Loading AI tools
สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (อังกฤษ: Thai PBS) เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะแห่งแรกของประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1] ดำเนินการโดยองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ออกอากาศแทนสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 ก่อนแพร่ภาพอย่างเป็นทางการในอีก 1 เดือนต่อมา และเป็นฟรีทีวีแห่งแรกของประเทศไทยที่ออกอากาศโทรทัศน์ความละเอียดสูง สัดส่วนภาพ 16:9 โดยนำร่องทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ก่อนเริ่มให้บริการทางโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในอีก 3 ปีถัดมา ทางช่องหมายเลข 3
ไฟล์:ThaiPBS 2015.svg | |
ชื่ออื่น | Thai Public Broadcasting Service Television (Thai PBS) |
---|---|
ประเทศ | ไทย |
พื้นที่แพร่ภาพ | ไทย |
เครือข่าย | สถานีโทรทัศน์/สถานีวิทยุ ช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการสาธารณะ |
คำขวัญ | สื่อสาธารณะ คุณค่าที่ยึดโยงประชาชน (เดิม ไทยพีบีเอส ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ) |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 145 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร |
แบบรายการ | |
ระบบภาพ | 576i (16:9 ภาพคมชัดมาตรฐาน, ทีวีดาวเทียมระบบเคยูแบนด์) 1080i (16:9 ภาพคมชัดสูง, ทีวีดิจิทัล, ทีวีดาวเทียมระบบซีแบนด์) 1080p (16:9 ภาพคมชัดสูง, ออนไลน์) |
ความเป็นเจ้าของ | |
เจ้าของ | องค์การกระจายเสียงและ แพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย |
บุคลากรหลัก |
|
ช่องรอง | ไทยพีบีเอส เรดิโอออนไลน์ เอแอลทีวี 4 วิภา (VIPA) |
ประวัติ | |
เริ่มออกอากาศ | สถานีโทรทัศน์เสรี 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 | เปลี่ยนผ่านเป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะ15 มกราคม พ.ศ. 2551
แทนที่โดย |
|
ชื่อเดิม |
|
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | www |
ออกอากาศ | |
ภาคพื้นดิน | |
ดิจิทัล | ช่อง 3 (มักซ์#4 : ส.ส.ท.) |
เคเบิลทีวี | |
ช่อง 3 | |
ทีวีดาวเทียม | |
สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส | ช่อง 3 |
ไทยคม 6 C-Band | 4007 H 15000 |
ไทยคม 8 KU-Band | 11560 H 30000 |
สถานีวิทยุไทยพีบีเอสออนไลน์ | ช่อง 3 |
สื่อสตรีมมิง | |
ThaiPBS | ชมรายการสด |
เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550 มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อลงมติแปรสภาพ 1 ใน 2 กิจการสถานีโทรทัศน์ที่กรมประชาสัมพันธ์กำกับดูแล คือสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.) และสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะตามข้อเสนอของทางภาครัฐ ผลปรากฏว่ามติเสียงข้างมาก 106 ต่อ 44 เสียง ให้แปรสภาพทีไอทีวีเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะ
