มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 17
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 17 (MH17/MAS17)[lower-alpha 1] เป็นเที่ยวบินพาณิชย์ของมาเลเซียแอร์ไลน์ซึ่งออกเดินทางจากกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ไปยังกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เที่ยวบินซึ่งบินด้วยเครื่องบินโบอิง 777 ตก[2][3] ใกล้กับฮราโบฟ จังหวัดโดเนตสค์ ประเทศยูเครน ห่างจากชายแดนยูเครน/รัสเซียประมาณ 40 กิโลเมตร[4] ผู้โดยสาร 283 คนและลูกเรือ 15 คนบนเครื่องเสียชีวิตทั้งหมด[5]
ผู้โดยสารบนเครื่องแบ่งตามสัญชาติ[6][7] | |
สัญชาติ | จำนวน |
---|---|
ออสเตรเลีย | 27 |
เบลเยียม | 4 |
แคนาดา[lower-alpha 2][8] | 1 |
เยอรมนี[lower-alpha 3] | 4 |
อินโดนีเซีย | 12 |
มาเลเซีย[lower-alpha 4] | 43 |
เนเธอร์แลนด์[lower-alpha 5] | 193 |
นิวซีแลนด์ | 1 |
ฟิลิปปินส์ | 3 |
สหราชอาณาจักร[lower-alpha 6] | 10 |
รวม | 298 |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เครื่องบินโบอิง 777-200ER เลขทะเบียน 9M-MRD ลำเดียวกับที่ตก ที่สนามบินนครเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 | |
สรุปอุบัติการณ์ | |
---|---|
วันที่ | 17 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 |
สรุป | ถูกยิงตกด้วยขีปนาวุธที่เคลื่อนย้ายจากประเทศรัสเซียในวันที่ตก[1] |
จุดเกิดเหตุ | ใกล้กับฮราโบฟ แคว้นดอแนตสก์ ประเทศยูเครน 48°7′56″N 38°39′19″E |
ประเภทอากาศยาน | โบอิง 777-2H6ER |
ดําเนินการโดย | มาเลเซียแอร์ไลน์ |
ต้นทาง | ท่าอากาศยานอัมสเตอร์ดัมสคิปโฮล |
ปลายทาง | ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ |
ผู้โดยสาร | 283 |
ลูกเรือ | 15 |
เสียชีวิต | 298 |
รอดชีวิต | 0 |
การตกเกิดขึ้นในบริเวณที่เกิดการปะทะกันท่ามกลางการก่อการกำเริบดอนบาสส์ โดยขณะที่เครื่องกำลังร่วงสู่พื้นดิน เกิดเพลิงไหม้ที่ปีกด้านขวา ทั้งนี้จากข้อมูลของสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐ ยืนยันอ้างว่าเครื่องบินถูกยิงตกโดยขีปนาวุธ แต่ไม่สามารถระบุที่มาของขีปนาวุธได้[9][10]
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของยูเครน กล่าวว่าเครื่องบินถูกยิงตกที่ระยะความสูง 10,000 m (33,000 ft) จากเครื่องยิงจรวดพื้นดินสู่อากาศ บัค[11][12] เปโตร โปโรเชนโก ประธานาธิบดียูเครน กล่าวว่าเหตุการณ์นี้เป็น "การก่อการร้าย"[13] กบฏแบ่งแยกดินแดนนิยมรัสเซียสนองโดยกล่าวหารัฐบาลยูเครนว่าเป็นผู้ยิงเครื่องบินตก หน่วยข่าวกรองของยูเครนอ้างว่าได้ดักฟังโทรศัพท์พบว่ากลุ่มนิยมรัสเซียมีการกล่าวถึงการที่เพิ่งจะยิงเครื่องบินพลเรือนตก[14]
21 กรกฎาคม ฝ่ายความมั่นคงของรัสเซียอ้างว่าก่อน MH17 จะถูกยิง เรดาห์ของรัสเซียได้ตรวจพบเครื่องบินรบ ซูคอย ซู-25 ของยูเครน บินห่างจาก MH17 ที่ระดับความสูงใกล้เคียงกัน โดยมีระยะห่างจาก MH17 ราว 3-5 กิโลเมตร[15] และต่อมาอ้างว่าประเทศยูเครนรับผิดชอบเนื่องจากจุดตกเกิดในน่านฟ้ายูเครน[16] มีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับการตกปรากฏในสื่อรัสเซีย และจนถึงเดือนกันยายน 2559 รัฐบาลรัสเซียยังปฏิเสธความรับผิดชอบ[17]
