Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัคซีนโรคไข้เหลือง เป็นวัคซีนสำหรับป้องกันไข้เหลือง[1] ไข้เหลืองเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่พบในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้ ประมาณ 99% ของผู้ที่ได้รับวัคซีนจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ภายในหนึ่งเดือนและดูเหมือนว่าภูมิค้มกันนี้จะมีผลไปตลอดชีวิต วัคซีนนี้สามารถใช้เพื่อควบคุมการระบาดของโรคได้ วิธีการให้วัคซีนคือการฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง[1]
องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้มีการให้วัคซีนตามกำหนดการให้วัคซีนในทุกประเทศที่พบโรคนี้ได้ทั่วไป โดยทั่วไปคือเมื่อทารกอายุระหว่างเก้าถึงสิบสองเดือน ผู้ที่เดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรคก็ควรจะเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเช่นกัน[1] ซึ่งโดยมากไม่จำเป็นต้องให้วัคซีนเพิ่มอีกหลังจากการได้รับวัคซีนครั้งแรก[2]
โดยทั่วไปวัคซีนป้องกันโรคไข้เหลืองเป็นวัคซีนที่ปลอดภัย ซึ่งรวมถึงสำหรับผู้ที่ติดเชื้อ HIV แต่ไม่มีอาการของโรค ผลข้างเคียงเล็กน้อยอาจได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน มีไข้ และเกิดผื่นผิวหนัง การแพ้ขั้นรุนแรงจากการฉีดวัคซีนพบได้เพียงแปดรายจากหนึ่งล้านรายเท่านั้น อาการทางประสาทขั้นรุนแรงนั้นเกิดขึ้นในสี่รายจากหนึ่งล้านราย และอาการอวัยวะล้มเหลวเกิดขึ้นในสามรายจากหนึ่งล้านราย และมีแนวโน้มว่ามีความปลอดภัยสำหรับผู้ที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ และดังนั้นจึงแนะนำให้ใช้ในกลุ่มผู้ที่อาจติดเชื้อ[1] แต่ไม่ควรให้วัคซีนแก่ผู้ที่มีการกดการทำงานของภูมิคุ้มกัน[3]
วัคซีนโรคไข้เหลืองมีการใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2526[4] วัคซีนนี้อยู่ในทะเบียนยาที่จำเป็นขององค์การอนามัยโลก โดยเป็นยารักษาโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดซึ่งจำเป็นต่อระบบสุขภาพขั้นพื้นฐาน[5] นับตั้งแต่ปี 2557 ราคาขายส่งของวัคซีนนี้อยู่ที่ระหว่าง 4.30 ถึง 21.30 เหรียญสหรัฐฯ[6] ราคาในสหรัฐอเมริกาคือตั้งแต่ 50 ถึง 100 เหรียญสหรัฐฯ[7] วัคซีนนี้ผลิตจากเชื้อไวรัสของโรคไข้เหลืองซึ่งถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง[1]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.