เทือกเขาหิมาลัย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หิมาลัย (हिमालय, จากภาษาสันสกฤต: หิมะ สันสกฤต: हिम, อักษรโรมัน: hima กับ อาลยฺ สันสกฤต: आलय, อักษรโรมัน: ālaya) เป็นเทือกเขาในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกซึ่งแยกอนุทวีปอินเดียออกจากที่ราบสูงทิเบต ในเทือกเขาประกอบด้วยยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกหลายจุด ในจำนวนนี้มีทั้งยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก ภูเขาเอเวอเรสต์ ที่พรมแดนเนปาลกับทิเบต และมีภูเขาที่สูงที่สุดในโลกกว่า 50 ภูเขา ความสูงเกิน 7,200 m (23,600 ft) จากระดับน้ำทะเล ในจำนวนนี้มีภูเขาสิบลูกจากภูเขาสูงเกิน 8,000 เมตรทั่วโลกจำนวนสิบสี่ลูก ในขณะที่ยอดเขาสูงสุดนอกเอเชีย (เขาอากองกากัวในเทือกเขาแอนดีส) สูงเพียง 6,961 m (22,838 ft)[1]
หิมาลัย | |
---|---|
หิมาลยฺ | |
ภาพมุมกว้างของภูเขาเอเวอเรสต์และภูมิทัศน์โดยรอบ | |
จุดสูงสุด | |
ยอด | ภูเขาเอเวอเรสต์ (เนปาลกับทิเบต) |
ความสูง เหนือระดับน้ำทะเล | 8,848.86 เมตร (29,032 ฟุต) |
พิกัด | 27°59′N 86°55′E |
ข้อมูลเชิงขนาด | |
ยาว | 2,400 กม. (1,491 ไมล์) |
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ | |
ประเทศ | ภูฏาน, จีน, อินเดีย, เนปาล, ปากีสถาน และ บางส่วนของอัฟกานิสถาน |
ข้อมูลทางธรณีวิทยา | |
การก่อเทือกเขา | อัลไพน์ |
อายุหิน | Cretaceous-ถึง-Cenozoic |
ประเภทหิน | เมทามอร์ฟิก, เซดิเมนทารี |
เทิอกเขาหิมาลัยเกิดจากการมุดของแผ่นเปลือกโลกอินเดียลงใต้แผ่นยูเรเชีย เทือกเขากินพื้นที่จากตะวันตกถึงตะวันตกเฉียงเหนือ ไปทางตะวันออกถึงตะวันออกเฉียงเหนือ ความยาวกว่า 2,400 km (1,500 mi)[2]
มีผู้อยู่อาศัยบนหิมาลัยรวม 52.7 ล้านคน[3] ในพื้นที่ห้าประเทศ: ภูฏาน, จีน, อินเดีย, เนปาล และ ปากีสถาน เทือกเขาฮินดูกูชในอัฟกานิสถาน[4] และ Hkakabo Razi ในพม่ากับบังกลาเทศ มักไม่ถูกนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย แต่จะถูกนับรวมในระบบแม่น้ำฮินดูกูชหิมาลายัน[5][ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.