Loading AI tools
ชนิดสัตว์เลื้อยคลาน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จระเข้แม่น้ำไนล์ (อังกฤษ: Nile crocodile; ชื่อวิทยาศาสตร์: Crocodylus niloticus[2]) เป็นจระเข้ชนิดหนึ่ง ที่มีขนาดใหญ่
จระเข้แม่น้ำไนล์ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไมโอซีนตอนปลาย–ปัจจุบัน, 11.6–0Ma[1] | |
---|---|
ฟาร์มจระเข้ Le Bonheur ใกล้สแทลเลินบอส ประเทศแอฟริกาใต้ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลื้อยคลาน Reptilia |
อันดับ: | อันดับจระเข้ Crocodilia |
วงศ์: | Crocodylidae Crocodylidae |
สกุล: | จระเข้ Crocodylus Laurenti, 1768 |
สปีชีส์: | Crocodylus niloticus |
ชื่อทวินาม | |
Crocodylus niloticus Laurenti, 1768 | |
ชื่อพ้อง | |
|
จระเข้แม่น้ำไนล์ เป็นจระเข้ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองรองมาจากจระเข้น้ำเค็ม (C. porosus) ตัวผู้มีความยาวเฉลี่ย 3-5 เมตร แต่ตัวที่ยิ่งมีอายุมากจะยาวได้มากกว่านั้น ขณะที่ตัวเมียจะมีความยาวได้ตั้งแต่ 2.4-4 เมตร น้ำหนักตั้งแต่ 225-500 กิโลกรัม แต่ตัวผู้ที่ใหญ่อาจหนักได้ถึง 750 กิโลกรัม มีรายงานพบตัวที่ยาวที่สุดในแทนซาเนียมีความยาว 6.47 เมตร น้ำหนักประมาณ 1,090 กิโลกรัม[3]
จระเข้แม่น้ำไนล์ กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืดทั่วทวีปแอฟริกา แม้ว่าจะเป็นแหล่งน้ำที่ตื้นและมีโคลนขุ่นก็ตาม มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงขนาดใหญ่ เป็นสัตว์ที่ล่าปลา รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่เป็นอาหาร เช่น ม้าลาย, กาเซลล์, แอนทิโลปต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่สัตว์เหล่านี้อพยพข้ามแม่น้ำ จระเข้แม่น้ำไนล์จะมารอดักซุ่มและโจมตีโดยเฉพาะตัวที่เล็กและอ่อนแอกว่า หรือแม้แต่ซุ่มดักรอใต้น้ำจนกระทั่งสัตว์เหล่านี้มากินน้ำริมตลิ่ง ก็จะโผล่ตัวมางับลากลงไปกดเหยื่อให้จมน้ำตายก่อนแล้วค่อยกิน[4] รวมถึงมีพฤติกรรมกินพวกเดียวกันเองด้วย [5]
จระเข้แม่น้ำไนล์ สามารถซุ่มอยู่นิ่ง ๆ ใต้น้ำได้นานถึง 2 ชั่วโมงครึ่งก่อนจะขึ้นมาหายใจ ในตัวที่โตเต็มที่สามารถอดอาหารได้นานถึง 10 เดือนโดยไม่กินอะไรได้[4] และตัวเมียสามารถเก็บพักน้ำเชื้อจากการผสมพันธุ์ของตัวผู้ไว้ในตัวได้เป็นเวลาค่อนข้างนาน[6] ในธรรมชาติ จระเข้แม่น้ำไนล์มีถิ่นอาศัยถิ่นเดียวกับฮิปโปโปเตมัส ซึ่งเป็นสัตว์ขนาดใหญ่และมีอันตรายเช่นกัน แม้ทั้งสองชนิดอาจมีการปะทะกันบ้าง แต่โดยทั่วไปก็จะแบ่งพื้นที่อาศัยกันเป็นอย่างดี[4]
นอกจากนี้แล้ว จระเข้แม่น้ำไนล์ยังได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่มีอันตรายต่อมนุษย์มากที่สุดชนิดหนึ่งของทวีปแอฟริกา ทุกปีจะมีผู้ถูกจระเข้ทำร้ายและสังหารเสียชีวิตปีหนึ่งคิดเป็นจำนวนหลักร้อยหรืออาจจะถึงหลักพัน โดยชาวอียิปต์โบราณจะนับถือจระเข้แม่น้ำไนล์เป็นทูตของเทพเจ้า และมีการทำมัมมี่ให้แก่จระเข้ตัวที่ตายไปแล้วด้วย[7] โดยเศียรของโซเบก หรือเซเบก ซึ่งเป็นเทพเจ้าที่เป็นผู้ให้กำเนิดแม่น้ำไนล์ ก็เป็นรูปจระเข้แม่น้ำไนล์ เชื่อกันว่าแม่น้ำไนล์กำเนิดมาจากเขาทั้งสองข้างของโซเบก[8] กระนั้นในปัจจุบัน จระเข้แม่น้ำไนล์ก็ยังถูกล่าเพื่อนำหนังไปใช้ในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ จนคาดว่าจำนวนที่เหลือในธรรมชาติน่าจะมีราว 250,000-500,000 ตัว[9]
กุสตาฟ ซึ่งเป็นจระเข้ที่ได้ชื่อว่าสังหารและกินมนุษย์ไปแล้วกว่า 300 คน มีขนาดความยาวกว่า 20 ฟุต อายุมากกว่า 60 ปี อาศัยอยู่ในตอนเหนือของบูรุนดีก็เป็นจระเข้แม่น้ำไนล์ด้วยเช่นกัน[10]
ปัจจุบัน จระเข้ที่พบในทวีปแอฟริกา ในอดีตที่เคยเชื่อกันว่ามีแค่ชนิดเดียว คือ จระเข้แม่น้ำไนล์ ได้ถูกศึกษาทางดีเอ็นเอแล้วพบว่ามี 2 ชนิด โดยชนิดที่ถูกแยกออกมานั้น คือ Crocodylus suchus ซึ่งเดิมเคยเป็นชนิดย่อยของจระเข้แม่น้ำไนล์ ซึ่งจระเข้ชนิดนี้มีขนาดเล็กกว่า อีกทั้งยังมียังมีความแตกต่างกันทางสรีระภายนอก เช่น ลักษณะหัวกะโหลก หรือการเรียงตัวของเกล็ด เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังมีการกระจายพันธุ์ที่แตกต่างออกไปอีกด้วย กล่าว คือ จระเข้แม่น้ำไนล์มีถิ่นกระจายพันธุ์อยู่ทางด้านภาคตะวันออกของทวีปแอฟริกามากกว่า ซึ่งจระเข้ชนิดใหม่นี้เป็นชนิดที่ชาวอียิปต์โบราณนิยมนำไปทำมัมมี่มากกว่า[6]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.