มอร์ มิวสิค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บริษัท มอร์ มิวสิค จำกัด (อังกฤษ: More Music Company Limited) เป็นบริษัทประกอบธุรกิจค่ายเพลงในเครือบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งโดย อัสนี-วสันต์ เมื่อปี พ.ศ. 2538 เน้นดนตรีแนวร็อกเป็นหลัก มีศิลปินในค่ายที่สร้างชื่อเสียงนอกเหนือจากอัสนี-วสันต์ เช่น โลโซ, แคลช, ซิลลี่ ฟูลส์, แบล็คเฮด, นูโว และซีล เป็นต้น

ข้อมูลเบื้องต้น ประเภท, อุตสาหกรรม ...
บริษัท มอร์ มิวสิค จำกัด
ประเภทบริษัทจำกัด
อุตสาหกรรมดนตรี
ก่อตั้ง20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538; 29 ปีก่อน (2538-11-20)
ผู้ก่อตั้งอัสนี-วสันต์
สำนักงานใหญ่50 อาคารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส ถนนอโศกมนตรี แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา, ,
บุคลากรหลักอัสนี โชติกุล (กรรมการผู้จัดการ)
บริษัทแม่จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
ปิด

ประวัติ

มอร์ มิวสิค จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 โดย อัสนี-วสันต์ มีศิลปินในยุคแรกเริ่ม คือ ยู่ยี่ - อลิสา อินทุสมิต[1] โดยถือเป็นค่ายเพลงร็อกค่ายเดียวของกลุ่มจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ในขณะนั้น เนื่องจาก จีนี่ เรคคอร์ด ที่เริ่มก่อตั้งตามหลังมอร์ มิวสิค อยู่ 3 ปี ยังมิได้ผลิตผลงานเพลงในแนวร็อกออกมา โดยปรับรูปแบบเป็นค่ายเพลงแนวร็อกเต็มรูปแบบหลังจากบิ๊กแอสและบอดี้สแลมย้ายจากมิวสิค บั๊กส์ มาสังกัดจีนี่ เรคคอร์ด เมื่อปี พ.ศ. 2547[2]

ในภายหลัง ศิลปินในสังกัดได้รับความนิยมน้อยกว่าในอดีต ทำให้ มอร์ มิวสิค เริ่มลดการดำเนินกิจการลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549[3] จนกระทั่งหยุดการดำเนินงานจากนโยบายปรับโครงสร้างเพื่อลดขนาดองค์กรของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบัน[4] ส่วนอัสนี-วสันต์ ยังคงมีผลงานเพลงกับจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ต่อไปอีกระยะหนึ่ง[3] ก่อนลาออกตาม นิติพงษ์ ห่อนาค ในปีเดียวกัน และทั้งสามคนได้ร่วมก่อตั้งและผลิตผลงานเพลงภายใต้บริษัท สหภาพดนตรี จำกัด (ปัจจุบันคือมิวซิกมูฟ) ในเครือบุญรอดบริวเวอรี่ มาจนถึงปัจจุบัน[5]

อดีตศิลปินในสังกัด

ศิลปินคู่

  • อัสนี & วสันต์ โชติกุล (อัลบั้ม บ้าหอบฟาง - นำกลับมาจัดจำหน่ายใหม่, บางอ้อ, จินตนาการ, เด็กเลี้ยงแกะ, พักร้อน) (พ.ศ. 2538 - 2554)
  • โจ & ก้อง (อัลบั้ม สดุดี) (พ.ศ. 2540 - 2544)

ศิลปินกลุ่ม

  • วง Loso (อัลบั้ม LO SOciety , LOSO Special , Entertainment , ร็อกแอนด์โรล (Rock & Roll) , LOSOLAND , ปกแดง) (พ.ศ. 2539 - 2545)
  • วง Clash (ชื่อเดิมของวงคือ ลูซิเฟอร์) (แต่ไม่มีผลงานอัลบั้ม) (พ.ศ. 2540 - 2543)
  • วง Blackhead (อัลบั้ม Pure , Basic , Handmade , Ten , Deep) (พ.ศ. 2542 - 2554)
  • วง มัสเกตเทียส์ (แต่ไม่มีปลงานอัลบั้ม) (พ.ศ. 2550 - 2551)
  • วง ฟาเรนไฮธ์ (อัลบั้ม องศาฟาเรนไฮธ์ . EXTRA FAHRENHEINT , FAHRENHEIT WAY) (พ.ศ. 2545 - 2553)
  • วง บางแก้ว (แต่ไม่มีผลงานในอัลบั้ม) (พ.ศ. 2553 - 2554)
  • วง Silly Fools (อัลบั้ม I.Q. 180 , Candy Man , Mint , Juicy ,King Size) (พ.ศ. 2541 - 2550)
  • วง Nuvo (อัลบั้ม Nouveau) (พ.ศ. 2544 - 2551)
  • วง Instinct (อัลบั้ม Inner , The End) (พ.ศ. 2549 - 2553)
  • วง สิบล้อ (อัลบั้ม มนต์รักสิบล้อ , เสียงเพลงสิบล้อ) (พ.ศ. 2544 - 2552)
  • วง LOMOSONIC (พ.ศ. 2548 - 2552)
  • วง Hangman (อัลบั้ม Hangman) (พ.ศ. 2550 - 2552)
  • วง OHO (อัลบั้ม OHO) (พ.ศ. 2542 - 2543)
  • วง Zeal (อัลบั้ม Zeal , Trip , Space) (พ.ศ. 2545 - 2551)
  • วง Paper Jam (อัลบั้ม เปเปอร์แจม) (พ.ศ. 2540 - 2546)
  • วง Drama Stream (อัลบั้ม Tales) (พ.ศ. 2548 - 2550)
  • วง The Kingkong (อัลบั้ม เป็นลิงเป็นค่าง) (พ.ศ. 2543 - 2549)
  • วง โนโลโก้ (อัลบั้ม How To Be Rock Star? , Mosaic) (พ.ศ. 2548 - 2553)
  • วง ซาซ่า

ศิลปินเดี่ยว

อัลบั้มรวมศิลปิน

  • พ.ศ. 2543 - ลงเอย พี่น้องร้องเพลง อัสนี & วสันต์

ศิลปิน : โต Silly Fools , อุ๊ Paper Jam , หนุ่ย Oho , ปุ๊ อัญชลี จงคดีกิจ , มาช่า วัฒนพานิช , ใหม่ เจริญปุระ , โจ - ก้อง , แอม เสาวลักษณ์ , เสก Loso , ปู Blackhead

  • พ.ศ. 2545 - ยินยอม พี่น้องร้องเพลง อัสนี & วสันต์ 2

ศิลปิน : นิโคล เทริโอ , ธีรภัทร์ สัจจกุล , สุธาสินี พุทธินันทน์ ,จิระศักดิ์ ปานพุ่ม , สุนิสา สุขบุญสังข์ , Zita Zalai , ไมค์ ภิรมย์พร , พลพล พลกองเส็ง , เสาวนิตย์ นวพันธ์ , พิชัย จิราธิวัฒน์ , พงษ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

  • พ.ศ. 2549 - More Cattle

ศิลปิน : Blackhead , Instinct , Zeal , The King Kong , ธรรพ์ณธร ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.