ธรรมนูญแห่งเวสต์มินสเตอร์ ค.ศ. 1931 (อังกฤษ: Statute of Westminster, 1931)[lower-alpha 1] เป็นพระราชบัญญัติแห่งสหราชอาณาจักรที่กำหนดหลักการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรเครือจักรภพกับพระมหากษัตริย์ (The Crown)[1]

ข้อมูลเบื้องต้น ชื่อเต็ม, อ้างอิง ...
ธรรมนูญแห่งเวสต์มินสเตอร์[lower-alpha 1]
ค.ศ. 1931
พระราชบัญญัติ
Thumb
ชื่อเต็มพระราชบัญญัติเพื่อมีผลบังคับใช้มติที่ผ่านการรับรองในการประชุมจักรวรรดิใน ค.ศ. 1926 และ ค.ศ. 1930
อ้างอิง1931 บท 4
เสนอโดยเจมส์ เฮนรี โธมัส (รัฐมนตรีว่าการอาณานิคม)
เขตอำนาจสหราชอาณาจักร
ออสเตรเลีย
แคนาดา
เสรีรัฐไอริช
นิวฟันด์แลนด์
นิวซีแลนด์
แอฟริกาใต้
วาระ
ได้รับพระบรมราชานุญาต11 ธันวาคม ค.ศ. 1931
สถานะ: มีการแก้ไขเพิ่มเติม
เนื้อความของกฎหมายตามที่ตราขึ้นในครั้งแรก
เนื้อความที่ปรับปรุงตามการแก้ไขเพิ่มเติม
ปิด

ผ่านเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1931 โดยผลของธรรมนูญ[2]ทำให้ประเทศในเครือจักรภพทั้งหลายในจักรวรรดิอังกฤษที่มีความสามารถในการปกครองตนเองระดับหนึ่งสามารถมีเอกราชทางนิติบัญญัติได้อย่างสมบูรณ์จากสหราชอาณาจักร และยังมีผลบังคับให้ประเทศเหล่านี้ต้องได้รับการรับรองของกันและกันในประเด็นของการเปลี่ยนแปลงพระอิสริยยศแห่งพระมหากษัตริย์และการสืบราชสันตติวงศ์ โดยธรรมนูญนี้สามารถมีผลบังคับใช้ได้ทันทีหรือภายหลังการให้สัตยาบัน จึงทำให้หลักการด้านความเท่าเทียมกันและการยอมรับต่อพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรตามที่กล่าวไว้ในคำประกาศบัลโฟร์ ค.ศ. 1926 ที่เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นนั้นชอบด้วยกฎหมาย

ธรรมนูญนี้ได้ถอดถอนอำนาจแทบทั้งหมดของรัฐสภาสหราชอาณาจักรในการตรากฎหมายสำหรับประเทศในเครือจักรภพ ซึ่งมีผลทำให้ประเทศเหล่านี้มีเอกราชเป็นของตนเองโดยปริยาย ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการเปลี่ยนผ่านจากความเป็นประเทศในเครือจักรภพไปสู่รัฐเอกราชโดยสมบูรณ์

การมีผลบังคับใช้

ออสเตรเลีย

Thumb
ภาพวาด "The Big Picture" แสดงการเปิดสมัยประชุมรัฐสภาออสเตรเลีย เมื่อ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1901 โดยจิตรกร ทอม รอเบิร์ต

ออสเตรเลียได้รับธรรมนูญแห่งเวสต์มินสเตอร์ในตอนที่ 2 ถึง 6 โดยตราเป็นพระราชบัญญัติการรับรองธรรมนูญแห่งเวสต์มินสเตอร์ ค.ศ. 1942 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชัดเจนในการนิติบัญญัติของออสเตรเลียในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งในการรับรองนั้นได้มีผลบังคับใช้ย้อนหลังไปถึง 3 กันยายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นวันที่สหราชอาณาจักรและออสเตรเลียเข้าร่วมสงคราม

ในการรับรองเนื้อหาตอนที่ 2 ของธรรมนูญได้แจกแจงว่ารัฐสภาออสเตรเลียสามารถที่จะตรากฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับสหราชอาณาจักรได้ และในการรับรองเนื้อหาตอนที่ 3 ได้อธิบายว่าออสเตรเลียสามารถมีอำนาจนิติบัญญัตินอกอาณาเขตได้ การรับรองเนื้อหาตอนที่ 4 ระบุว่าสหราชอาณาจักรสามารถมีอำนาจนิติบัญญัติต่อออสเตรเลียทั้งประเทศได้เฉพาะในกรณีที่ได้รับการร้องขอและยินยอมโดยออสเตรเลีย

