Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
The BMJ เป็นวารสารการแพทย์รายสัปดาห์ที่มีการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน โดยเป็นวารสารการแพทย์ทั่วไปที่เก่าที่สุดวารสารหนึ่งในโลก โดยดั้งเดิมเรียกว่า British Medical Journal ซึ่งย่อลงเหลือ BMJ ในปี 2531 และเปลี่ยนเป็น The BMJ ในปี 2557 เป็นวารสารที่ตีพิมพ์โดย BMJ Group ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของสมาคมการแพทย์อังกฤษ (British Medical Association) หัวหน้าบรรณาธิการคนปัจจุบันคือ พญ. ฟิโอนา ก็อดลี่ ผู้ได้รับแต่งตั้งเมื่อปี 2548[1]
สาขาวิชา | แพทยศาสตร์ |
---|---|
ภาษา | ภาษาอังกฤษ |
บรรณาธิการ | พญ. ฟิโอนา ก็อดลี่ |
รายละเอียดการตีพิมพ์ | |
ชื่อเดิม | Provincial Medical and Surgical Journal, British Medical Journal, BMJ |
ประวัติการตีพิมพ์ | 2383-ปัจจุบัน |
ผู้พิมพ์ | BMJ (สหราชอาณาจักร) |
ความถี่ในการตีพิมพ์ | รายสัปดาห์ |
การเข้าถึงแบบเปิด | ทันที บทความงานวิจัยเท่านั้น |
สัญญาอนุญาต | ครีเอทีฟคอมมอนส์ อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า |
ปัจจัยกระทบ | 17.445 (2557) |
ชื่อย่อมาตรฐาน | |
ISO 4 | BMJ |
การจัดทำดรรชนี | |
CODEN | DXRA5 |
ISSN | 0959-8138 1756-1833 |
LCCN | 97640199 |
JSTOR | 09598138 |
OCLC | 32595642 |
การเชื่อมโยง | |
ในปี 2557 ปัจจัยกระทบ (impact factor) ของวารสารอยู่ที่ 17.445[2] ซึ่งเป็นลำดับที่ 5 ในบรรดาวารสารการแพทย์ทั่วไป[3]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วารสารตีพิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2383 ในชื่อ Provincial Medical and Surgical Journal และได้รับความสนใจจากแพทย์ทั่วโลกเนื่องจากการตีพิมพ์งานวิจัยดั้งเดิมที่ทรงอิทธิพลและรายงานเค้สคนไข้ที่ไม่เหมือนใคร[4]
ในบทความหลักฉบับแรก บรรณาธิการได้ให้ข้อสังเกตว่า วารสาร "ได้รับโฆษณาสำหรับฉบับแรก เท่ากับวารสารการแพทย์ยอดนิยม (คือ เดอะแลนซิต) ทีได้ตีพิมพ์มาแล้ว 17 ปี"[4] จุดมุ่งหมายหลักของวารสารก็คือ ความก้าวหน้าของอาชีพ โดยเฉพาะนอกนครลอนดอน และการเผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์ บรรณาธิการรุ่นแรกยังสนใจในการโปรโมตความอยู่ดีมีสุขของสาธารณชน และการธำรงรักษา "ผู้ปฏิบัติทางการแพทย์ โดยเป็นชนชั้นทางสังคม เพราะเหตุของการเรียนรู้ทางสติปัญญา เหตุความมีศีลธรรม และเหตุความสำคัญของหน้าที่ที่ตนได้รับ"[4]
