Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เพลงชาติสาธารณรัฐจีน (จีนตัวย่อ: 中华民国国歌; จีนตัวเต็ม: 中華民國國歌; พินอิน: Zhōnghuá Míngúo gúogē, จงหัวหมินกั๋วกั๋วเกอ) เป็นเพลงชาติของสาธารณรัฐจีนซึ่งตั้งมั่นอยู่บนเกาะไต้หวันในปัจจุบัน[1] เนื้อหากล่าวถึงวิสัยทัศน์และความหวังของรัฐชาติใหม่และประชาชนในรัฐนั้นจะเป็นจริงได้ด้วยการดำเนินตามหลักลัทธิไตรราษฎร์ หรือ หลัก 3 ประการ แห่งประชาชน
คำแปล: เพลงชาติสาธารณรัฐจีน | |
---|---|
中華民國國歌 (中华民国国歌) | |
ชื่ออื่น | ซานหมินจูอี้ (San Min Chu-i) |
เนื้อร้อง | จากสุนทรพจน์ของ ดร. ซุนยัดเซ็น, ค.ศ. 1924 (พ.ศ. 2467) |
ทำนอง | เฉิงเหมาหยุน, ค.ศ. 1928 (พ.ศ. 2471) |
รับไปใช้ | พ.ศ. 2473 |
ตัวอย่างเสียง | |
เพลงชาติสาธารณรัฐจีน (ทำนอง) |
เพลงนี้มักมีการเรียกชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า "ซานหมินจู่อี้" (จีนตัวย่อ: 三民主义; จีนตัวเต็ม: 三民主義; พินอิน: Sān Mín Zhǔyì; เวด-ไจลส์: San Min Chu-i) อันเป็นชื่อของหลักลัทธิไตรราษฎร์ที่ปรากฏในวรรคแรกของเพลง แต่ชื่อดังกล่าวนี้ไม่ได้มีการเรียกขานอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด
เนื้อความในเพลงชาติสาธารณรัฐจีนเป็นผลงานร่วมกันของสมาชิกพรรคก๊กมินตั๋ง 4 คน ซึ่งได้แก่
เนื้อความดังกล่าวได้เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1924 ในฐานะสุนทรพจน์พิธีเปิดโรงเรียนนายร้อยหวงผู่ของ ดร.ซุน ยัดเซ็น ผู้นำพรรคก๊กมินตั๋ง
หลังพรรคก๊กมินตั๋งสามารถรวมแผ่นดินจีนที่แตกแยกเป็นขุนศึก อีกทั้งโค่นล้มรัฐบาลเป่ยหยางอันเป็นรัฐบาลขุนศึกได้สำเร็จ พรรคก็ได้เลือกเอาสุนทรพจน์นี้เป็นบทร้องของเพลงประจำพรรค พร้อมทั้งได้เชิญชวนให้สาธารณชนเข้าร่วมการประกวดทำนองเพลงสำหรับใช้เป็นเพลงชาติ
เฉิง เหมาหยวิน (程懋筠; Chéng Màoyún) นักประพันธ์ได้รวบรวมผลงานเพลงชาติที่แต่งก่อนหน้านี้ในพิธีเปิดโรงเรียนนายร้อยหวงผู่มาเรียบเรียงทำนองให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ด้วยแรงศรัทธาต่อระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ เพลงชาติสาธารณรัฐจีนจึงถูกแต่งเสร็จภายในคืนเดียว จนในที่สุดผลงานของเฉิงจึงเป็นผลงานที่ชนะเลิศการประกวดจากผลงานที่เข้าร่วมประกวดทั้งหมด 139 ผลงาน
ในวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1930 สมาชิกพรรคก๊กมินตั๋งจำนวนมากได้เสนอให้ใช้สุนทรพจน์ของ ดร. ซุน ยัดเซ็น เป็นบทร้องสำหรับเพลงชาติ และสืบเนื่องจากได้มีการคัดค้านเกี่ยวกับการใช้สัญลักษณ์ของพรรคการเมืองเป็นสัญลักษณ์ของชาติ ทำให้ต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการแก้ไขและค้นคว้าเพลงชาติ (國歌編製研究委員會) ขึ้น ซึ่งคณะกรรมาธิการชุดนี้ก็ได้รับรองเนื้อเพลงประจำพรรคก๊กมินตั๋งใช้เป็นเพลงชาติได้ คณะกรรมาธิการกลาง (中央常務委員會) ได้ผ่านความเห็นชอบการเสนอเพลงชาติเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1937 และต่อมาในปี ค.ศ. 1943 เพลง "หลักลัทธิไตรราษฎร์" จึงได้เป็นเพลงชาติแห่งสาธารณรัฐจีนอย่างเป็นทางการ
อักษรจีนตัวเต็ม | อักษรจีนตัวย่อ | คำแปล | คำแปลตามทำนอง |
---|---|---|---|
三民主義,吾黨所宗; |
三民主义,吾党所宗; |
สามหลักการแห่งประชาชน, รากฐานพรรคของเรา (ก๊กมินตั๋ง) |
ไตรราษฎร์คือหลัก, แห่งพรรคของเรา |
ถอดเสียงระบบเวด-ไจลส์ | พินอิน | |
---|---|---|
San-min-chu-i, Wu-tang so tsung; |
Sānmín zhǔyì, wú dǎng suǒ zōng; |
อักษรจีนตัวเต็ม | อักษรจีนตัวย่อ (ถอดเสียงเป็นอักษรไทย) |
---|---|
|
|
ㄙㄢ ㄇㄧㄣˊ ㄓㄨˇ ㄧˋ, ㄨˊ ㄉㄤˇ ㄙㄨㄛˇ ㄗㄨㄥ;
ㄧˇ ㄐㄧㄢˋ ㄇㄧㄣˊ ㄍㄨㄛˊ, ㄧˇ ㄐㄧㄣˋ ㄉㄚˋ ㄊㄨㄥˊ。
ㄗ ㄦˇ ㄉㄨㄛ ㄕˋ, ㄨㄟˋ ㄇㄧㄣˊ ㄑㄧㄢˊ ㄈㄥ;
ㄙㄨˋ ㄧㄝˋ ㄈㄟˇ ㄒㄧㄝˋ, ㄓㄨˇ ㄧˋ ㄕˋ ㄘㄨㄥˊ。
ㄕˇ ㄑㄧㄣˊ ㄕˇ ㄩㄥˇ, ㄅㄧˋ ㄒㄧㄣˋ ㄅㄧˋ ㄓㄨㄥ;
ㄧˋ ㄒㄧㄣ ㄧˋ ㄉㄜˊ, ㄍㄨㄢˋ ㄔㄜˋ ㄕˇ ㄓㄨㄥ。
บทร้องที่ปรากฏในที่นี้ใช้อักษรจีนตัวเต็มหรืออักษรจีนแบบเดิม ยกตัวอย่างเช่น
ในประเด็นนี้ เพลงชาติของสาธารณรัฐจีนจึงแสดงออกถึงความแตกต่างจากเพลง "มาร์ชทหารอาสา" ของฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งถูกเขียนขึ้นภายหลังไม่กี่ปีด้วยอักษรจีนย่อหรืออักษรจีนสมัยใหม่ที่ใช้ทั่วไปในทุกวันนี้
เช่นเดียวกับการที่ถูกเขียนขึ้นด้วยอักษรจีนอย่างเก่า บทเพลงชาติสาธารณรัฐจีนยังดำเนินตามขนบทางกวีตามแบบจีนดั้งเดิมด้วย รูปแบบของบทเพลงเน้นใช้บทกวีแบบสี่ตัวอักษร (四言詩 - four-character poem) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ร้อยแก้วแบบสัมผัสสี่อักษร (四言韻文 - four-character rhymed prose) ซึ่งปรากฏครั้งแรกในสมัยราชวงศ์โจว อักษรตัวสุดท้ายในแต่ละบาทของบทร้องนี้ลงท้ายด้วยการสัมผัสเสียง ōng หรือเสียง ēng ซึ่งมีค่าเท่ากันในภาษาจีนโบราณ ด้วยธรรมชาติของบทกวีที่ต้องมีเนื้อหาสั้น ได้ใจความ และรัดกุม ทำให้บางคำในบทร้องนี้มีการแปลความหมายออกแตกต่างกัน ดังปรากฏในคำแปลภาษาอังกฤษของเพลงนี้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.