เทศบาลตำบลห้วยทับทัน เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบล ขนาดเล็ก[2] อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 306 หมู่ 1 ตำบลห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ เป็น 1 ในจำนวนเทศบาลตำบล 23 แห่งในปัจจุบันของจังหวัดศรีสะเกษ เขตเทศบาลตั้งอยู่ในบริเวณตอนบนของจังหวัดศรีสะเกษ ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันตกโดยทางรถยนต์ประมาณ 37 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอและหน่วยงานการบริหารราชการระดับภูมิภาคอื่นๆ ของอำเภอห้วยทับทัน รวมทั้งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การคมนาคมขนส่ง และการสื่อสารของอำเภอ
ข้อมูลเบื้องต้น เทศบาลตำบลห้วยทับทัน, ประเทศ ...
เทศบาลตำบลห้วยทับทัน |
---|
|
สำนักงานเทศบาลตำบลห้วยทับทัน |
ตรา |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | ศรีสะเกษ |
---|
อำเภอ | ห้วยทับทัน |
---|
การปกครอง |
---|
• นายกเทศมนตรี | ชัยยันต์ เทพเกษตรกุล |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 9.80 ตร.กม. (3.78 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร |
---|
• ทั้งหมด | 3,133 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 319.69 คน/ตร.กม. (828.0 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัส อปท. | 05331201 |
---|
ที่อยู่ สำนักงาน | สำนักงานเทศบาลตำบลห้วยทับทัน ตั้งอยู่เลขที่ 306 หมู่ 1 ตำบลห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ 33210 |
---|
โทรศัพท์ | 0 4569 9149, 0 4569 9222 , 0 4569 9332 |
---|
โทรสาร | 0 4569 9149 |
---|
เว็บไซต์ | www.huaithapthan.com |
---|
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ปิด
ครอบคลุมบางส่วนของตำบลห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน โดยมีอาณาเขตในทิศทางต่างๆ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลปราสาท
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลเมืองหลวง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลห้วยทับทัน
- ทิศตะวันตกติดต่อกับตำบลห้วยทับทัน
เทศบาลตำบลห้วยทับทัน เดิมมีฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบสุขาภิบาลมาก่อน ชื่อ"สุขาภิบาลห้วยทับทัน" จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2535 [3] มีสำนักงานอยู่ ณ ที่ว่าการอำเภอห้วยทับทัน ต่อมามีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาลพุทธศักราช 2542 จัดตั้งเทศบาลตำบล ซึ่งเป็นผลให้"สุขาภิบาลห้วยทับทัน" เปลี่ยนแปลงฐานะเป็น"เทศบาลตำบลห้วยทับทัน" ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542เป็นต้นมา [4] ในปัจจุบันเทศบาลตำบลห้วยทับทันมีอาคารสำนักงานเป็นของตนเองแยกออกมาจากที่ว่าการอำเภอ เพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลมาติดต่อราชการและขอรับบริการด้านต่างๆ ได้สะดวก
- ฝ่ายบริหาร ได้แก่ คณะเทศมนตรี ประกอบด้วยนายกเทศมนตรี 1 คน (ปัจจุบันคือนายชัยยันต์ เทพเกษตรกุล), รองนายกเทศมนตรี 2 คน, ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี 1 คน และเลขานุการนายกเทศมนตรี 1 คน