The BMJ เป็นวารสารที่ตีพิมพ์งานทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมที่จัดกลุ่มคนไข้โดยส่วนกลาง (centrally randomised controlled trial) งานแรก[5] วารสารยังตีพิมพ์บทความทรงอิทธิพลเกี่ยวกับผลของการสูบบุหรี่ต่อสุขภาพ[6][7] ต่อมะเร็งปอด และต่อเหตุความตายอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการสูบบุหรี่[8] โดยเป็นระยะเวลายาวนาน คู่แข่งเดียวที่มีของวารสารก็คือ เดอะแลนซิต (วารสารอันดับ 2 ตามปัจจัยกระทบ) ซึ่งอยู่ในสหราชอาณาจักรเหมือนกัน แต่เพราะเหตุแห่งโลกาภิวัตน์ วารสารได้เผชิญการแข่งขันที่หนักหน่วงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะจากวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ (วารสารอันดับ 1) และ JAMA (วารสารอันดับ 3)[9]
วารสารสนับสนุนเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน (evidence-based medicine) พิมพ์ทั้งงานวิจัยและงานทบทวนทางคลินิก (clinical review) ความก้าวหน้าทางการแพทย์เร็ว ๆ นี้ มุมมองของบรรณาธิการ และอื่น ๆ
วารสารมีฉบับที่มีประเด็นเกี่ยวกับเรื่องโดยเฉพาะ (theme issue) ทุก ๆ ปี ซึ่งวารสารจะพิมพ์งานวิจัยและงานทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นประเด็น ธีมที่นิยมในไม่กี่ปีที่ผ่านมารวมทั้ง สุขภาพในแอฟริกา การจัดการโรคเรื้อรัง[เมื่อไร?] และความจากทั่วโลกเรื่องความหายนะจากโรคเอดส์[ต้องการอ้างอิง]
มีฉบับคริสต์มาสพิเศษทุก ๆ ปี พิมพ์ในวันศุกร์ก่อนวันคริสต์มาส เป็นฉบับที่รู้จักกันในฐานที่มีบทความงานวิจัยที่ใช้วิธีการทางวิทยาการแบบเคร่งครัดเพื่อตรวจสอบปัญหาการแพทย์ที่ไม่ใช่เป็นเรื่องจริงจัง[10][11][12] ผลที่ได้บ่อยครั้งเป็นความขบขันที่รายงานอย่างกว้างขวางในสื่อมวลชน[11][13]
วารสารโดยหลักเป็นวารสารออนไลน์ และเป็นเว็บไซท์วารสารเดียวที่มีเนื้อหาสมบูรณ์สำหรับบทความทุกบทความ แต่ว่า ก็มีฉบับพิมพ์ด้วยที่มีเป้าหมายเป็นกลุ่มต่าง ๆ โดยมีเนื้อหาต่าง ๆ กัน ซึ่งบางครั้งเป็นแบบย่อ และมีโฆษณาที่ต่าง ๆ กัน[14] ฉบับพิมพ์รวมทั้ง
นอกจากนั้นแล้ว ยังมีฉบับพื้นที่ที่เป็นฉบับแปล และก็ยังมี Student BMJ ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลออนไลน์สำหรับนักศึกษาแพทย์ หมอใหม่ และผู้ที่กำลังสมัครเข้ามหาวิทยาลัยแพทย์ โดยพิมพ์ 3 ครั้งต่อปี มีชุมชนออนไลน์ที่มีสมาชิกทั่วโลก คือ Doc2Doc
วารสารมีระบบการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันแบบเปิด (open peer review) ที่ผู้เขียนจะรู้ว่าใครเป็นคนทบทวนต้นฉบับของตน บทความดั้งเดิมประมาณครึ่งหนึ่งจะถูกปฏิเสธโดยการทบทวนภายใน[15] ผู้เชี่ยวชาญภายนอกจะเป็นผู้ทบทวนต้นฉบับที่ได้รับเลือกเพื่อทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันในส่วนเบื้องต้น ผู้จะแสดงความสำคัญและความเหมาะสมในการตีพิมพ์ของต้นฉบับ ก่อนที่คณะบรรณาธิการจะตัดสินใจว่าจะพิมพ์บทความไหน อัตราการพิมพ์ต้นฉบับน้อยกว่า 7 เปอร์เซ็นต์สำหรับงานวิจัยดั้งเดิม[16]