อากาศยานทหารยูเครนจำนวนหนึ่งถูกยิงตกเหนือดินแดนที่กบฏควบคุมทั้งก่อนหลังหลังเหตุ MH17 ดังกล่าว ทันทีหลังเครื่องตก ปรากฏโพสต์ในโปรเฟล์สื่อสังคมวีคอนตักเต (VKontakte) ของพันเอกอีกอร์ เกอร์คินแห่งรัสเซีย ผู้นำทหารอาสาสมัครแบ่งแยกดินแดนดอนบัสส์ อ้างความรับผิดชอบการยิงเครื่องบินลำเลียงทหารของยูเครนชนิดเอเอ็น-26 ของยูเครนใกล้กับโทเรซ (Torez)[18] ต่อมาวันเดียวกันโพสต์ดังกล่าวถูกลบออก แล้วหลังจากนั้นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนปฏิเสธการยิงเครื่องบินใด ๆ[19][20][21] ปลายเดือนกรกฎาคม 2557 มีการเผยแพร่การดักจับการสื่อสาร ซึ่งอ้างว่าได้ยินฝ่ายแบ่งแยกดินแดนกำลังถกกับเรื่องเครื่องบินที่ถูกยิงตก[22][23][24] วิดีทัศน์จากจุดตกที่กบฏบันทึกเองและนิวส์คอร์พออสเตรเลียได้มา แสดงภาพทหารกบฏคนแรกไปถึงจุดตก ทีแรกพวกเขาสันนิษฐานว่าเครื่องบินที่ถูกยิงตกเป็นเครื่องบินทหาร แต่ตกใจเมื่อรู้ว่าเป็นเครื่องบินโดยสารพลเรือน[25]
ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2557 ถึงพฤษภาคม 2559 กลุ่มสืบสวนในสหราชอาณาจักร เบลลิงแคตออกข้อสรุปหลายอย่าง โดยอาศัยการตรวจสอบภาพถ่ายในสื่อสังคมและสารสนเทศโอเพนซอร์ซอื่น เบลลิงแคตกล่าวว่าเครื่องปล่อยจรวดที่ใช้ยิงเครื่องบินเป็นบุค 332 ของกองพลน้อยจรวดต่อสู้อากาศยานที่ 53 ของรัสเซียซึ่งตั้งอยู่ในคูสค์ ประเทศรัสเซีย ซึ่งมีการขนย้ายจากโดเนตสก์ไป Snizhne และถูกฝ่ายแบ่งแยกดินแดนในยูเครนควบคุมวันเดียวกับเหตุดังกล่าว[26][27][28][29][30]
ในเดือนกรกฎาคม 2558 ประเทศมาเลเซียเสนอให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติตั้งคณะตุลาการระหว่างประเทศเพื่อดำเนินคดีกับผู้รับผิดชอบเหตุยิงเครื่องบินตก ข้อมติได้เสียงข้างมากในคณะมนตรีฯ แต่ประเทศรัสเซียใช้อำนาจยับยั้ง[31][32]
ความรับผิดชอบสำหรับการสอบสวนถูกมอบหมายให้กับคณะกรรมการความปลอดภัยดัตช์ (DSB) และทีมสอบสวนร่วม (JIT) โดยมีเนเธอร์แลนด์เป็นหัวหน้า ซึ่งสรุปว่าอากาศยานถูกขีปนาวุธพื้นสู่อากาศบัคที่ยิงจากดินแดนที่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนนิยมรัสเซียในยูเครนยิง[33][34] ตามข้อมูลของ JIT บัคคันดังกล่าวมาจากกองพลน้อยขีปนาวุธต่อสู้อากาศยานที่ 53 ของสหพันธรัฐรัสเซีย[35][36] และมีการขนส่งจากประเทศรัสเซียในวันที่อากาศยานตก ยิงจากสนามในเขตควบคุมของกบฏแล้วกลับสู่ประเทศรัสเซียในภายหลัง[17][37][35] จากข้อสรุปดังกล่าว รัฐบาลเนเธอร์แลนด์และออสเตรเลียถือว่ารัสเซียต้องรับผิดชอบต่อการวางกำลังบัคคันดังกล่าวและกำลังใช้ช่องทางกฎหมายในเดือนพฤษภาคม 2561[38][39] รัฐบาลรัสเซียปฏิเสธส่วนรู้เห็นในการยิงเครื่องบินตก[36][40][41][42] และคำบอกเล่าสาเหตุการตกนั้นเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ[43] การกล่าวถึงในสื่อรัสเซียก็แตกต่างจากในประเทศอื่น[44][45] ทั้งนี้ รัสเซียถือว่ารัฐบาลยูเครนมีความผิดฐานอนุญาตให้เที่ยวบินพลเรือนบินในเขตสงคราม[46]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.