ดังนั้น หลังจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 กรมประชาสัมพันธ์จึงมีคำสั่งให้ทีไอทีวียุติการออกอากาศในระบบยูเอชเอฟ ช่อง 29 เมื่อเวลา 00:01 น. ของวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 และเมื่อเวลา 00.08 น. ได้เปลี่ยนมาออกอากาศนโยบายของสถานีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะ จากนั้นเป็นสารคดีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อย่างต่อเนื่อง ในนาม สถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอส ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 โดยทั้งหมดส่งสัญญาณจากอาคารที่ทำการของ สทท. ถนนกำแพงเพชร 7 (ปัจจุบันเป็นอาคารที่ทำการสำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์) จนถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นเวลา 16 วัน
ภายหลังการออกอากาศของสถานีไม่กี่ชั่วโมง คณะรัฐมนตรีเห็นชอบคณะกรรมการนโยบายชั่วคราวของ ส.ส.ท. จำนวน 5 คน ประกอบด้วย ขวัญสรวง อติโพธิ, อภิชาต ทองอยู่, ณรงค์ ใจหาญ, นวลน้อย ตรีรัตน์ และเทพชัย หย่อง โดยให้ปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะมีคณะกรรมการนโยบายจากการสรรหาตามกฎหมาย และในวันเดียวกัน คณะกรรมการนโยบายชั่วคราวของ ส.ส.ท. ได้แถลงข่าวที่โรงแรมเรดิสัน และแต่งตั้งขวัญสรวงเป็นประธานกรรมการ และมีเทพชัยรักษาการผู้อำนวยการสถานี และเปิดตัวโลโก้ของสถานีใหม่[2]
ในวันที่ 17 มกราคม เวลา 15:30 น. ส.ส.ท. จึงเริ่มดำเนินการในนาม สถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอส อย่างเต็มตัว โดยได้ทดลองออกอากาศรายการพิเศษ "นับหนึ่งโทรทัศน์สาธารณะไทย TPBS" จากห้องส่ง สทท. เป็นครั้งแรก และนับเป็นรายการสดที่ออกอากาศจริงทางทีพีบีเอสเป็นครั้งแรก โดยเนื้อหาของรายการเป็นการอธิบายและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาที่ไปของสถานีโทรทัศน์[3] ดำเนินรายการโดย ณาตยา แวววีรคุปต์ อดีตผู้สื่อข่าวในสมัยไอทีวีชุดกบฏไอทีวี และมีผู้ร่วมรายการประกอบด้วย ขวัญสรวง อติโพธิ, ณรงค์ ใจหาญ, อภิชาต ทองอยู่ กรรมการนโยบายชั่วคราวของ ส.ส.ท. และอนุสรณ์ ศรีแก้ว คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต หลังจากนั้น ทีพีบีเอสก็กลับมาออกอากาศสารคดีอย่างต่อเนื่อง
1 กุมภาพันธ์ ได้เปลี่ยนชื่อจากทีพีบีเอสเป็น สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส แต่ยังคงใช้ตราสัญลักษณ์เดิม เพียงเปลี่ยนชื่อด้านล่าง พร้อมทั้งประกาศผังรายการใหม่ในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ เพื่อทดลองออกอากาศในระยะแรก ระหว่างวันที่ 1 - 14 กุมภาพันธ์ และกลับไปส่งสัญญาณที่ช่องความถี่โทรทัศน์เดิม (ยูเอชเอฟช่อง 29 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล) อีกครั้ง จากสำนักงานเดิมของไอทีวีและทีไอทีวี คืออาคารชินวัตร 3 ถนนวิภาวดีรังสิต