อำนาจนิติบัญญัติของรัฐสภาสหราชอาณาจักรต่อออสเตรเลียนั้นสิ้นสุดลงกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติออสเตรเลีย ค.ศ. 1986 ซึ่งในฉบับของสหราชอาณาจักรระบุว่าได้ผ่านโดยคำร้องขอและคำยินยอมจากรัฐสภาออสเตรเลีย ซึ่งได้รับความเห็นชอบโดยรัฐสภาของรัฐต่างๆ ในออสเตรเลียในเวลาเดียวกัน[3]

แคนาดา

กฎหมายนี้จำกัดอำนาจนิติบัญญัติของรัฐสภาสหราชอาณาจักรต่อแคนาดาซึ่งมีผลทำให้แคนาดามีอิสรภาพในด้านนิติบัญญัติในฐานะของประเทศในเครือจักรภพที่ปกครองตนเองได้ อย่างไรก็ตามรัฐสภาสหราชอาณาจักรยังคงไว้ซึ่งอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญแคนาดาตามคำร้องของรัฐสภาแคนาดา ซึ่งได้มีผลมาจนถึงการผ่านรัฐธรรมนูญแคนาดา ค.ศ. 1982 ซึ่งถ่ายโอนอำนาจมาเป็นของประเทศแคนาดาอย่างสมบูรณ์ โดยถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการได้รับเอกราชอย่างเต็มตัว[4][5][6]

เสรีรัฐไอริช

นิวซีแลนด์

รัฐสภานิวซีแลนด์ได้รับธรรมนูญแห่งเวสต์มินสเตอร์โดยผ่านพระราชบัญญัติการรับธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์ ค.ศ. 1947 เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1947 ตามด้วยพระราชบัญญัติการแก้ไขรัฐธรรมนูญนิวซีแลนด์ซึ่งผ่านรัฐสภาในปีเดียวกันโดยมีสาระสำคัญคือการยอมให้รัฐสภานิวซีแลนด์มีอำนาจเต็มในการแก้ไขรัฐธรรมนญแต่อย่างไรก็ดียังไม่ได้เพิกถอนสิทธิของรัฐสภาสหราชอาณาจักรในการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญนิวซีแลนด์ ซึ่งบทบาทที่เหลืออยู่ของรัฐสภาสหราชอาณาจักรนั้นถูกยกเลิกโดยสมบูรณ์โดยรัฐธรรมนูญนิวซีแลนด์ ค.ศ. 1986 และจึงทำให้ธรรมนูญแห่งเวสต์มินสเตอร์นั้นมีผลถูกยกเลิกไปทั้งฉบับ[3][7]

นิวฟันด์แลนด์

ประเทศนิวฟันด์แลนด์ในเครือจักรภพไม่เคยรับรองธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์ โดยมีสาเหตุหลักมาจากปัญหาด้านเศรษฐกิจต่างๆ และการคอรัปชั่น ในปีค.ศ. 1934 โดยการร้องขอจากรัฐบาลนิวฟันด์แลนด์ สหราชอาณาจักรได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการรัฐบาลขึ้นเพื่อนำการปกครองโดยตรงกลับมาใช้จนกระทั่งปีค.ศ. 1949[8] เมื่อนิวฟันด์แลนด์กลายมาเป็นรัฐหนึ่งของแคนาดาจากการออกเสียงประชามติเมื่อค.ศ. 1948[9]

สหภาพแอฟริกาใต้

แม้ว่าสหภาพแอฟริกาใต้นั้นไม่อยู่ในกลุ่มประเทศในเครือจักรภพที่จำเป็นจะต้องรับรองธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์จึงจะสามารถบังคับใช้ได้ อย่างไรก็ตามสหภาพแอฟริกาใต้ได้ผ่านพระราชบัญญัติสองฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติสถานะของสหภาพ ค.ศ. 1934 และพระราชบัญญัติอำนาจบริหารและตรา ค.ศ. 1934 โดยมีวัตถุประสงค์ในการรับรองสถานะของแอฟริกาใต้ในฐานะประเทศเอกราช[10]

ความเกี่ยวข้องต่อการสืบราชสันตติวงศ์

Thumb
นายกรัฐมนตรีแคนาดา วิลเลียม ไลอัน แมกเคนซี คิง (ซ้าย) และนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร สแตนลีย์ บอลดวิน (ขวา) เมื่อ ค.ศ. 1926

ในบทนำของธรรมนูญแห่งเวสต์มินสเตอร์ได้กำหนดถึงขนบประเพณีที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนกฎการสืบราชสันตติวงศ์ แห่งพระมหากษัตริย์ในย่อหน้าที่สองของบทนำระบุว่า

