เอฟ-5เอ/บี ฟรีดอมไฟเตอร์ (F-5 Freedom Fighter) และ เอฟ-5อี/เอฟ ไทเกอร์ ทู เป็นเครื่องบินขับไล่ของสหรัฐอเมริกา เริ่มออกแบบเมื่อปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) โดยบริษัทนอร์ทธรอป กรัมแมน
F-5A/B Freedom Fighter F-5E/F Tiger II | |
---|---|
เครื่องบินรบ F-5 ของกองทัพอากาศสวิสต์เซอร์แลนด์ | |
หน้าที่ | เครื่องบินขับไล่หลากบทบาท |
ประเทศผู้ผลิต | สหรัฐ |
ผู้ผลิต | Northrop Corporation |
เที่ยวบินแรก | F-5A: 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 F-5E: 11 สิงหาคม พ.ศ. 2515 |
เริ่มใช้ | พ.ศ.2505 |
สถานะ | ประจำการ |
ผู้ใช้หลัก | กองทัพเรือสหรัฐ กองทัพอากาศสาธารณรัฐจีน กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี กองทัพอากาศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน |
การผลิต | พ.ศ.2502–พ.ศ.2530 |
จำนวนที่ถูกผลิต | A/B/C: 847[1] E/F: 1,399[2] |
ค่าใช้จ่ายต่อลำ |
F-5E: US$2.1 million[3] |
พัฒนาจาก | นอร์ธรอป ที-38 ทาลอน |
รุ่น | Canadair CF-5 Shaped Sonic Boom Demonstration |
พัฒนาเป็น | Northrop F-20 Tigershark HESA Azarakhsh HESA Saeqeh HESA Kowsar |
ประวัติ
F-5 ถือกำเนิดจากโครงการของบริษัทนอร์ทธรอปที่ทำวิจัยและพัฒนาเครื่องบินขับไล่ที่มีขนาดเล็กแต่มีประสิทธิภาพสูงภายใต้โครงการ N-156F แม้ว่ากองทัพอากาศสหรัฐจะไม่ได้ให้ความสนใจในเครื่องบินขับไล่ขนาดเล็ก แต่เจ้าหน้าที่ในโครงการช่วยเหลือทางทหารของประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี เห็นถึงศักยภาพที่เครื่องบินในโครงการ N-156F ที่จะสามารถเปิดโอกาสให้ประเทศกำลังพัฒนาที่พันธมิตรของสหรัฐได้จัดหาเครื่องบินขับไล่ประสิทธิภาพสูงที่มีราคาไม่แพง รัฐบาลสหรัฐจึงได้เลือกเครื่องบินในโครงการ N-156F มาพัฒนาจนกลายเป็น F-5A Freedom Fighter ซึ่งถือเป็น F-5 รุ่นแรกของโลก และส่งมอบหรือขายให้กับพันธมิตรชาติต่าง ๆ ทั่วโลก
ต่อมาในช่วงปี 1970 บริษัทนอร์ทธรอปได้รับชัยชนะในโครงการเครื่องบินขับไล่นานาชาติรุ่นปรับปรุง (Improved International Fighter Aircraft) เพื่อทดแทน F-5A โดยกองทัพอากาศสหรัฐกำหนดชื่อรุ่นเป็น F-5E Tiger II สำหรับรุ่นที่นั่งเดี่ยว และ F-5F Tiger II สำหรับรุ่นสองที่นั่ง โดยมีการปรับปรุงที่สำคัญคือ เพิ่มอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคทางการบินที่ทันสมัย ติดตั้งเรด้าร์แบบ AN/APQ-153 ซึ่งมีระยะตรวจจับราว 25 กิโลเมตร (ในรุ่น A และ B ไม่ได้รับการติดตั้งเรด้าร์) ส่วน F-5F ก็ได้รับการติดตั้งปืนกลแบบ M39 ภายในลำตัว (ในรุ่น B ไม่ได้รับการติดตั้งปืนกล) นอกจากนั้นยังได้พัฒนา RF-5E ที่ติดกล้องถ่ายภาพเพื่อใช้ในภารกิจตรวจการณ์อีกด้วย
