Loading AI tools
อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชินโซ อาเบะ (ญี่ปุ่น: 安倍 晋三; โรมาจิ: Abe Shinzō; 21 กันยายน พ.ศ. 2497 – 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2565) เป็นนักการเมืองชาวญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนที่ 57 และหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี) ตั้งแต่ปี 2555 ถึง 2563 และก่อนหน้านั้นระหว่างปี 2549 ถึง 2550 เขายังเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรีระหว่างปี 2548 ถึง 2549 นับเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่ครองตำแหน่งนานที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ชินโซ อาเบะ | |
---|---|
安倍 晋三 | |
ภาพถ่ายอย่างเป็นทางการ พ.ศ. 2555 | |
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น | |
ดำรงตำแหน่ง 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555 – 16 กันยายน พ.ศ. 2563 | |
กษัตริย์ | จักรพรรดิอากิฮิโตะ จักรพรรดินารูฮิโตะ |
รอง | ทาโร อาโซ |
ก่อนหน้า | โยชิฮิโกะ โนดะ |
ถัดไป | โยชิฮิเดะ ซูงะ |
ดำรงตำแหน่ง 26 กันยายน พ.ศ. 2549 – 26 กันยายน พ.ศ. 2550 | |
กษัตริย์ | จักรพรรดิอากิฮิโตะ |
ก่อนหน้า | จุนอิจิโร โคอิซูมิ |
ถัดไป | ยาซูโอะ ฟูกูดะ |
หัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย | |
ดำรงตำแหน่ง 26 กันยายน พ.ศ. 2555 – 14 กันยายน พ.ศ. 2563 | |
รอง | มาซาฮิโกะ โคมูระ |
เลขาธิการพรรค | ชิเงรุ อิชิบะ ซาดากาซุ ทานิงากิ โทชิฮิโระ นิไก |
ก่อนหน้า | ซาดากาซุ ทานิงากิ |
ถัดไป | โยชิฮิเดะ ซูงะ |
ดำรงตำแหน่ง 20 กันยายน พ.ศ. 2549 – 26 กันยายน พ.ศ. 2550 | |
เลขาธิการพรรค | สึโตมุ ทาเกเบะ ฮิเดนาโอะ นากางาวะ ทาโร อาโซ |
ก่อนหน้า | จุนอิจิโร โคอิซูมิ |
ถัดไป | ยาซูโอะ ฟูกูดะ |
เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น | |
ดำรงตำแหน่ง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2548 – 26 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
นายกรัฐมนตรี | จุนอิจิโร โคอิซูมิ |
ก่อนหน้า | ฮิโรบูกิ โฮโซดะ |
ถัดไป | ยาซูฮิซะ ชิโอซากิ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่น | |
ดำรงตำแหน่ง 20 ตุลาคม พ.ศ. 2539 – 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 | |
ก่อนหน้า | เขตเลือกตั้งใหม่ |
เขตเลือกตั้ง | จังหวัดยามางูจิ เขต 4 |
คะแนนเสียง | 86,258 (58.40%) |
ดำรงตำแหน่ง 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2539 | |
ก่อนหน้า | เขตเลือกตั้งใหม่ |
ถัดไป | มาซาฮิโกะ โคมูระ |
เขตเลือกตั้ง | จังหวัดยามางูจิ เขต 1 |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 กันยายน พ.ศ. 2497 ชินจูกุ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น |
เสียชีวิต | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 (67 ปี) คาชิฮาระ จังหวัดนาระ ประเทศญี่ปุ่น |
ลักษณะการเสียชีวิต | ถูกลอบสังหาร (แผลจากอาวุธปืน) |
พรรคการเมือง | เสรีประชาธิปไตย |
คู่สมรส | อากิเอะ อาเบะ (พ.ศ. 2530) |
บุพการี |
|
ความสัมพันธ์ |
|
ศิษย์เก่า |
|