ในระยะนี้มีรายการสำคัญ คือ ร่วมคิด ร่วมสร้าง ไทยพีบีเอส ในเวลา 20.00 น. ซึ่งเป็นรายการสด จัดโดยฝ่ายข่าวและฝ่ายรายการ เพื่อรับฟังความคิดเห็นถึงทัศนคติว่าด้วยทีวีสาธารณะ และความเหมาะสมในการออกอากาศรายการประเภทต่าง ๆ ในแต่ละช่วงจากตัวแทนภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม[4] แม้ยังไม่ออกอากาศรายการข่าว แต่ได้ทดลองนำเสนอข่าวโดยส่งผู้สื่อข่าวไปสัมภาษณ์ ณ ทำเนียบรัฐบาล
15 กุมภาพันธ์ เริ่มเปิดสถานีในเวลา 05.00 น. และอีก 1 ชั่วโมงต่อมาเริ่มออกอากาศรายการข่าวรายการแรกคือ ข่าวเช้า โดยมีผู้ประกาศข่าวคู่แรกของช่อง คือภัทร จึงกานต์กุล และปิยณี เทียมอัมพร และช่วงเวลาที่เหลือเป็นการฉายสารคดีที่ฉายในช่วงทดลองออกอากาศอยู่เดิม[5]
ส่วนฝ่ายข่าว ส.ส.ท. เห็นชอบให้อดีตพนักงานฝ่ายข่าวของทีไอทีวีเดิม จำนวน 274 คน จากทั้งหมด 399 คนให้กลับเข้ามาทำงานที่สถานีอีกครั้งชั่วคราวเป็นเวลา 3 เดือน[6] รวมถึงทีมข่าวกีฬาชุดเดิมของทีไอทีวีด้วย และยังมีผู้สมัครจากภายนอกมาทำงานไปพลางก่อนในระยะเริ่มแรก ระหว่างนั้นสถานีได้ปรับผังรายการเป็นระยะ ๆ
1 เมษายน ส.ส.ท. ได้จัดงานเปิดตัวอัตลักษณ์ใหม่ของสถานีฯ ตามที่ได้จัดประกวดไป[7] พร้อมเปลี่ยนชื่อสถานีอีกครั้งเป็น ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ ส่วนชื่อไทยพีบีเอสใช้เป็นชื่อของ ส.ส.ท. เท่านั้น (ถึงแม้ยังจะมีชื่อ Thai PBS อยู่ในอัตลักษณ์ก็ตาม)[8] ต่อมาในวันที่ 1 พฤษภาคม ได้ปรับผังรายการให้มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน รวมถึงความบันเทิงเชิงสาระมากขึ้น[9] โดยตราสัญลักษณ์รูปแบบใหม่มีข้อความ ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ ต่อท้าย ขณะที่ปรากฏขึ้นในกราฟิกขึ้นต้นรายการ และกราฟิกของทุกช่วงข่าวด้านล่าง
วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552 ในโอกาสครบรอบ 1 ปี จึงปรับผังรายการรวมถึงเปลี่ยนฉากและรูปแบบของอัตลักษณ์อีกครั้ง เป็นลายเส้นภาพนกเช่นเดิม แต่เปลี่ยนเป็นสีส้มอมแดง ลอยตัวอยู่เหนือตัวอักษร ทีวีไทย โดยระบุชื่อสถานีฯ ว่า สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย พร้อมทั้งปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีความทันสมัยมากขึ้น
ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554 ได้เปลี่ยนชื่อสถานีโทรทัศน์กลับไปเป็น ไทยพีบีเอส เหมือนกับในช่วงที่เริ่มออกอากาศ 3 เดือนแรก แต่เปลี่ยนจากคำว่า ไทย เป็น Thai และใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Thai PBS และได้เตรียมการขั้นสุดท้ายก่อนย้ายที่ทำการไปยังที่ทำการถาวร โดยก่อนหน้านั้น ส.ส.ท. ได้เปลี่ยนการเรียกชื่อสถานีในรายการข่าวทุกช่วง โดยให้เรียกว่า "ไทยพีบีเอส" ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554 เริ่มตั้งแต่ช่วงทันข่าว 10.00 น. เป็นครั้งแรก นอกจากนี้ยังได้เปลี่ยนชื่อสถานีก่อนล่วงหน้าในไตเติ้ลรายการรวมถึงในเว็บไซต์ของสถานีด้วย[10] โดยรายการสุดท้ายที่ออกอากาศ ณ ที่ทำการชั่วคราว คือ ข่าวดึก และสิ้นสุดการออกอากาศในวันที่ 21 พฤษภาคม เวลา 00.30 น.
ในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ส.ส.ท. ได้ย้ายที่ทำการไปยังที่ทำการถาวร ข้างสโมสรตำรวจ ถนนวิภาวดีรังสิต และเริ่มออกอากาศโทรทัศน์ความละเอียดสูง (HD) สัดส่วน 16:9 เป็นฟรีทีวีแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งแต่เวลา 00.30 น. ของวันดังกล่าวเป็นต้นไป ในส่วนของโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ขณะที่ในโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกยังคงออกอากาศด้วยโทรทัศน์ความละเอียดมาตรฐาน (SD) สัดส่วน 4:3 ตามเดิม[11]
ในช่วงอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ไทยพีบีเอสทำข่าวประจำวันได้ยากลำบากมาก จึงตั้งศูนย์ข่าวเฉพาะกิจ ไทยพีบีเอส-จุฬา นิวส์ เซ็นเตอร์ ที่ศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านสื่อดิจิทัล อาคารมงกุฎสมมติวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้สามารถรายงานข่าวได้อย่างต่อเนื่อง โดยเตรียมระบบการออกอากาศตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน และมีฝ่ายข่าวบางส่วนมาทำงานที่ศูนย์ข่าวเฉพาะกิจเพื่อผลิตข่าว[12] หลังออกอากาศได้ประมาณ 20 วัน สถานการณ์น้ำท่วมโดยเฉพาะหน้าสำนักงานใหญ่ดีขึ้น ไทยพีบีเอสจึงกลับมาออกอากาศที่สำนักงานใหญ่ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน[13]
ในวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมายังที่ทำการ ส.ส.ท. ทรงกดปุ่มเปิดแพรคลุมป้ายชื่ออาคารสำนักงานใหญ่ ในโอกาสนี้ทอดพระเนตรห้องออกอากาศ ส่วนปฏิบัติงานต่าง ๆ รวมทั้งห้องออกอากาศ 1 ที่ใช้สำหรับออกอากาศข่าว จากนั้นทรงทดลองอ่านข่าวซึ่งทางกองบรรณาธิการได้ถวายบทข่าวและถวายคำแนะนำในการอ่านข่าว และวิธีการใช้อุปกรณ์สำหรับผู้ประกาศข่าว จากนั้นทอดพระเนตรห้องออาอากาศรายการต่าง ๆ และห้องควบคุมระบบการออกอากาศ 24 ชั่วโมง[14]
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557 ไทยพีบีเอสได้ปรับเปลี่ยนสัดส่วนภาพออกอากาศในระบบ SD จาก 4:3 (แบบ Center Crop ภาพจากระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูง) เป็น 16:9 (Anamophic) เพื่อรองรับการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ซึ่งได้เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ทางช่องหมายเลข 3
วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2561 ไทยพีบีเอสดำเนินกิจการครบรอบ 10 ปี รศ.ดร. วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ได้ประกาศนโยบาย 10 ข้อ เรียกว่า "10 ทิศทางกับก้าวใหม่ไทยพีบีเอส" เพื่อปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในโลกยุคดิจิทัล มุ่งหวังให้คนไทยเข้าถึงเนื้อหาของสื่อสาธารณะให้มากที่สุด[15]
เป็นการจัดตั้งสถานีเครื่องส่งสัญญาณโทรทัศน์ในจังหวัดหรืออำเภอต่าง ๆ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง โดยใช้คลื่นความถี่ยูเอชเอฟ ช่อง 29 (จากสถานีที่กรุงเทพมหานครซึ่งส่งจากอาคารใบหยก 2) ซึ่งเป็นช่องเดิมของไอทีวีและทีไอทีวี และใช้มาตรฐานการแพร่ภาพระบบแพล
ระบบเสียงที่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสส่งออกอากาศประกอบด้วยระบบเสียงโมโน และดิจิทัลนิแคมสเตริโอ
ไทยพีบีเอสมีสถานีส่งสัญญาณภาคพื้นดินเป็นจำนวน 52 สถานี แบ่งเป็นในกรุงเทพมหานคร 2 สถานี ภาคเหนือ 14 สถานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13 สถานี ภาคกลางและตะวันออก 11 สถานี และภาคใต้ 12 สถานี โดยส่งสัญญาณในระบบยูเอชเอฟ[16]
ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556 ไทยพีบีเอสได้เริ่มทดลองออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล มาตรฐาน DVB-T2 ร่วมกับสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ซึ่งสามารถรับชมได้ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ผ่านกล่องรับสัญญาณหรือโทรทัศน์ที่รองรับระบบดิจิทัลภาคพื้นดิน[17]
1 เมษายน พ.ศ. 2557 ไทยพีบีเอสได้เริ่มการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล มาตรฐาน DVB-T2 โดยใช้โครงข่ายของตัวเองที่ MUX 4 (กรุงเทพมหานคร ออกอากาศระบบยูเอชเอฟ ช่อง 44) ทางช่องหมายเลข 3 ผ่านทางกล่องรับสัญญาณหรือโทรทัศน์ที่รองรับระบบดิจิทัลภาคพื้นดิน
ไทยพีบีเอสได้ทำการยุติการออกอากาศโทรทัศน์ระบบแอนะล็อก โดยมีแผน 10 ระยะ ตามที่ได้ส่งไปยัง กสทช. โดยดำเนินการแบบ "ป่าล้อมเมือง" จากสถานีระดับอำเภอไปหาสถานีระดับจังหวัด จากสถานีเสริมไปยังสถานีหลัก โดยเริ่มยุติการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบแอนะล็อกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558 จากสถานีส่ง 2 แห่ง คืออำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ และทยอยยกเลิกการออกอากาศระบบแอนะล็อกไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งยุติการออกอากาศใน 3 สถานีสุดท้าย ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (ณ อาคารใบหยก 2) จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เวลา 00:01 น.[18]
ในการแพร่สัญญาณภาพดิจิทัลผ่านดาวเทียม ไทยพีบีเอสแพร่ภาพผ่านดาวเทียมไทยคม 5 ย่านความถี่ซีแบนด์ โดยครอบคลุมประเทศไทยทั้งประเทศ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก
ในอดีต ไทยพีบีเอสเริ่มแพร่ภาพออกอากาศมาตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 ทางดาวเทียมไทยคม 2 ความถี่ 4145 อัตราสัญลักษณ์ 4815 แนวนอน แต่เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 ไทยพีบีเอสได้ย้ายส่งสัญญาณจากดาวเทียมไทยคม 2 มาเป็นไทยคม 5 จึงปรับความถี่ใหม่เป็นที่ 3985 อัตราสัญลักษณ์ 4815 แนวตั้ง และปัจจุบัน ได้ย้ายความถี่ซีแบนด์เป็นความถี่ 4017 อัตราสัญลักษณ์ 1800 แนวตั้ง โดยความถี่เดิมได้ยกเลิกไปแล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ไทยพีบีเอสส่งสัญญาณโทรทัศน์ความละเอียดสูง ในระบบ DVB-S2 MPEG4 AVC ผ่านดาวเทียมไทยคม 5 ย่านซีแบนด์ ที่ความถี่ 4012 อัตราสัญลักษณ์ 6400 แนวตั้ง ซึ่งสถานีออกอากาศระบบความคมชัดปกติควบคู่กันไปในความถี่เดิม[19]
ตั้งแต่เวลา 02.30 น. ของวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558 - 28 เมษายน พ.ศ. 2559 ไทยพีบีเอสปรับเปลี่ยนความถี่ดาวเทียมและพารามิเตอร์ใหม่ในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ความละเอียดสูง ที่ความถี่ 3991 เมกะเฮิรตซ์ อัตราสัญลักษณ์ 15 เมกะสัญลักษณ์ต่อวินาที FEC 4/5 กระจายสัญญาณแนวตั้ง[20]
แต่หลังจากนั้นไม่นาน สัญญาณคลื่นความถี่เดิมมีปัญหารบกวน จึงทำให้ทางไทยพีบีเอสปรับเปลี่ยนความถี่ดาวเทียมและพารามิเตอร์ใหม่ในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ความละเอียดสูง ที่ความถี่ 4007 เมกะเฮิรตซ์ อัตราสัญลักษณ์ 15 เมกะสัญลักษณ์ต่อวินาที FEC 4/5 กระจายสัญญาณแนวตั้ง ตั้งแต่เวลา 02.30 น. ของวันที่ 28 เมษายน - 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
