Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามจีน-อินเดีย (ฮินดี: भारत-चीन युद्ध, Bhārat-Chīn Yuddh)(จีนตัวย่อ: 中印边境战争; จีนตัวเต็ม: 中印邊境戰爭; พินอิน: Zhōng-Yìn Biānjìng Zhànzhēng) เป็นสงครามระหว่างจีนและอินเดียที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2505 ข้อพิพาทชายแดนหิมาลัยเป็นสาเหตุหลักสำหรับการทำสงคราม แต่ก็มีสาเหตุอื่น ๆ ในพ.ศ. 2502 เกิดการก่อจลาจลในทิเบต อินเดียได้สนับสนุนทิเบตและให้ที่ลี้ภัยแก่องค์ดาไลลามะ อินเดียเริ่มมีนโยบายวางทหารตามแนวชายแดนรวมทั้งอีกหลายทางตอนเหนือของถนนสายเมคมาฮอน ส่วนทางทิศตะวันออกของสายควบคุมโดยจีน
สงครามจีน-อินเดีย | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เขตแดนพิพาทระหว่างจีนและอินเดีย | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
อินเดีย | จีน | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
บริจ โมฮัน กูล |
หลัว รุ่ยฉิง (เสนาธิการกองทัพปลดปล่อยประชาชน)[2] ฉาง กัวหัว (ผู้บัญชาการภาคสนาม)[3] เหมา เจ๋อตง หลิว โบเฉิง หลิน เปียว โจว เอินไหล | ||||||||
กำลัง | |||||||||
10,000–12,000 นาย | 80,000 นาย[4][5] | ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
ตาย 1,383 นาย[6] บาดเจ็บ 1,047 นาย[6] สูญหาย 1,696 นาย[6] ถูกจับกุม 3,968 นาย[6] |
ตาย 722 นาย[6] บาดเจ็บ 1,697 นาย[6][7] |
ไม่มีทางที่สามารถยุติปํญหาในดินแดนพิพาทตามแนวชายแดนหิมาลัย 3,225 กิโลเมตรได้[8] จีนได้นำกองกำลังโจมตีพร้อมกันในลาดัคห์และทั่วทั้งถนนสายเมคมาฮอนในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2505 เข้ายึดเมือง Rezang La ในทางภาคตะวันตก เช่นเดียวกับ Tawang ทางภาคตะวันออก สงครามสิ้นสุดลงเมื่อจีนประกาศพักรบเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 และพร้อมประกาศถอนตัวออกจากพื้นที่พิพาท
สงครามจีน-อินเดียที่โดดเด่นคือการสู้รบตามภูเขาที่ระดับความสูงกว่า 4,000 เมตร (14,000 ฟุต)[9] และไม่มีการส่งกองทัพเรือหรือกองทัพอากาศทั้งสองฝ่าย
เป็นที่น่าสังเกตเกิดขึ้นพร้อมกับช่วง 13 วันในวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา (16-28 ตุลาคม 1962) ที่สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตเผชิญหน้ากัน อินเดียจึงไม่ได้รับความช่วยเหลือจากทั้งสองมหาอำนาจนี้มากนัก จนวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบาได้ยุติลง
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.