ลายมือชื่อ | |
อาเบะเกิดในตระกูลการเมืองที่มีชื่อเสียง โดยมีศักดิ์เป็นหลานของโนบูซูเกะ คิชิ เขาได้ศึกษาด้านรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเซเกะ และศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย ในสหรัฐอเมริกา ภายหลังจบการศึกษาได้ทำงานกับบริษัทโคเบะสตีล และได้ลาออกในปี 2525 เพื่อเข้ามาทำงานการเมือง เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2550 อาเบะได้ประกาศว่าจะลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยเขาและคณะรัฐมนตรีทั้งคณะได้ลาออกพร้อมกันในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550 อย่างไรก็ตามอาเบะก็ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และได้ประกาศยุบสภาในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ก่อนครบวาระตำแหน่ง เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 14 ธันวาคม 2557
อาเบะเป็นนักอนุรักษนิยมที่นักวิจารณ์การเมืองเรียกเขาอย่างแพร่หลายว่าเป็นชาตินิยมฝ่ายขวา[1][2][3][4][5] เขาเป็นสมาชิกของนิปปงไคงิ[6] และมีทัศนะแบบแก้ไขประวัติศาสตร์ (revisionist) ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น[7][8][9] รวมทั้งการปฏิเสธบทบาทของรัฐบาลในการบีบบังคับเกณฑ์หญิงบำเรอระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง[10] ซึ่งทำให้เกิดความตึงเครียดกับประเทศเกาหลีใต้[11][12] เขาถือว่าเป็นสายแข็งในประเด็นเกาหลีเหนือ และส่งเสริมการทบทวนมาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดให้ญี่ปุ่นมีกองทัพ[13][14] อาเบะมีชื่อเสียงระดับนานาชาติในด้านนโยบายเศรษฐกิจของเขา ชื่อ "อะเบะโนมิกส์" ซึ่งมีการอัดฉีดปริมาณเงิน การกระตุ้นการคลัง และการปฏิรูปโครงสร้าง โดยมีผลลัพธ์ที่หลากหลาย[1][15]
วันที่ 28 สิงหาคม 2563 อาเบะประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเนื่องจากลำไส้ใหญ่อักเสบมีแผล (ulcerative colitis) และสุขภาพที่ไม่แข็งแรง เขาระบุว่าเขาจะยังคงดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าพรรคพรรคเสรีประชาธิปไตยที่ตนเป็นหัวหน้าพรรคจะเลือกผู้สืบทอด[16][17] โดยตัวเต็งที่จะมาเข้ารับหน้าที่แทน ได้แก่ ทาโร อาโซ รองนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งมายาวนานและอดีตนายกรัฐมนตรี โยชิฮิเดะ ซูงะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีของอาเบะ; ชิเกรุ อิชิบะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมที่เคยชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคกับอาเบะ ฟูมิโอะ คิชิดะ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ และทาโร โคโนะ รัฐมนตรีกลาโหมคนปัจจุบัน[18]
อาเบะถูกลอบสังหารด้วยปืนขณะปราศรัยที่เมืองนาระเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 จากฝีมือของอดีตเจ้าหน้าที่กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลที่ไม่พอใจนโยบายของนายอาเบะ[19][20] จากการสืบสวนของตำรวจ ผู้ต้องสงสัยได้ตั้งเป้าหมายที่อาเบะ โดยอ้างว่าอาเบะรับรู้ความผูกพันกับโบสถ์แห่งความสามัคคี ขบวนการศาสนาใหม่ที่ก่อตั้งในเกาหลีใต้[21]