และทั้งที่เป็นการสมควรและเหมาะสมที่จะกำหนดไว้ในคำนำในพระราชบัญญัตินี้ว่าตราบเท่าที่สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ของสมาชิกสัมพันธ์เสรีในเครือจักรภพแห่งประชาชาติ ซึ่งได้รวมกันเป็นหนึ่งเดียวภายใต้ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์เสมอเหมือนกัน จึงเป็นการสอดคล้องกันกับสถานะทางรัฐธรรมนูญที่ได้จัดตั้งขึ้นของประเทศสมาชิกแห่งเครือจักรภพซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันว่าการเปลี่ยนแปลงแก้ไขใดๆ ในกฎหมายที่จะเกี่ยวข้องกับการรสืบราชสันตติวงศ์หรือพระอิสริยยศจะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตและได้รับการยินยอมเห็นชอบจากรัฐสภาในประเทศเครือจักรภพทั้งหมดรวมถึงรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร

ซึ่งหมายความว่า ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงของบทบัญญัติในพระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ของประเทศใดๆ ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญที่ห้ามมิให้ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกขึ้นครองราชสมบัติ ซึ่งการจะเปลี่ยนแปลงบทบัญญัตินี้ได้นั้นจะต้องได้รับการเห็นชอบจากรัฐสภาทั้งหมดในเครือจักรภพแห่งประชาชาติหากจะคงไว้ซึ่งวัตถุประสงค์เดียวกันเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ คำนำนี้ไม่ได้มีบทบัญญัติที่สามารถบังคับใช้ได้เอง โดยเพียงแค่เป็นการชี้ให้เห็นถึงจารีตรัฐธรรมนูญแม้ว่าจะมีเพียงพื้นฐานประการหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรเครือจักรภพ (ในฐานะของรัฐเอกราชนั้น แต่ละรัฐย่อมมีอิสระในการเพิกถอนจากข้อตกลงโดยผ่านขั้นตอนของการแก้ไขรัฐธรรมนูญในรัฐนั้นๆ) นอกจากนี้ ในหมวดที่ 4 บัญญัติไว้ว่าหากอาณาจักรใดมีความประสงค์ที่จะให้ผ่านกฎหมายสหราชอาณาจักรเพื่อแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ของสหราชอาณาจักรเพื่อจะนำไปใช้ในเป็นกฎหมายของอาณาจักรนั้น จึงจะถือเป็นการแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ของอาณาจักรนั้นได้ ซึ่งจะต้องมีการร้องขอต่อและต้องได้รับการยินยอมรัฐสภาสหราชอาณาจักรโดยตราเป็นกฎหมายสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตามหมวดที่ 4 แห่งธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์นั้นถูกยกเลิกในหลายอาณาจักรโดยถูกแทนที่ด้วยมาตราในรัฐธรรมนูญที่ห้ามมิให้รัฐสภาสหราชอาณาจักรเข้ามามีอำนาจนิติบัญญัติในอาณาจักรนั้นๆ โดยเด็ดขาด

เหตุนี้จึงทำให้เกิดความกังวลในหลายฝ่าย ซึ่งหมายความว่ารัฐสภาในทุกประเทศจะต้องให้คำยินยอมต่อความเปลี่ยนแปลงใดๆ ของแต่ละอาณาจักรที่จะเปลี่ยนแปลงกฎการสืบราชสันตติวงศ์ดังตัวอย่างเช่นในความตกลงเพิร์ธซึ่งเป็นข้อเสนอในการยกเลิกหลักสิทธิของบุตรชายหัวปี[11]

กรณีสละราชสมบัติของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8

Thumb
ตราสารแห่งการสละราชสมบัติ ลงพระปรมาภิไธยโดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 พร้อมด้วยพระอนุชาทั้งสามพระองค์ ได้แก่ เจ้าชายอัลเบิร์ต, เจ้าชายเฮนรี และเจ้าชายจอร์จ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1936

