การกลับชาติมาเกิด (อังกฤษ: reincarnation) บางทีเรียก การเกิดใหม่ (rebirth) หรือ การเวียนว่ายตายเกิด (transmigration)[1][2] เป็นความเชื่อทางปรัชญาหรือทางศาสนาว่า สภาวะไร้รูปร่างของสิ่งมีชีวิตจะเริ่มชีวิตใหม่ในสภาพหรือรูปร่างอื่นหลังจากถึงแก่ความตายและมีการเปลี่ยนผ่านในทางชีวะแล้ว

Thumb
การกลับชาติมาเกิดในศิลปะฮินดู
Thumb
ในศาสนาเชน หลังจากเสียชีวิตแล้ว วิญญาณจะเดินทางไปยังหนึ่งในสี่โลก โดยขึ้นอยู่กับผลกรรมที่ก่อมาตอนที่ยังมีชีวิตอยู่

การกลับชาติมาเกิดเป็นความเชื่อหลักในกลุ่มไสยศาสตร์และในศาสนาแบบอินเดีย ซึ่งได้แก่ ศาสนาเชน, ศาสนาพุทธ, ศาสนาซิกข์ และศาสนาฮินดู ถึงแม้บางกลุ่มในศาสนาฮินดูไม่เชื่อเรื่องนี้ แต่ก็เชื่อในชีวิตหลังความตาย[2][3][4][5] การกลับชาติมาเกิดยังพบในศาสนายูดายออร์ทอดอกซ์หลายสาย และพบในความเชื่อบางประการของกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันในสหรัฐ (ในรูปแบบที่แตกต่างกัน)[6] รวมถึงชนพื้นเมืองออสเตรเลียบางส่วน (แต่ส่วนใหญ่เชื่อเรื่องชีวิตหลังความตายหรือโลกของวิญญาณ)[7] ชาวกรีกหลายคนในประวัติศาสตร์ เช่น พีทาโกรัส, โสกราตีส และเพลโต เชื่อเรื่องการเกิดใหม่ หรือเมเทมไซโคซิส (metempsychosis)[8] การกลับชาติมาเกิดยังเป็นความเชื่อในศาสนาสมัยใหม่ส่วนใหญ่ ถึงแม้ประชากรส่วนใหญ่ในศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามไม่เชื่อเรื่องนั้น แต่มีบางกลุ่มในศาสนาเหล่านั้นเชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิดใหม่ เช่น ลัทธิแคทาร์, อะละวีย์, ดรูซ[9] และโรซิครูเชียน[10] ความสัมพันธ์ในทางประวัติศาสตร์ ระหว่างนิกายดังกล่าว กับความเชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิดซึ่งมีลักษณะแบบนีโอเพลโตนิซึม, ออร์ฟิซึม, เฮอร์เมติซิซึม ศาสนามาณีกีและไญยนิยมในสมัยโรมัน รวมถึงกลุ่มศาสนาแบบอินเดีย ได้กลายเป็นหัวเรื่องการศึกษาวิจัยในยุคปัจจุบัน[11] นอกจากนี้ ในไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ชาวยุโรปและชาวอเมริกาเหนือยังเริ่มสนใจการกลับชาติมาเกิด และมีงานเขียนร่วมสมัยหลายเรื่องที่เอ่ยถึงการกลับชาติมาเกิด[12]

ดูเพิ่ม

  • ไซคลิกโมเดล
  • การจุติลงมา
  • โจน แกรนต์
  • โหราศาสตร์ตามกรรม (Karmic astrology)
  • การทบทวนชีวิต
  • การจำลองสมองทั้งหมด
  • ก่อนการมีตัวตน
  • การกลับชาติมาเกิดใหม่ในวัฒนธรรมประชานิยม
  • ศันติ เทวี (Shanti Devi)
  • คู่แท้ทางจิตวิญญาณ
  • ร่างกายอันบอบบาง
  • ซัลโมซิส

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.