ชินโซ อาเบะเกิดในวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. พ.ศ. 2497 ที่ชินจูกุ โตเกียว จากตระกูลการเมืองที่มีชื่อเสียง ซึ่งมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจในญี่ปุ่นทั้งช่วงก่อนและหลังสงคราม ตระกูลของเขามีต้นกำเนิดจากจังหวัดยามางูจิ และทะเบียนราษฎร์ของอาเบะ (ฮนเซกิชิ) อยู่ที่นางาโตะ
โนบูซูเกะ คิชิ ตาของเขาเป็น "ราชาเศรษฐกิจ" โดยพฤตินัยในจีนที่ถูกครอบครองกับประเทศแมนจู รัฐหุ่นเชิดญี่ปุ่นในจีนตอนเหนือที่จัดตั้งขึ้นหลังการบุกครองแมนจูเรียของญี่ปุ่นที่นำไปสู่สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองและสงครามโลกครั้งที่สอง[22][23] ในช่วงสงคราม เขาทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอาวุธยุทโธปกรณ์ในคณะรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี ฮิเดกิ โทโจ[24] ในช่วงสิ้นสุดสงคราม คิชิถูกคุมขังที่เรือนจำซูงาโมะเนื่องจากตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าเป็นอาชญากรสงคราม "ชั้น-เอ" แต่ภายหลังถูกปล่อยตัวและลบล้างความผิดตามแผน"หลักสูตรย้อนกลับ"ของฝ่ายยึดครองในช่วงสงครามเย็น[24] คิชิช่วยก่อตั้งพรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี) ใน พ.ศ. 2498[25] และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2500 จนกระทั่งต้องลาออกใน พ.ศ. 2503 เนื่องจากการประท้วงอัมโปะ
คัง อาเบะ ปู่ของเขาเป็นเจ้าของที่ดินในยามางูจิที่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อาเบะเป็นผู้ยืนหยัดในสันติที่ต่อต้านรัฐบาลโทโจและสงครามในเอเชียตะวันออก ต่างจากผู้เป็นตาของชินโซ อาเบะ[26] ชินตาโร อาเบะ พ่อของเขาเคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใน พ.ศ. 2501 ถึง 2534 พร้อมกับควมคุมตำแหน่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ชินตาโรอาสาตนเองเป็นนักบินคามิกาเซะ แต่สงครามสิ้นสุดลงก่อนที่เขาจะฝึกซ้อมเสร็จ[27]
อาเบะเข้าศึกษาในโรงเรียนประถมเซเก และโรงเรียนมัธยมต้นและปลายเซเก (成蹊中学校・高等学校)[28] เขาเรียนรู้เรื่องการบริหารรัฐกิจ และจบระดับปริญญาตรีสาขารัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเซเกใน พ.ศ. 2520 ต่อมาย้ายไปที่สหรัฐและเรียนนโยบายสาธารณะที่ School of Policy, Planning, and Development (ปัจจุบันมีชื่อว่า USC Price School of Public Policy) มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนียเป็นเวลาสามเทอม[29] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2522 อาเบะเริ่มทำงานให้กับโคเบะสตีล[30] จากนั้นจึงลาออกใน พ.ศ. 2525 เพื่อเข้ารับราชการหลายตำแหน่ง เช่น ผู้ช่วยผู้บริหารประจำกระทรวงการต่างประเทศ, เลขาส่วนตัวของประธานสภาสามัญพรรคแอลดีพี และเลขาส่วนตัวของเลขาธิการพรรคแอลดีพี[31]
นักวิจารณ์การเมืองจำนวนมากมีมุมมองอย่างกว้างว่าอาเบะเป็นนักชาตินิยมฝ่ายขวา[2][5][32] รูเพิร์ต วิงฟิลด์-เฮยส์ ผู้สื่อข่าวบีบีซีประจำโตเกียวกล่าวถึงเขาว่า "มีการโน้มเอียงไปฝ่ายขวามากกว่าผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าส่วนใหญ่"[33] ในช่วงชีวิตทางการเมือง เขามักมีส่วนเกี่ยวข้องทางการปฏิเสธทางประวัติศาสตร์ (historical negationism) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับอาชญากรรมสงครามของญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[8][9][33] นักวิจารณ์บางส่วนรายงานว่า อาเบะสร้างความเสียหายในด้านความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้[34]