ในช่วงวิกฤตการณ์สละราชสมบัติในปีค.ศ. 1936 นายกรัฐมนตรีสแตนลีย์ บอลดวิน ได้หารือกับนายกรัฐมนตรีในเครือจักรภพแห่งประชาชาติตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 เนื่องจากทรงมีพระราชประสงค์จะอภิเสกกับวอลลิส ซิมป์สัน ผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีและนักการเมืองทั้งหลายในสหราชอาณาจักรเห็นว่าไม่เหมาะสมต่อฐานะสมเด็จพระราชินีเนื่องจากเป็นชาวอเมริกันผู้ที่เคยผ่านการหย่าร้างมาก่อน บอลดวินยังสามารถได้ความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีจากห้าประเทศในเครือจักรภพให้ตกลงต่อความไม่ชอบนี้และบันทึกความไม่เห็นชอบต่อการอภิเสกสมรส ต่อมาทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยให้นายกรัฐมนตรีทั้งหลายในเครือจักรภพตกลงเห็นชอบกันเรื่องแผนการรอมชอมที่จะทรงอภิเสกต่างฐานันดรซึ่งจะทำให้วอลลิส ซิมป์ซันไม่ได้ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินี และด้วยการกดดันจากบอลดวิน แผนสำรองนี้ไม่ได้รับการเห็นชอบโดยกลุ่มประเทศในเครือจักรภพ โดยข้อต่อรองต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นในระดับการทูตเท่านั้น และไม่เคยถึงรัฐสภาในประเทศเครือจักรภพเลย อย่างไรก็ดี การตรากฎหมายเพื่อยินยอมให้มีการสละราชสมบัติ (พระราชบัญญัติพระราชประสงค์ในการสละราชสมบัติ ค.ศ. 1936) ต้องการความเห็นชอบของรัฐสภาของแต่ละประเทศในเครือจักรภพ และได้รับการยินยอมจากรัฐบาลของประเทศนั้นๆ เพื่อที่จะบังคับใช้เป็นพระราชบัญญัติของในแต่ละประเทศได้โดยสมบูรณ์ เพื่อความสะดวกและหลีกเลี่ยงความลำบากใจนั้น รัฐบาลสหราชอาณาจักรจึงแนะนำให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ ในเครือจักรภพให้เห็นชอบต่อประเด็นว่าสมาชิกในพระราชวงศ์พระองค์ใดที่ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรนั้นย่อมเป็นพระมหากษัตริย์ของประเทศในเครือจักรภพอื่นๆ โดยปริยาย อย่างไรก็ตาม ประเทศอื่นๆ ไม่ยอมรับข้อเสนอนี้ วิลเลียม ไลอัน แมกเคนซี คิง นายกรัฐมนตรีแคนาดา ได้ระบุว่าธรรมนูญแห่งเวสต์มินสเตอร์บัญญัติไว้ชัดว่าแคนาดาจะต้องได้รับคำร้องขอและต้องให้ความเห็นชอบต่อร่างกฎหมายใดๆ ที่ผ่านโดยรัฐสภาสหราชอาณาจักร ก่อนที่จะมาบังคับใช้เป็นกฎหมายแคนาดาและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการสืบสันตติวงศ์ของแคนาดาได้ โดยบทบัญญัติในพระราชบัญญัติฉบับของสหราชอาราจักรบัญญัติไว้ว่าแคนาดาจะต้องได้รับคำร้องขอและแคนาดาจะต้องให้ความเห็นชอบ (เป็นประเทศเดียวในเครือจักรภพ[12]) ในพระราชบัญญัติใดๆ ที่จะบังคับใช้ในแคนาดาภายใต้ธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์ ในขณะที่ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพแอฟริกาใต้เพียงแค่ให้ความยินยอมเพียงฝ่ายเดียว

อนุสรณ์

ในบางประเทศซึ่งกำหนดให้ธรรมนูญแห่งเวสต์มินสเตอร์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ วันครบรอบของการผ่านร่างกฎหมายนี้มีพิธีรำลึกกันโดยกำหนดเป็น "วันธรรมนูญแห่งเวสต์มินสเตอร์" ในประเทศแคนาดาถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่าทุกวันที่ 11 ธันวาคม ของทุกปีจะมีการเชิญธงราชธวัชสหภาพ (Royal Union Flag) ซึ่งคือธงยูเนียนแจ็กซึ่งเป็นชื่อเรียกตามกฎหมายในแคนาดา ขึ้นสู่ยอดเสาในบริเวณสถานที่ราชการในพระมหากษัตริย์แห่งสหพันธ์[13]ที่มีเสาธงรอง

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

  1. ในชื่อย่อตามหมวดที่ 12 ของพระราชบัญญัตินี้ เมื่อแรกเริ่มตราขึ้น ชื่อเรื่องได้มีเครื่องหมายลูกน้ำ (ในภาษาอังกฤษ) ดังนี้ "Statute of Westminster, 1931" ซึ่งต่อมาเครื่องหมายลูกน้ำได้ถูกถอดออกในการแก้ไขพระราชบัญญัตินี้ในกาลต่อมา การตราชื่อย่อของพระราชบัญญัติในสมัยใหม่ของสหราชอาณาจักรนั้นยกเลิกการใช้เครื่องหมายลูกน้ำก่อนการระบุวันที่

อ้างอิง

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.