึงขนาดสละสิทธิ์ไม่เรียนในมหาวิทยาลัยที่เอ็นท์ติด แต่เลือกที่จะเรียนในมหาวิทยาลัยเปิดที่เพื่อน ๆ นักดนตรีส่วนใหญ่เรียนอยู่ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการซ้อมดนตรีและการทำวง
วงแกรนด์เอ็กซ์เริ่มเป็นที่รู้จักจากการเล่นตามคลับ ตามบาร์ และต่างจังหวัด โดยเล่นอยู่สักประมาณ 8 เดือน ก่อนที่เพื่อน ๆ บางคนในวงจะลาออกไป นคร เวชสุภาพรจึงได้ออกเดินทางหาสมาชิกคนใหม่ พร้อมกับปรับแนวทางของวงแกรนด์เอ็กซ์ใหม่เพื่อให้เป็นวงสตริงคอมโบอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยการเสริมทัพทีมเครื่องเป่า คือ ชาย แสงชะอุ่ม (แซ็กโซโฟน), เสน่ห์ ศุภรัตน์ (ทรัมเป็ด) และสมศักดิ์ อภิวัฒน์วีรกุล (ทรอมโบน) เข้ามาในราว พ.ศ. 2517 และการเข้ามาของนักร้องนำคนใหม่ คือ วสันต์ แต้สกุล (นามสกุลตอนนั้น)
พ.ศ. 2519 มือเบสในยุคก่อตั้งกับมือคีย์บอร์ดลาออกไป วสันต์จึงต้องหันไปเล่นคีย์บอร์ดอีกทาง ส่วนมือเบสได้แอ๊ด - ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ มาเป็นสมาชิกคนใหม่
ในปีเดียวกันนี้ แกรนด์เอ็กซ์ได้ จำรัส เศวตาภรณ์ มาเพิ่มในฐานะนักร้องนำและกีตาร์คอร์ด ก่อนออกซิงเกิ้ลแรก “คู่นก” ตามมาใน พ.ศ. 2520
หลังจากนั้นวงแกรนด์เอ็กซ์ก็ได้ออกผลงาน ทัวร์คอนเสิร์ต และรับสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ อีกหลายปี จนกระทั่งได้ประกาศยุบวงใน พ.ศ. 2562 โดยจัดคอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายในวันที่ 3 สิงหาคม ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี[1]
คู่นก (2519 ซิงเกิลเพลงไทยชุดแรก)
ลูกทุ่งดิสโก้ชุดที่ 1 (สิงหาคม 2521)
ลูกทุ่งดิสโก้ชุดที่ 2 (มีนาคม 2523)
เขิน (กรกฎาคม 2523)
ผู้หญิง (มีนาคม 2524)
‘’บันทึกการแสดงสดที่ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พฤศจิกายน 2523)
แกรนด์เอ็กซ์ โอ (ตุลาคม 2524) (วงเรนโบว์ได้นำอัลบั้มนี้มาร้องใหม่ใน พ.ศ. 2537)
บุพเพสันนิวาส (มีนาคม 2525)
นิจนิรันดร์ (กันยายน 2525)
พรหมลิขิต (ตุลาคม 2525)
เพชร (กันยายน 2526)
บริสุทธิ์ (เมษายน 2527)
ดวงเดือน (พฤศจิกายน 2527)
หัวใจสีชมพู (มีนาคม 2528)
สายใย (กรกฎาคม 2528)
ขวดโหล 1 (กุมภาพันธ์ 2529)
ขวดโหล 2 (2529)
นิรันดร์กาล (พฤษภาคม 2529)
อยากให้ความรัก (แก่คนทั้งโลก) (กุมภาพันธ์ 2530)
ได้ไหม (พฤศจิกายน 2531)
อัลบั้มชุดพิเศษบทเพลงพระราชนิพนธ์ (ดวงใจกับความรัก) (ธันวาคม 2530) อัลบั้มพิเศษเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530
บันทึกการแสดงสดที่แมนฮัตตันคลับ (กุมภาพันธ์ 2523)
บันทึกการแสดงสด หอประชุมจุฬา (มิถุนายน 2524)
Valentine Laser Concert (กุมภาพันธ์ 2526)
บันทึกการแสดงสดสังข์ทองคอนเสิร์ต (มิถุนายน 2527)
โดยยังมีสมาชิกอีก 4 คน นครเวช สุภาพร, ประสิทธิ์ ไชยะโท, โชคดี พักภู่ และ ดนุพล แก้วกาญจน์ ผลิตผลงานต่อไปภายใต้ชื่อใหม่ว่า “แกรนด์เอ็กซ์ แฟมิลี่”
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.