- ฝ่ายนิติบัญญัติ(ควบคุมฝ่ายบริหาร) ได้แก่ สภาเทศบาล และควบคุมฝ่ายบริหาร ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลที่มาจากการเลือกตั้งจำนวน 12 คน ดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี มีประธานสภา 1 คน, รองประธานสภา 1 คน
- การปฏิบัติราชการ มีปลัดเทศบาล เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาลและพนักงานจ้างเทศบาล มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการควบคุมดูแลราชการประจำของเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย ประกอบด้วยส่วนการบริหารคือ สำนักงานปลัดเทศบาล กองการศึกษา กองคลัง กองช่าง และกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
รูปไก่พื้นเมืองหรือไก่บ้านอยู่ภายในวงกลม 2 ชั้น ขั้นด้วยลายกนกรวงข้าว
กรอบวงกลมวงนอก ครึ่งบนของกรอบวงกลมนอกเขียนข้อความ "เทศบาลตำบลห้วยทับทัน" ครึ่งล่างของกรอบวงกลมเขียนข้อความ "จังหวัดศรีสะเกษ"
ไก่ หมายถึง ไก่พันธุ์พื้นเมืองของอำเภอห้วยทับทันมาจากชุมชนห้วยทับทันในบริเวณนี้มีอาชีพขายไก่ให้ผู้เดินทางไปมาในชื่อ "ไก่ย่างห้วยทับทัน" ซึ่งเป็นสินค้าขึ้นชื่อของจังหวัดศรีสะเกษ ที่มีการย่างและจำหน่ายมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่เริ่มตั้งเป็นชุมชนเจริญเติบโตเป็นกิ่งอำเภอและอำเภอในที่สุด
ลายกนกรวงข้าว หมายถึง อำเภอห้วยทับทันเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิคุณภาพดีที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ
สภาพภูมิประเทศ
เขตเทศบาลตำบลห้วยทับทันตั้งอยู่บนภูมิประเทศที่มีสภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบริมลำน้ำธรรมชาติสายใหญ่ อันเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูล ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนใหญ่เป็นที่ที่ใช้ประกอบการเกษตรกรรม มีหนองน้ำขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป มีลำน้ำธรรมชาติที่สำคัญ คือ ลำห้วยทับทัน ซึ่งไหลมาจากต้นน้ำในเขตเทือกเขาพนมดงรัก เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างจังหวัดศรีสะเกษกับจังหวัดสุรินทร์
ประชากรและกลุ่มชาติพันธุ์
ในเขตเทศบาลประกอบด้วยประชากร จำนวนทั้งสิ้น 3,133 คน จำแนกเป็นเพศชาย 1,591 คน เพศหญิง 1,542 คน มีครัวเรือนทั้งสิ้น 757 ครัวเรือน ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งสิ้น จำนวน 2,116 คน [5] กลุ่มชาติพันธุ์หลักดั้งเดิมในเขตเทศบาลได้แก่กลุ่มชาติพันธุ์ชาวกูย (หรือกวยหรือส่วย)ซึ่งพูดภาษากูย,และชาวลาวซึ่งพูดภาษาลาว นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเขมร ซึ่งพูดภาษาเขมรถิ่นไทย(เขมรสูงหรือขแมร์เลอ) ซึ่งมีอยู่ในสัดส่วนที่น้อยกว่าชาวกูยและชาวลาว [6]
เขตการปกครอง
เขตการปกครองภายในพื้นที่เขตเทศบาลแบ่งออกเป็น 7 ชุมชน ได้แก่
- ชุมชนตลาดห้วยทับทัน (ม.1)
- ชุมชนห้วยทับทันตะวันออก (ม.1)
- ชุมชนฝั่งธน (ม.1)
- ชุมชนหนองสิมใหญ่ (ม.2)
- ชุมชนหนองสิมน้อย (ม.6)
- ชุมชนทุ่งมน (ม.7)
- ชุมชนสวัสดี (ม.8)[7]
การศึกษา
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน 2 แห่ง (ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลห้วยทับทัน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดประชารงสรรค์) [8]
