ตะพาบไต้หวัน (อังกฤษ: Chinese softshelled turtle; จีน: 中華鱉; พินอิน: zhōnghuá biē; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pelodiscus sinensis) ตะพาบชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ตะพาบพันธุ์พื้นเมืองของไทย แต่เป็นตะพาบที่พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เช่น จีน, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น, เกาหลีเหนือ, เกาหลีใต้ ตลอดจนรัสเซีย และเวียดนาม มีรูปร่างคล้ายตะพาบสวน (Amyda cartilaginea) ที่พบได้ในประเทศไทย แต่ตะพาบไต้หวันมีขนาดเล็กกว่า โตเต็มมีขนาดกระดองประมาณ 25 เซนติเมตร มีนิสัยดุร้าย

ข้อมูลเบื้องต้น ตะพาบไต้หวัน, สถานะการอนุรักษ์ ...
ตะพาบไต้หวัน
Thumb
สถานะการอนุรักษ์
Thumb
ไม่มั่นคง  (IUCN 2.3)[1][2]
CITES Appendix II (CITES)[3]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
Reptilia
อันดับ: เต่า
Testudines
อันดับย่อย: อันดับย่อยเต่า
Cryptodira
วงศ์: วงศ์ตะพาบ
Trionychidae
สกุล: ตะพาบจีน
Pelodiscus
(Wiegmann, 1835)[1]
สปีชีส์: Pelodiscus sinensis
ชื่อทวินาม
Pelodiscus sinensis
(Wiegmann, 1835)[1]
ชื่อพ้อง

ดูข้อความ

ปิด

ลักษณะกระดองเป็นทรงรีเล็กน้อย ลักษณะโครงร่างแบบผิวกระดองเรียบมีกระดองส่วนที่นิ่มหรือเชิงค่อนข้างมาก มีหัวใหญ่ คอ ยาวมาก ปากแหลม ฟันคมและแข็งแรง เมื่อยังเล็กกระดองเป็นสีเขียวเข้มด้านท้องจะมีสีส้มและสีดำสลับ 5-6 ตำแหน่ง ใต้ท้องมีสีขาว เมื่อโตเต็มวัยกระดองจะเป็นสีเขียวอมเหลือง บริเวณขอบตาจะมีสีเหลืองเห็นได้ชัดเจน ตรงกลางกระดองจะมีรอยขีดขวางลำตัว 6-7 ขีด ส่วนท้องอ่อนนุ่มมีสีขาวอมชมพูหรือสีเหลืองอ่อน ๆ

นิยมรับประทานโดยทำเป็นซุป นิยมกันมากในแบบอาหารจีนและอาหารญี่ปุ่น ทำให้นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ที่ปัจจุบันนิยมเลี้ยงมากกว่าตะพาบสวน เพราะโตได้เร็วและแพร่ขยายพันธุ์ได้เร็วกว่า และยังนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะในตัวที่เป็นเผือก แต่ในด้านสิ่งแวดล้อมขณะนี้พบเป็นเผ่าพันธุ์ต่างถิ่น ที่รุกรานที่อยู่อาศัยและที่วางไข่ของตะพาบและเต่าพื้นเมืองของไทย

ปัจจุบัน มีฟาร์มเพาะเลี้ยงกันในประเทศไทยแถบจังหวัดภาคตะวันออก เช่น ระยอง, ชลบุรี, ตราด และเพชรบุรี [4] [5]

ความเชื่อ

ในความเชื่อของญี่ปุ่น ตะพาบไต้หวันมีชื่อเรียกว่า ซึปปง (ญี่ปุ่น: すっぽん) เป็นสัตว์น้ำที่พบได้ทั่วไปในแหล่งน้ำของญี่ปุ่น โดยในบางครั้งจะมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pelodiscus japonica (ซึ่งถือเป็นชนิดย่อย) เชื่อกันว่าซึปปงเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กจมน้ำเสียชีวิตเช่นเดียวกับ กัปปะ ซึ่งเป็นพรายน้ำ