F-5 ถือเป็นหนึ่งในเครื่องบินขับไล่ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของประเทศค่ายประชาธิปไตย โดยมีผู้ใช้งานเกือบ 20 ประเทศ และมียอดการผลิตสูงกว่า 2 พันลำ ในปัจจุบันยังมีกองทัพอากาศหลายชาติที่ยังประจำการด้วย F-5 อยู่ หลายชาติเลือกที่จะทำการปรับปรุงเครื่องบินของตนที่ยังบินได้เพื่อที่จะยืดอายุการใช้งานออกไปให้นานที่สุด เช่นกองทัพอากาศบราซิลและกองทัพอากาศชิลีได้ว่าจ้างบริษัทอิลบิทของอิสราเอลให้ทำการปรับปรุง F-5E/F ของตนเป็น F-5EM และ F-5E/F Tiger III ตามลำดับ ซึ่งมีความสามารถในการติดตั้งจรวดนำวิถีจากอิสราเอลทั้งดาร์บี้และไพธอน-4 กองทัพอากาศสิงคโปร์ก็ได้ปรับปรุง F-5E/F ของตนโดยเปลี่ยนเรด้าร์ ระบบอิเล็กทรอนิคต่าง ๆ และเพิ่มความแข็งแรงให้กับปีก โดยกำหนดชื่อเป็น F-5S/T ซึ่งมีความสามารถในการใช้จรวดแบบ ไพธอน-4 และ AIM-120 แอมแรม ได้ สำหรับกองทัพอากาศไทยได้ดำเนินการว่าจ้างบริษัทอิลบิทให้ทำการปรับปรุง F-5E/F ในฝูงบิน 211 อุบล ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถติดตั้งจรวดไพธอน-4ได้ โดยกองทัพอากาศไทยกำหนดชื่อเรียกว่า F-5T Tigris
รุ่นของเอฟ-5
- F-5A Freedom Fighter
เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว
- F-5B Freedom Fighter
เครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง
- F-5C Skoshi Tiger
เป็นรุ่นที่ได้รับการปรับปรุงในบางจุด เช่น การติดตั้งท่อรับการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ
- F-5D
เครื่องบินขับไล่รุ่นสองที่นั่งซึ่งไม่ได้รับการผลิตจริง
- F-5E Tiger II
เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยวรุ่นปรับปรุง
- F-5F Tiger II
เครื่องบินขับไล่ที่สองที่นั่งรุ่นปรับปรุง
- F-5G
เปลี่ยนเครื่องยนต์จากสองเครื่องยนต์เป็นเครื่องยนต์เดียว ต่อมาคือเอฟ-20
- F-5N
รุ่นฝึกของกองทัพเรือสหรัฐ
- F-5S
เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดียวที่ได้รับการปรับปรุงโดยกองทัพอากาศสิงคโปร์
- F-5T
เครื่องบินขับไล่สองที่นั่งได้รับการปรับปรุงโดยกองทัพอากาศสิงคโปร์
- F-5T Tigris
เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดียวและสองที่นั่งที่ได้รับการปรับปรุงโดยกองทัพอากาศไทย
- F-5EM
เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดียวที่ได้รับการปรับปรุงโดยกองทัพอากาศบราซิล
- F-5FM
เครื่องบินขับไล่สองที่นั่งที่ได้รับการปรับปรุงโดยกองทัพอากาศบราซิล
- F-5E Tiger III
เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดียวที่ได้รับการปรับปรุงโดยกองทัพอากาศชิลี
- F-5F Tiger III
เครื่องบินขับไล่สองที่นั่งที่ได้รับการปรับปรุงโดยกองทัพอากาศชิลี
- RF-5A
เครื่องบินขับไล่ลาดตระเวนถ่ายภาพ
- RF-5E Tigereye
เครื่องบินขับไล่ลาดตระเวนถ่ายภาพ
- CF-5
- F-5TH Super Tigris
เครื่องบินขับไล่ที่ดัดแปลงโดยไทยให้อยู่ในยุค 4.5 เทียบเท่า JAS 39 Gripen
ประเทศที่มี F-5 ประจำการ
- ออสเตรีย
- เช่าจากสวิสเซอร์แลนด์เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการรอรับเครื่องบินขับไล่ไต้ฝุ่น
- บาห์เรน
- บอตสวานา
- บราซิล
- กองทัพอากาศบราซิล
- กองทัพอากาศชิลี
- กองทัพอากาศอิโดนิเซีย: F-5E ทั้ง 16 ลำปลดประจำการในปี 2548 ปัจจุบันเป็นเครื่องบินสำรอง
- กองทัพอากาศอิหร่าน: ได้รับมอบ F-5E/F จำนวน 140 ลำในสมัยพระเจ้าซาร์ ปัจจุบันปฏิบัติการได้ 60 – 70 ลำ
- กองทัพอากาศเนเธอแลนด์: ปลดประจำการ
- กองทัพอากาศนอร์เวย์
- ปากีสถาน
- ยืมมาจากประเทศอื่นชั่วคราวในระหว่างสงครามกับอินเดีย
- ฟิลิปปินส์
- กองทัพอากาศฟิลิปปินส์: ปลดประจำการ F-5A/B
- กองทัพอากาศเกาหลีใต้