- โรงเรียนประถมศึกษา 2 แห่ง (โรงเรียนอนุบาลห้วยทับทัน, โรงเรียนเทศบาล[หนองสิมใหญ่])
- โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง (โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม)
การศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
- วัด / สำนักสงฆ์ 3 แห่ง (วัดป่าหนองสิมใหญ่, วัดศรีห้วยทับทัน, วัดบ้านหนองสิมน้อย)ทั้งนี้ ประชากรในเขตเทศบาลร้อยละ 100 นับถือศาสนาพุทธ
- ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ
- ประเพณีสงกรานต์ ช่วงเดือนเมษายน ของทุกปี
- ประเพณีบุญบ้องไฟ ช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ของทุกปี
- ประเพณีถวายเทียนพรรษา ช่วงก่อนถึงวันเข้าพรรษา ของทุกปี
- ประเพณีลอยกระทง ช่วงเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี
การแพทย์และสาธารณสุข
- โรงพยาบาลชุมชน (รพช)ขนาด 30 เตียง 1 แห่ง (โรงพยาบาลห้วยทับทัน) โดยมีบุคลากรผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์ พยาบาล และสาธารณสุข ดังนี้
- แพทย์ 2 คน แพทย์หมุนเวียน 1 คน
- ทันตแพทย์ 2 คน
- เภสัชกร 3 คน
- พยาบาลวิชาชีพ 24 คน
- พยาบาลเทคนิค 1 คน
- เจ้าพนักงานสาธารณสุข 3 คน
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- สถานีตำรวจ 1 แห่ง (สถานีตำรวจภูธรห้วยทับทัน)
- งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลห้วยทับทัน มีอัตรากำลังและเครื่องมือป้องกัน บรรเทาสาธารณภัย ดังนี้
- รถยนต์ดับเพลิงขนาดความจุ 4,000 ลิตร 1 คัน
- รถบรรทุกน้ำขนาดความจุ 10,000 ลิตร 1 คัน
- พนักงานขับรถดับเพลิง 1 คน
- พนักงานดับเพลิง 3 คน
- เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1 คน
การดูแลสิ่งแวดล้อม
อัตรากำลังและเครื่องมือเครื่องใช้ของเทศบาลในด้านสิ่งแวดล้อม มีดังนี้
- รถยนต์เก็บขยะแบบเปิดข้างเทท้าย ขนาดความจุ 12 ลูกบาศก์หลา 1 คัน
- พนักงานขับรถขยะ 2 คน
- พนักงานประจำรถเก็บขยะ 6 คน
- ปริมาณขยะมูลฝอยต่อวัน 1.5 ตัน
พื้นฐานหลักทางเศรษฐกิจ
สภาพโดยทั่วไปทางเศรษฐกิจของประชากรในเขตเทศบาลตำบลห้วยทับทัน มาจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม พืชผลทางการเกษตรที่สำคัญได้แก่ ข้าว พริก และผักอื่นๆ นอกจากนั้น มีประชากรบางส่วนประกอบอาชีพค้าขาย ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ และอาชีพรับจ้างทั่วไป ประชาชนมีรายได้เฉลี่ย 40,526 บาท/ปี
หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาล
- ประเภทพาณิชยกรรมและการบริการ ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นการค้าปลีก ซึ่งแยกเป็นประเภทได้ดังนี้
- ร้านขายของชำ จำนวน 48 ร้าน
- ร้านขายอาหาร(ก๋วยเตี๋ยว) จำนวน 12 ร้าน
- ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า จำนวน 4 ร้าน
- ร้านบริการเสริมสวยและตัดผม จำนวน 6 ร้าน
- ร้านรับซ่อมเครื่องยนต์เครื่องใช้ไฟฟ้า จำนวน 6 ร้าน
- สถานีบริการน้ำมัน จำนวน 2 แห่ง
- ประเภทอุตสาหกรรม : โรงสีข้าว จำนวน 2 แห่ง
- ประเภทบริการธุรกรรมทางการเงิน : ธนาคารพาณิชย์ทั้งของรัฐบาลและเอกชน (ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, ธนาคารไทยพาณิชย์)
การคมนาคมและขนส่ง
