Loading AI tools
พิธีกรรมเปลี่ยนผ่านในศาสนาฮินดู จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สังสการ (saṃskāra) เป็นพิธีกรรมเปลี่ยนผ่าน (rites of passage) ในชีวิตของมนุษย์ ที่มีการบันทึกระบุไว้ในคัมภีร์สันสกฤตโบราณ หรือในอีกนัยหนึ่งอาจหมายถึง แนวคิดของกรรมในปรัชญาแบบอินเดีย[1][2][3] คำว่า "สังสการ" นั้นแปลตรงตัวว่า "การนำมารวมกัน, การทำให้สมบูรณ์, การเตรียมพร้อม, การเตรียมตัว" หรือ "พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือ" ในทั้งภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตโบราณ[4]
ในบริบทของทฤษฎีเรื่องกรรม, สังสการ คือ นิสัย, บุคลิก หรือ พฤติกรรมที่แสดงออกมาตั้งแต่เกิด ปรุงแต่งจนสมบูรณ์เป็นตัวตนหนึ่งตลอดช่วงชีวิต, จนกลายเป็น "รอยประทับ" ในจิตใต้สำนึก ตามแนวคิดหลายสำนักของปรัชญาฮินดู เช่น ปรัชญาโยคะ[3][5] รอยประทับของกรรมในตัวตนหนึ่งไม่ว่าจะสมบูรณ์แล้วหรือไม่ก็ตาม มีอิทธิพลต่อความเป็นธรรมชาติ, ความรู้สึกตอบรับ และสภาวะจิตใจของตัวตนนั้น.[3]
ส่วนสังสการในอีกความหมายหนึ่งคือ พิธีกรรมเปลี่ยนผ่านต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างหลากหลายในศาสนาฮินดู, ศาสนาไชนะ ศาสนาสิกข์ และ ศาสนาพุทธ[2][6][7] ในศาสนาฮินดูแล้ว สังสการมีอยู่มากมายทั้งจำนวนพิธีและรายละเอียดซึ่งแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความเชื่อท้องถิ่น ในโคตมธรรมสูตรอันเก่าแก่กว่าสหัสวรรษ ได้ระบุสังสการไว้ทั้งหมด 40 พิธี[8] ส่วนครหยสูตรซึ่งใหม่กว่าราวศตวรรษ ระบุจำนวนไว้ที่ 16 พิธี[1][9] สังสการมีตั้งแต่พิธีจากลักษณะภายนอก เช่น พิธีที่กระทำเมื่อแรกเกิด ไปจนถึงพิธีกรรมภายในจิตใจ เช่น การเห็นอกเห็นใจสิ่งมีชีวิตทั้งปวง[8]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.