วารสารอยู่ในดัชนีสำคัญ ๆ รวมทั้ง PubMed, MEDLINE, EBSCO และ Science Citation Index วารสารไม่เห็นด้วยมานานเกี่ยวกับการใช้ปัจจัยกระทบ (impact factor) อย่าง ๆ ผิดในการตัดสินให้เงินทุนงานวิจัย และการค้นหาเลือกรับนักวิจัยของสถาบันวิชาการ[17]
วารสาร 5 วารสารที่อ้างอิง The BMJ มากที่สุดโดยปี 2551 คือ The BMJ, Cochrane Database of Systematic Reviews, The Lancet, BMC Public Health และ BMC Health Services Research[18] ส่วนวารสาร 5 วารสารที่บทความของ The BMJ อ้างอิงมากที่สุดก็คือ The BMJ, The Lancet, The New England Journal of Medicine, Journal of the American Medical Association และ Cochrane Database of Systematic Reviews[18]
ตาม Web of Science ซึ่งเป็นบริการดัชนี[18] บทความต่อไปนี้ของวารสารมีการอ้างอิงมากที่สุด โดยปี 2553 คือ
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์){{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์){{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)โดยปี 2557 บทความที่เปิดดูมากที่สุดบทเว็บไซท์ของวารสารคือ[19]
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)วารสารเปิดออนไลน์อย่างสมบูรณ์ในปี 2538 และเก็บไฟล์อย่างถาวรบนเว็บ จุดสนใจหลักรวมทั้งเนื้อหาที่มีในฉบับพิมพ์ สิ่งสนับสนุนบทความงานวิจัยดั้งเดิม ข่าวเพิ่มเติม และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งไปหาบรรณาธิการ วารสารมีนโยบายที่จะพิมพ์จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งไปหาวารสารโดยมาก เป็นนโยบายที่เรียกว่า Rapid Responses[20] ซึ่งทำเหมือนกับเว็บบอร์ดที่มีคนดูแล โดยเดือนมกราคม 2556 มีจดหมายกว่า 88,500 ฉบับที่โพสต์ในเว็บของวารสาร[21] ข้อความที่โพสต์มีการตรวจกลั่นกรองในเรื่องเนื้อหาที่หมิ่นประมาทหรือหยาบคาย แต่ว่า คนที่โพสต์ข้อความจะได้คำเตือนว่า หลังจากที่โพ้สต์ข้อความ จะไม่มีสิทธิลบหรือแก้ไขโพ้สต์[21] ตั้งแต่ปี 2542 เนื้อหาทั้งหมดของวารสารเข้าถึงได้ฟรีออน์ไลน์ แต่ตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 การเข้าถึงเนื้อหาที่เพิ่มคุณค่า รวมทั้งการทบทวนทางคลินิก (clinical reviews) และบทความบรรณาธิการ จะต้องสมัครเป็นสมาชิก แต่ว่า ผู้ที่เข้าดูเว็บจากประเทศที่ยากจนสามารถเข้าถึงเนื้อหาฟรีได้ทั้งหมด โดยเป็นส่วนของโครงการ HINARI แต่ไม่รวมประเทศไทยในปี 2559[2][22]
วันที่ 14 ตุลาคม 2551 วารสารประกาศว่าจะเปลี่ยนเป็นวารสารที่เปิดให้เข้าถึงได้อย่างเสรี แต่นี่หมายถึงงานวิจัยเท่านั้น สำหรับบทความประเภทอื่น จะต้องเป็นสมาชิก[23]
วารสารมีบริการฟรีส่งข้อความแจ้ง คือ[24]
ในเดือนมกราคม 2554 วารสารเริ่มให้ใช้แอปพลิเคชันสำหรับไอแพดที่แสดงเนื้อหาของวารสาร โดยรวมงานวิจัย ข้อคิดเห็น การศึกษา ข่าว บล็อก พอดแคสต์ และวิดีโอ ที่เลือกสรรจากที่จะปรากฏบนเว็บไซท์
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.