- ทางรถยนต์ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 (นครราชสีมา-บุรีรัมย์-สุรินทร์-ศรีสะเกษ-อุบลราชธานี) เส้นทางดังกล่าวนี้เชื่อมระหว่างตัวจังหวัดศรีสะเกษกับเขตเทศบาลตำบลห้วยทับทัน(ตัวอำเภอห้วยทับทัน) โดยจากตัวจังหวัดศรีสะเกษ มาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 (ช่วงศรีสะเกษ-สุรินทร์)เป็นระยะทางประมาณ 37 กิโลเมตร มีรถโดยสารประจำทางให้บริการคือรถตู้ปรับอากาศสายศรีสะเกษ-สุรินทร์
นอกจากนั้น ยังมีบริการรถยนต์โดยสารปรับอากาศจากต้นทางในจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดอุบลราชธานี หยุดรับส่งผู้โดยสารจากอำเภอห้วยทับทัน(ในเขตเทศบาลห้วยทับทัน)สู่ปลายทางที่กรุ
งเทพมหานคร
- ถนนในความรับผิดชอบของเทศบาลมี ทั้งสิ้น 51 สาย
- ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) จำนวน 37 สาย ระยะทางรวม 15.83 กิโลเมตร
- ถนนลูกรัง จำนวน 2 สาย ระยะทางรวม 0.59 กิโลเมตร
- ถนนดิน จำนวน 4 สาย ระยะทางรวม 3.87 กิโลเมตร
- ถนนหินคลุก จำนวน 8 สาย ระยะทางรวม 7.82 กิโลเมตร
- ทางรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือ(นครราชสีมา-อุบลราชธานี, กรุงเทพฯ-ศรีสะเกษ, กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี)มีบริการรถไฟธรรมดา รถเร็ว รถด่วนและรถด่วนพิเศษ หยุดรับ-ส่ง ผู้โดยสารที่สถานีรถไฟห้วยทับทัน ในเขตเทศบาลตำบลห้วยทับทัน
ระบบโทรคมนาคมและการสื่อสาร
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง
- ตู้โทรศัพท์สาธารณะ 7 แห่ง
พลังงานไฟฟ้า
ได้รับบริการจากสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในเขตเทศบาลมีไฟฟ้าสาธารณะใช้ทั่วถึงครบทั้ง 7 ชุมชน
การประปาและแหล่งน้ำธรรมชาติ
เทศบาลไม่มีการประปาเป็นของตนเอง ต้องอาศัยการบริการจากประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) มีครัวเรือนในเขตเทศบาลที่ใช้น้ำประปาประมาณร้อยละ 20
การใช้ที่ดิน
เทศบาลตำบลห้วยทับทันมีพื้นที่รวมประมาณ 6,125 ไร่ แยกตามประเภทการใช้ประโยชน์และขนาดพื้นที่โดยประมาณเฉลี่ยต่อไร่ ดังนี้
- ที่พักอาศัย ประมาณ 1,100 ไร่
- พื้นที่เกษตรกรรม ประมาณ 4,900 ไร่
- พื้นที่หน่วยงาน ประมาณ 20 ไร่
- พื้นที่สถานศึกษา ประมาณ 40 ไร่
- พื้นที่อุตสาหกรรม ประมาณ 30 ไร่
- พื้นที่สาธารณะ ประมาณ 20 ไร่
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 109 ตอนที่ 126 หน้า 60 ลงวันที่ 30 กันยายน 2535
พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 9ก วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 โดยมีผลใช้บังคับวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
กรมศิลปากร,วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดศรีสะเกษ, หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ. (ปรุงศรี วัลลิโภดม : บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,2544.
- กรมศิลปากร,วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดศรีสะเกษ, หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ. (ปรุงศรี วัลลิโภดม : บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,2544.
- เทศบาลตำบลห้วยทับทัน.รายงานติดตามประเมินผลการดำเนินงาน เทศบาลตำบลกำแพง ปี 2553.จัดทำโดยเทศบาลตำบลห้วยทับทัน