Remove ads
ประเทศเยอรมนีระหว่าง ค.ศ. 1918 ถึง ค.ศ. 1933 จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐไวมาร์ (เยอรมัน: Weimarer Republik [ˈvaɪmaʁɐ ʁepuˈbliːk] ( ฟังเสียง)) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สาธารณรัฐเยอรมนี (Deutsche Republik) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกประเทศเยอรมนีในยุคสาธารณรัฐระหว่างปีค.ศ. 1918 ถึง 1933 ชื่อของสาธารณรัฐนั้นตั้งตามชื่อเมืองไวมาร์ ที่ซึ่งรัฐสภาได้ประชุมกันเพื่อเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หลังจากจักรวรรดิเยอรมันล่มสลายลงหลังพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่วนชื่ออย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐไวมาร์คือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) ซึ่งใช้มาตั้งแต่ยุคจักรวรรดิ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ได้ยกเลิกอภิสิทธิของขุนนางเยอรมนีทิ้ง ลูกหลานของขุนนางเยอรมนีไม่สามารถสืบตำแหน่งได้อีกต่อไป สืบได้เพียงทรัพย์สินและนามสกุลเท่านั้น
ไรซ์เยอรมัน Deutsches Reich | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1918–ค.ศ. 1933[1][2][3] | |||||||||
ธงชาติ
(ค.ศ. 1919–1933) ตราแผ่นดิน
(ค.ศ. 1919–1928) | |||||||||
สาธารณรัฐไวมาร์ในปี ค.ศ. 1930 | |||||||||
รัฐของสาธารณรัฐไวมาร์ในคริสต์ทษวรรษที่ 1920 (สีน้ำเงินคือปรัสเซียและมณฑลของปรัสเซีย) | |||||||||
เมืองหลวง | เบอร์ลิน | ||||||||
ภาษาทั่วไป | ทางการ: เยอรมัน | ||||||||
ศาสนา | จากการสำมะโนใน ค.ศ. 1925:[4]
| ||||||||
การปกครอง |
| ||||||||
ประธานาธิบดี | |||||||||
• ค.ศ. 1919–1925 | ฟรีดริช เอเบิร์ท | ||||||||
• ค.ศ. 1925–1933 | เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค | ||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||
• ค.ศ. 1919 (คนแรก) | ฟิลลิพ ไชเดอมัน | ||||||||
• ค.ศ. 1933 (คนสุดท้าย) | อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ | ||||||||
สภานิติบัญญัติ | ไรช์ทาค | ||||||||
• สภาสูง | ไรซ์ราท | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สมัยระหว่างสงคราม | ||||||||
• ก่อตั้ง | 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 | ||||||||
• ใช้รัฐธรรมนูญ | 11 สิงหาคม ค.ศ. 1919 | ||||||||
• เริ่มต้นการปกครองโดยกฤษฎีกา | 29 มีนาคม ค.ศ. 1930[5] | ||||||||
30 มกราคม ค.ศ. 1933 | |||||||||
27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1933 | |||||||||
23 มีนาคม ค.ศ. 1933[6][7][8] | |||||||||
พื้นที่ | |||||||||
ค.ศ. 1925[9] | 468,787 ตารางกิโลเมตร (181,000 ตารางไมล์) | ||||||||
ประชากร | |||||||||
• ค.ศ. 1925[9] | 62,411,000 คน | ||||||||
133.129 ต่อตารางกิโลเมตร (344.8 ต่อตารางไมล์) | |||||||||
สกุลเงิน |
| ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | เยอรมนี ลิทัวเนีย โปแลนด์ รัสเซีย[a] |