เรื่องราวของซึปปงถูกรวบรวมไว้ในหนังสือรวบรวมเรื่องแปลกเหนือธรรมชาติของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1812 เกี่ยวกับพ่อค้าคนหนึ่งชื่อ คิโระกุ (亀六) อาศัยอยู่ที่นิอิกะตะ ทำการค้าขายซุปตะพาบน้ำ ด้วยการฆ่าขายเป็นจำนวนร้อย ๆ ตัว เป็นเวลานาน คืนหนึ่ง ขณะที่นอนหลับอยู่เขาฝันว่าที่นอนซึ่งเขานอนอยู่นั้นก็เปลี่ยนสภาพเป็นสิ่งที่อ่อนหยุ่นคล้ายน้ำ และรอบตัวก็มีแต่ตะพาบน้ำคืบคลานมาทำร้ายเขา และกัดเข้าที่คอ จนเขาสะดุ้งตื่น ภรรยาเขาถามว่าเกิดอะไรขึ้น และคืนต่อ ๆ มาก็ฝันในลักษณะเช่นนี้ทุกคืน จนท้ายที่สุดเขาต้องยุติอาชีพนี้และออกบวช[6]

ชื่อพ้อง

ชื่อพ้องของตะพาบชนิดนี้มีจำนวนมาก โดยมีตัวอย่างดังนี้:[7]

  • Testudo rostrata Thunberg, 1787 (nomen suppressum)
  • Testudo striata Suckow, 1798
  • Testudo semimembranacea Hermann, 1804 (nomen suppressum et rejectum)
  • Emydes rostrataBrongniart, 1805
  • Trionyx (Aspidonectes) sinensis Wiegmann, 1834 (nomen conservandum)
  • Trionyx japonicusTemminck & Schlegel, 1835
  • Trionyx tuberculatus Cantor, 1842
  • Pelodiscus sinensisFitzinger, 1843
  • Tyrse perocellata Gray, 1844
  • Trionyx perocellatusGray, 1856
  • Trionyx schlegelii Brandt, 1857
  • Potamochelys perocellatusGray, 1864
  • Potamochelys tuberculatusGray, 1864
  • Landemania irrorata Gray, 1869
  • Landemania perocellataGray, 1869
  • Trionyx peroculatus Günther, 1869 (ex errore)
  • Gymnopus perocellatusDavid, 1872
  • Gymnopus simonii David, 1875 (nomen nudum)
  • Ceramopelta latirostris Heude, 1880
  • Cinctisternum bicinctum Heude, 1880
  • Coelognathus novemcostatus Heude, 1880
  • Coptopelta septemcostata Heude, 1880
  • Gomphopelta officinae Heude, 1880
  • Psilognathus laevis Heude, 1880
  • Temnognathus mordax Heude, 1880
  • Trionyx sinensis newtoni Bethencourt-Ferreira, 1897
  • Tortisternum novemcostatum Heude, 1880
  • Temnognanthus mordaxBoulenger, 1889
  • Tyrse sinensisHay, 1904
  • Amyda japonicaStejneger, 1907
  • Amyda schlegeliiStejneger, 1907
  • Amyda sinensisStejneger, 1907
  • Amyda tuberculataSchmidt, 1927
  • Trionyx sinensis sinensisSmith, 1931
  • Trionyx sinensis tuberculatusSmith, 1931
  • Amyda schlegelii haseri Pavlov, 1932
  • Amyda schlegelii licenti Pavlov, 1932
  • Amyda sinensis sinensisMertens, Müller & Rust, 1934
  • Amyda sinensis tuberculataMertens, Müller & Rust, 1934
  • Trionyx schlegeli Chkhikvadze, 1987 (ex errore)
  • Trionix sinensisRichard, 1999
  • Pelodiscus sinensis sinensisFerri, 2002
  • Pelodiscus sinensis tuberculatusFerri, 2002
  • Pelodiscus sinensis japonicusJoseph-Ouni, 2004

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.