สัตว์มีกระดูกสันหลัง (อังกฤษ: vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
สัตว์มีกระดูกสันหลัง ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคแคมเบรียน - ปัจจุบัน[1] 525–0Ma[2] | |
---|---|
ตัวอย่างของสัตว์มีกระดูกสันหลัง: เสือโคร่งไซบีเรีย (เทเทรอพอด), ปลาปอดออสเตรเลีย (ปลากระดูกแข็ง), ปลาฉลามเสือ (ปลากระดูกอ่อน) และ ปลาแลมป์เพรย์แม่น้ำยุโรป (ปลาไม่มีขากรรไกร). | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
เคลด: | โอลแฟกทรีส Olfactores |
ไฟลัมย่อย: | สัตว์มีกระดูกสันหลัง Vertebrata J-B. Lamarck, 1801[3] |
การจัดกลุ่มแบบย่อ | |
| |
ชื่อพ้อง | |
Ossea Batsch, 1788[3] |
สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อ ๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยังช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ
วิวัฒนาการ
จากหลักฐานทางธรณีวิทยาพบว่า สัตว์มีกระดูกสันหลังพวกแรกคือออสตราโคเดิร์ม (ostracoderm) ซึ่งเป็นปลาไม่มีขากรรไกร ปัจจุบันสัตว์ในกลุ่มนี้ที่พบคือปลาปากกลม สัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ ที่พบในลำดับถัดมาคือปลามีขากรรไกรพวกแรก เรียกพลาโคเดิร์ม (placoderm) ซึ่งวิวัฒนาการต่อมาเป็นปลากระดูกแข็งและปลากระดูกอ่อนในปัจจุบัน ต่อมาจึงเกิดสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตามลำดับ
การจัดจำแนก
- ชั้นใหญ่พิสเซส ซึ่งเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เป็นสัตว์น้ำหายใจด้วยเหงือก ที่เหงือกมีช่องให้น้ำผ่านเข้าออก อาจมีแผ่นแข็งปกคลุมหรือมีผิวหนังปิด มีครีบใช้เคลื่อนไหวและทรงตัว มีหัวใจ 2 ห้อง เส้นประสาทสมอง 10 คู่ ปกคลุมตัวด้วยหนังหรือเกล็ด แบ่งได้เป็น 3 ชั้นคือ
- ชั้นอะแบทา ได้แก่ปลาปากกลม พบในเขตหนาว ไม่พบในประเทศไทย
- ชั้นคอนดริกไทออส ได้แก่ปลากระดูกอ่อน โครงสร้างเป็นกระดูกอ่อนทั้งหมด เช่น ปลากระเบน ปลาฉลาม ปลาฉนาก
- ชั้นออกตีอิกไทออส ได้แก่ปลากระดูกแข็ง เช่น ปลามีปอด ปลาหมอเทศ ปลาดุก
- ชั้นใหญ่เตราโปดา มีรยางค์ใช้ในการเคลื่อนไหว 2 คู่ หัวใจมี 3 – 4 ห้อง หายใจด้วยปอด แบ่งได้เป็น 4 ชั้นคือ
- ชั้นแอมฟิเบีย ได้แก่สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ คางคก เขียด ปาด อึ่งอ่าง ซาลาแมนเดอร์
- ชั้นเรปทิเลีย ได้แก่สัตว์เลื้อยคลาน เช่น เต่า ตะพาบน้ำ ตุ๊กแก กิ้งก่า จิ้งเหลน งู จระเข้
- ชั้นเอวีส ได้แก่สัตว์ปีก พวกนกต่าง ๆ
- ชั้นแมมมาเลีย ได้แก่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แบ่งได้อีกเป็น 2 ชั้นยอย คือ
- ชั้นย่อยโปรโตเทเรีย ออกลูกเป็นไข่ ได้แก่ ตุ่นปากเป็ดและอีคิดนา
- ชั้นย่อยเทเรีย ออกลูกเป็นตัว ได้แก่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เหลือเช่น จิงโจ้ ค้างคาว นิ่มเกล็ด กระต่าย กระรอก โลมา
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.