เยอรมนีได้กลายเป็นสาธารณรัฐโดยพฤตินัย เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 เมื่อไคเซอร์(จักรพรรดิ) วิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนีได้สละบังลังก์แห่งเยอรมนีและปรัสเซียโดยไม่ได้มีการตกลงที่จะสืบราชบังลังก์โดยพระราชโอรสของพระองค์คือ เจ้าชายวิลเฮล์ม มกุฎราชกุมาร และได้กลายเป็นสาธารณรัฐโดยพฤตินัยในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 เมื่อตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งเยอรมนีได้ถูกก่อตั้งขึ้น สภาแห่งชาติได้มีการประชุมกันในเมืองไวมาร์ ที่รัฐธรรมนูญใหม่สำหรับเยอรมนีได้เขียนและประกาศใช้ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1919 ในช่วงเวลาสิบสี่ปี สาธารณรัฐไวมาร์ต้องประสบปัญหามากมาย,รวมทั้งภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง การเมืองที่มีแต่ความรุนแรง(ด้วยกองกำลังกึ่งทหาร-ทั้งฝ่ายซ้ายและขวา) เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ที่โต้แย้งกับผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ด้วยความไม่พอในเยอรมนีที่มีต่อสนธิสัญญาแวร์ซายที่รุนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิ์ทางการเมืองที่พวกเขาโกรธแค้นต่อผู้ที่ลงนามในสนธิสัญญาและส่งเพื่อปฏิบัติตามเงื่อนไข สาธารณรัฐไวมาร์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขส่วนใหญ่ของสนธิสัญญาแวร์ซาย แม้ว่าจะไม่เคยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการลดอาวุธทั้งหมดและท้ายที่สุดก็ได้จ่ายเพียงเล็กน้อยของการชดเชยค่าปฏิกรรมสงคราม(โดยการปรับโครงสร้างหนี้สองครั้งผ่านด้วยแผนการดอวส์และแผนการยัง)[10] ภายใต้สนธิสัญญาโลคาร์โน เยอรมนีจะต้องยอมรับเขตชายแดนตะวันตกของประเทศโดยยกเลิกการอ้างสิทธิ์บนดินแดนฝรั่งเศสและเบลเยียม แต่ยังคงมีการโต้เถียงกันในเรื่องเขตชายแดนตะวันออกและได้พยายามที่จะโน้มน้าวให้ออสเตรียที่มีคนพูดภาษาเยอรมันเพื่อเข้าร่วมกับเยอรมนีในฐานะหนึ่งในรัฐเยอรมนี
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 เป็นต้นมา ประธานาธิบดี เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค ได้ใช้อำนาจฉุกเฉินเพื่อหนุนหลังนายกรัฐมนตรี ไฮน์ริช บรือนิง, ฟรันทซ์ ฟ็อน พาเพิน และควร์ท ฟ็อน ชไลเชอร์ ด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่, ความรุนแรงจากนโยบายของบรือนิงจากภาวะเงินฝืด ได้นำไปสู่การว่างงานที่เพิ่มมากขึ้น[11] ในปี ค.ศ. 1933 ฮินเดินบวร์คได้แต่งตั้งให้อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีกับพรรคนาซีได้เป็นส่วนหนึ่งในรัฐบาลผสม นาซีได้แค่สองในสิบที่นั่งในคณะรัฐมนตรีที่เหลืออยู่ ฟ็อน พาเพิน ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีตั้งใจที่จะเป็น Éminence grise(ผู้มีอำนาจอยู่เบื้องหลัง) ที่คอยเฝ้าจับตาดูฮิตเลอร์ให้อยู่ภายใต้การควบคุม โดยใช้การเชื่อมโยงถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับฮินเดินบวร์ค ภายในเวลาไม่กี่เดือน กฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาคและรัฐบัญญัติมอบอำนาจ ปี ค.ศ. 1933 ได้นำไปสู่ภาวะฉุกเฉินของรัฐ: ได้ลบล้างการจัดการปกครองตามรัฐธรรมนูญและเสรีภาพของประชาชน การเถลิงอำนาจของฮิตเลอร์(มัคท์แอร์ไกรฟุง) ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลโดยกฤษฎีกาซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในนิติบัญญัติ ด้วยเหตุการณ์นี้ทำให้ยุคสาธารณรัฐสิ้นสุดลง-ระบอบประชาธิปไตยล่มสลาย การก่อตั้งรัฐที่มีพรรคเดียวได้เป็นจุดเริ่มต้นของยุคนาซี