ไทยพีบีเอสได้ย้ายส่งสัญญาณจากดาวเทียมไทยคม 5 มาเป็นไทยคม 6 ปรับเปลี่ยนความถี่ดาวเทียมและพารามิเตอร์เดิมในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ความละเอียดสูงอีกครั้ง ที่ความถี่ 4007 เมกะเฮิรตซ์ อัตราสัญลักษณ์ 15 เมกะสัญลักษณ์ต่อวินาที FEC 4/5 กระจายสัญญาณแนวนอน ตั้งแต่เวลา 02.30 น. ของวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน
ไทยพีบีเอสเคยทำการถ่ายทอดสดออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ในชื่อ ThaiPBS Web TV ผ่านทางเว็บไซต์ของไทยพีบีเอสเอง และ Youtube ThaiPBS
ต่อมาในปี พ.ศ. 2559 ไทยพีบีเอสขยายการออกอากาศไปยังเฟซบุ๊กในหน้าเพจของไทยพีบีเอสเอง โดยออกอากาศรายการข่าวประจำวันและรายการต่าง ๆ คู่ขนานไปกับช่องทางปกติของไทยพีบีเอส
รายนามผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส มีดังต่อไปนี้
สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส | |
รายนามผู้อำนวยการ | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
1. เทพชัย หย่อง | 15 มกราคม พ.ศ. 2551 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2551 (รักษาการผู้อำนวยการสถานีตามมติคณะกรรมการนโยบายชั่วคราว ส.ส.ท.) |
10 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | |
2. สมชัย สุวรรณบรรณ | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558[21] |
3. พวงรัตน์ สองเมือง | 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558[22] - 31 มกราคม พ.ศ. 2559 (ผู้อำนวยการสำนักรายการ รักษาการผู้อำนวยการสถานีตามมติคณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท.) |
4. ทันตแพทย์ กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 - 15 มีนาคม พ.ศ. 2560[23] |
5. อนุพงษ์ ไชยฤทธิ์ | 16 มีนาคม[24] - 15 เมษายน พ.ศ. 2560 (รองผู้อำนวยการสถานี รักษาการผู้อำนวยการสถานี) |
6. ก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ | 16 เมษายน[25] - 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 (ผู้อำนวยการสำนักข่าว รักษาการผู้อำนวยการสถานีตามมติคณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท.) |
7. รองศาสตราจารย์ วิลาสินี พิพิธกุล | 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน[26] |
รายการข่าว | ผู้ประกาศข่าว |
---|---|
วันใหม่ไทยพีบีเอส วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 05:00 - 07:00 น. |
เฌอศานต์ ศรีสัจจัง สิริมา ทรงกลิ่น ภัทรชัย ปราชญ์อุดม |
มุมการเมือง วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 07:00 - 08:00 น. |
อุรชัย ศรแก้ว ปวีณา ฟักทอง อนุชา ขำดวง ประจักษ์ มะวงษ์สา |
วันใหม่วาไรตี้ วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08:00 - 10:00 น. |
อธิวัฒน์ ธีรนิธิศนันท์ ชไมพร เห็นประเสริฐ ภัชชาร์ ภัทรเดชาธรรม พิชญาพร โพธิ์สง่า |
ไทยบันเทิง วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 10:00 - 10:30 น. และ 16:45 - 17:00 น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 20:15 - 20:30 น. |
เวณิกา วิชัยวัฒนา กริษฐา ดีมี อภิยา ฉายจันทร์ทิพย์ อัญชลี โปสุวรรณ กวินภพ พันธุฤกษ์ |