อาเบะแต่งงานกับอากิเอะ มัตสึซากิ นักสังคมสงเคราะห์และอดีตนักจัดรายการวิทยุ ใน พ.ศ. 2530 เธอเป็นลูกสาวของประธานบริษัทโมรินางะ ผู้ผลิตช็อกโกแลต เธอเป็นที่รู้จักในฉายา "พรรคฝ่ายค้านภายในบ้าน" เนื่องจากมุมมองของเธอมักขัดแย้งกับผู้เป็นสามีของเธอ หลังสามีได้เป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรก เธอจึงเปิดอิซากายะจากธรรมชาติที่เขตคันดะ โตเกียว แต่ยังคงไม่เคลื่อนไหวในด้านการจัดการเนื่องจากการเร่งเร้าของแม่สามี[35] ทั้งคู่ไม่มีลูก เนื่องจากการบำบัดภาวะเจริญพันธุ์ที่ไม่ประสบความสำเร็จในช่วงต้นของการแต่งงาน[36] อาเบะนับถือศาสนาพุทธและชินโต[37]
อาเบะมีช่องยูทูปของเขา ซึ่งเคลื่อนไหวมาตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ในชื่อ "อาเบะ ชินโซ แชนแนล" (ญี่ปุ่น: あべ晋三チャンネル; โรมาจิ: Abe Shinzō Channeru)[38] ซึ่งกิจกรรมในช่องส่วนมากมักเป็นการติดตามการหาเสียง หรือการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของตัวอาเบะเอง
ณ วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 อาเบะถูกลอบยิงขณะกำลังปราศรัยเพื่อหาเสียงที่นาระ[39][40][41] เขาสนับสนุนเค ซาโต สมาชิกพรรคแอลดีพีในการเลือกตั้งราชมนตรีสภา[19]
มือสังหารใช้ปืนประดิษฐ์แล้วยิงใส่อาเบะสองครั้ง ครั้งแรกที่คอ และครั้งที่สองที่หัวใจ[42] หลังลอบยิงแล้ว เท็ตสึยะ ยามางามิ อดีตเจ้าหน้าที่กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลอายุ 41 ปี ที่เคยทำงานเป็นเวลาสามปีใน พ.ศ. 2545 ถึง 2548 จึงถูกจับกุมและต่อมาสารภาพผิดที่สถานีตำรวจท้องที่[43][44] ยามางามิกล่าวว่าเขามีความแค้นต่อ Unification Church[45][46][47] และที่ยิงใส่อาเบะเพราะเขาเชื่อว่า "กลุ่มศาสนากับอาเบะมีความเชื่อมโยงกัน"[48][49][50] ยามางามิกล่าวว่า เขาเคียดแค้นที่ว่าแม่ของตนถูกกลุ่มศาสนาล้างสมองจนล้มละลาย และที่ฆ่าอาเบะเพราะเชื่อว่าอดีตนายกรัฐมนตรีมีส่วนในการนำศาสนานี้เข้าประเทศญี่ปุ่น[51][52] ยามางามิอ้างว่าเขา "ไม่ได้มีความแค้นต่อความเชื่อทางการเมืองของอาเบะ"[48]
มีการส่งร่างอาเบะไปที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแพทย์นาระที่คาชิฮาระ จากนั้นมีการประกาศว่าเสียชีวิตในเวลา 17:03 น. ตามเวลาท้องถิ่น[19][53] ก่อนที่จะถึงโรงพยาบาล อาเบะไม่มีสัญญาณชีพ ถึงแม้ว่าจะมีการถ่ายเลือดก็ตาม แต่เขาสูญเสียเลือดมากเกินและไม่สามารถฟื้นคืนชีพอาเบะได้[54][55] เขาเสียชีวิตขณะมีอายุ 67 ปี[41]
ในการตอบสนองต่อการถูกยิงและเสียชีวิตของเขา ผู้นำโลกทั้งปัจจุบันและอดีตได้แสดงความเสียใจและสนับสนุนอาเบะ[56][57] ในวันต่อมา มีการนำร่างของเขากลับที่โตเกียวและจะมีการจัดพิธีศพในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2565[58]
พงศาวลีของชินโซ อาเบะ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.