จักรวรรดิเยอรมันและฝ่ายฝ่ายมหาอำนาจกลางได้ต่อสู้กับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 สงครามจบลงด้วยชีวิตของทหารและพลเรือนประมาณ 20 ล้านคน[12] โดยเป็นทหารเยอรมนีประมาณ 2,037,000 นาย และพลเรือนประมาณ 424,000[13]-763,000 คน[14][15] ส่วนมากเสียชีวิตจากโรคและความอดอยากซึ่งเป็นผลมาจากการปิดล้อมทางทะเลของฝ่ายสัมพันธมิตร
หลังจากสี่ปีของสงครามในหลายแนวรบในยุโรปและทั่วโลก การรุกคืบครั้งสุดท้ายในปฏิบัติการการรุกร้อยวันของฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1918 และทำให้ของเยอรมนีและฝ่ายมหาอำนาจกลางระส่ำระส่ายลง[16][17]และนำไปสู่การเรียกร้องสันติภาพ หลังจากข้อเสนอแรกถูกปฏิเสธโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ความอดอยากในช่วงสงครามหลายปีบวกกับการรับรู้ถึงความพ่ายแพ้ทางการทหาร[18]ได้ช่วยจุดชนวนการปฏิวัติเยอรมัน ในวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ได้มีการประกาศตั้งสาธารณรัฐ[19] และจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 ประกาศการสละราชสมบัติ[20] เป็นการสิ้นสุดจักรวรรดิเยอรมันและการเริ่มต้นของสาธารณรัฐไวมาร์ ตามมาด้วยการสงบศึกการสู้รบลงนามเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
เยอรมนีพ่ายแพ้ฝ่ายสัมพันธมิตรสงครามเนื่องจากต้องเผชิญความพ่ายแพ้ทางการทหารและทรัพยากรทางเศรษฐกิจกำลังหมดลงในขณะที่ปลายฤดูร้อนปี 1918 กองทหารสหรัฐที่เพิ่งมาถึงฝรั่งเศสในจำนวน 10,000 นายต่อวัน ในขณะที่การสนับสนุนของประชาชนเริ่มลดลงตั้งแต่ปี 1916 และในกลางปี 1918 ชาวเยอรมันจำนวนมากต้องการให้สงครามยุติลง จำนวนที่เพิ่มขึ้นนี้เริ่มมีการเชื่อมโยงกับการเมืองฝ่ายซ้าย เช่น พรรคสังคมประชาธิปไตยและพรรคสังคมประชาธิปไตยอิสระที่มีแนวคิดหัวรุนแรงนซึ่งเรียกร้องให้ยุติสงคราม เมื่อเป็นที่ประจักษ์แก่บรรดานายพลว่าความพ่ายแพ้ใกล้เข้ามาแล้ว นายพลเอริช ลูเดินดอร์ฟได้โน้มน้าวให้จักรพรรดิเห็นว่าเยอรมนีจำเป็นต้องสงบศึก แม้ว่ากำลังล่าถอย กองทัพเยอรมนียังคงอยู่ในดินแดนของฝรั่งเศสและเบลเยียมเมื่อสงครามสิ้นสุดลงในวันที่ 11 พฤศจิกายน เอริช ลูเดินดอร์ฟและเพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์คจึงเริ่มประกาศว่าการยอมรับความพ่ายแพ้ของพลเรือน โดยเฉพาะพวกสังคมนิยมนั้นทำให้ความพ่ายแพ้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ตำนานแทงข้างหลังถูกเผยแพร่โดยฝ่ายขวาตลอดช่วงทศวรรษที่ 1920 ทำให้มั่นใจว่ากลุ่มนิยมกษัตริย์และกลุ่มอนุรักษนิยมจำนวนมากจะปฏิเสธที่จะสนับสนุนรัฐบาลที่พวกเขาเรียกว่า "อาชญากรพฤศจิกายน"[21] ผลกระทบที่ไม่มั่นคงจากตำนานแทงข้างหลังมีต่อระบอบประชาธิปไตยไวมาร์เป็นปัจจัยสำคัญในการผงาดขึ้นของพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยม
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.