จับตาสถานการณ์ วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 10:30 - 12:00 น. |
จีรชาตา เอี่ยมรัศมี พรวดี ลาทนาดี |
ตรงประเด็น วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 12:00 - 12:30 น. |
บุศย์สิรินทร์ ยิ่งเกียรติกุล |
จับตารอบทิศ วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 12:30 - 13:00 น. |
เฌอศานต์ ศรีสัจจัง อรสินี อมรโมฬี |
สถานีประชาชน วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 14:00 - 15:00 น. |
ธีรเดช งามเหลือ ธิดารัตน์ อนันตรกิตติ |
ทุกทิศทั่วไทย วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 15:30 - 16:00 น. |
ชินดนัย มีชัย |
ทันข่าว 16:00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 16:00 - 16:30 น. |
ผึ้งนภา คล่องพยาบาล |
Policy Watch จับตาอนาคตประเทศไทย วันจันทร์ - วันพฤหัสบดี เวลา 17:30 - 18:00 น. |
วิภาพร วัฒนวิทย์ อุรชัย ศรแก้ว บุศย์สิรินทร์ ยิ่งเกียรติกุล |
ข่าวค่ำมิติใหม่ วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 18:50 - 20:30 น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 18:00 - 20:15 น. |
เจษฎา จี้สละ วันวิสาข์ ทินวัฒน์ พิมพิมล ปัญญานะ สิริมา ทรงกลิ่น |
ข่าวในพระราชสำนัก วันจันทร์ - วันอาทิตย์ เวลา 20:00 - 20:15 น. |
อรนิศวร์ เพชรวงศ์ศิริ ชินดนัย มีชัย วรรณชนก สังขเวช |
ตอบโจทย์ วันจันทร์ - วันพฤหัสบดี เวลา 20:30 - 21:00 น. |
อภิรักษ์ หาญพิชิตวณิชย์ |
ทันโลก กับ Thai PBS วันจันทร์ - วันพฤหัสบดี เวลา 21:00 - 21:30 น. |
พงศธัช สุขพงษ์ |
คุยนอกกรอบ กับ สุทธิชัย หยุ่น วันพฤหัสบดี เวลา 21:30 - 22:00 น. |
สุทธิชัย หยุ่น |
คุยให้คิด วันศุกร์ เวลา 21:30 - 22:30 น. |
สุทธิชัย หยุ่น วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ วีระ ธีรภัทร |
This Week with Thai PBS World วันศุกร์ เวลา 22:30 - 23:00 น. |
ดลยณา บุนนาค |
ข่าวดึก วันจันทร์ - วันอาทิตย์ เวลา 23:00 - 23:30 น. |
อรสินี อมรโมฬี พิมพิมล ปัญญานะ |
ชั่วโมงข่าว เสาร์ - อาทิตย์ วันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 08:30 - 10:00 น. |
อนุชา ขำดวง ปวีณา ฟักทอง |
สีสันทันโลก วันเสาร์ เวลา 11:30 - 12:00 น. |
วินิจฐา จิตร์กรี ทิพย์ตะวัน ธีรนัยพงศ์ |
ข่าวเที่ยง วันเสาร์ - วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 12:00 - 13:00 น. |
ปวีณา ฟักทอง ภัทรชัย ปราชญ์อุดม อนุชา ขำดวง อรสินี อมรโมฬี |
สุดสัปดาห์ กีฬามันส์ วันอาทิตย์ เวลา 13:30 - 14:00 น. |
อินทัช เพชรประสมกูล วิริยะ ตันนุกูลกิจ |
ข่าวเจาะย่อโลก วันเสาร์ เวลา 19.20 - 19.50 น. ในข่าวค่ำมิติใหม่ |
เจษฎา จี้สละ |
ห้องข่าว ไทยพีบีเอส Newsroom วันอาทิตย์ เวลา 19.20 - 19.50 น. ในข่าวค่ำมิติใหม่ |
ก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ |
ทันข่าว วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 14:00 น. และ 15:00 น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 06:00 น., 14:00 น., 16:00 น. และ 17:00 น. |
ทีมข่าวไทยพีบีเอส |
สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสได้รับรางวัลดังนี้[27]
สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสได้รับ 8 รางวัล ดังต่อไปนี้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.