- กองทัพอากาศซาอุดิอารเบีย
- กองทัพอากาศสิงคโปร์: ปรับปรุงเป็นรุ่น F-5S/T มีประจำการราว 35 ลำ
- กองทัพอากาศสเปน
- กองทัพอากาศสวิส: กำลังจัดหาเครื่องบินรุ่นใหม่มาทดแทน
- กองทัพอากาศไทย: F-5A/B/E จะถูกปลดประจำการในปี 2553 และทดแทนด้วย ยาส 39 โดย F-5T Tigris ยังประจำการต่อไป
- กองทัพอากาศตุรกี
- กองทัพอากาศสหรัฐ: เป็นเครื่องบินข้าศึกสมมุติ
- นาวิกโยธินสหรัฐ: เป็นเครื่องบินข้าศึกสมมุติ
- กองทัพเรือสหรัฐ: เป็นเครื่องบินข้าศึกสมมุติ
- กองทัพอากาศเวียดนามใต้
- กองทัพอากาศเวียดนาม: เป็นเครื่องเก่าของกองทัพอากาศเวียดนามใต้
เหตุการณ์ในประเทศไทย
พ.ศ. 2512 กองทัพอากาศไทยได้รับเอฟ-5 เอจากกองทัพสหรัฐอเมริกาจำนวน 5 เครื่องและเมื่อสหรัฐอเมริกาถอนตัวจากสงครามเวียดนามจนกระทั่งกรุงไซง่อนถูกยึดครองโดยกองทัพเวียดนามเหนือ(NVA) นักบินเวียดนามใต้ได้นำเอฟ-5 อีจำนวน 3 เครื่องบินหนีจากสนามบิน ตัน ซอน นุทเวียดนามมาลงที่สนามบินอู่ตะเภา ซึ่งเอฟ-5 อีทั้ง 3 เครื่องนี้สหรัฐอเมริกาได้นำกลับไปด้วย
พ.ศ. 2519 กองทัพอากาศไทยขออนุมัติรัฐบาล จัดซื้อเครื่องบินขับไล่เอฟ-5 อีและเอฟ-5 เอฟจากสหรัฐอเมริกาจำนวน 12 เครื่องและได้รับเครื่องบินเข้าประจำการครบฝูงในปี พ.ศ. 2521 โดยใช้ชื่อเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ข (บ.ข.๑๘ ข) หลังจากนั้นก็ได้มีการจัดซื้อเพิ่มเติมเรื่อย ๆ จนถึงในปัจจุบันกองทัพอากาศไทยมีเอฟ-5 มากกว่า 60 เครื่อง
เอฟ-5 ที่ประจำการในประเทศไทย
- F-5A ใช้ชื่อเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ (บ.ข.๑๘)
- F-5B ใช้ชื่อเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ก (บ.ข.๑๘ ก)
- F-5E ใช้ชื่อเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ข (บ.ข.๑๘ ข)
- F-5F ใช้ชื่อเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ค (บ.ข.๑๘ ค)
- RF-5A ใช้ชื่อเครื่องบินตรวจการณ์ขับไล่แบบที่ ๑๘ (บ.ตข.๑๘)
- F-5TH (เครื่องบินขับไล่ที่ปรับปรุงโดยทัพอากาศไทย)
รายละเอียด เอฟ-5
- ผู้สร้าง บริษัท นอร์ธรอป แอร์คราฟท์ (สหรัฐอเมริกา)
- ประเภท เจ๊ตขับไล่ยุทธวิธีที่นั่งเดียว
- เครื่องยนต์ เทอร์โบเจ๊ต เจเนอรัล อีเล็กตริค เจ 85-ยีอี-21 ให้แรงขับเครื่องละ 1,588 กิโลกรัม และ 2,268 กิโลกรัม เมื่อสันดาปท้าย 2 เครื่อง
- กางปีก 8.13 เมตร
- ยาว 14.68 เมตร
- สูง 4.06 เมตร
- พื้นที่ปีก 17.29 เมตร
- น้ำหนักเปล่า 4,346 กิโลกรัม
- น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 11,192 กิโลกรัม
- อัตราเร็วสูงสุด ไม่เกิน 1,314 กิโลเมตร/ชั่วโมง เมื่อมีน้ำหนักปฏิบัติการรบ 6,010 กิโลกรัม
- อัตราเร็วขั้นสูง 1.63 มัค ที่ระยะสูง 10,975 เมตร เมื่อเครื่องบินหนัก 10,975 กิโลกรัม
- เพดานบินใช้งาน 15,800 เมตร
- รัศมีทำการรบ 917 กิโลเมตร
- พิสัยบิน 2,943 กิโลเมตร เมื่อติดตั้งถังเชื้อเพลิงชนิดปลดทิ้งได้
- อาวุธ ปืนใหญ่อากาศขนาด 20 มม. M-39 A2/A3 ติดตั้งที่ลำตัวส่วนหัว 2 กระบอกพร้อมกระสุนกระบอกละ 280 นัด
- อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ เอไอเอ็ม-9 เจ ไซด์ไวน์เดอร์ ติดตั้งที่ปลายปีก ข้างละ 1 แห่ง
- ลูกระเบิดสังหาร ลูกระเบิดทำลาย ลูกระเบิดเนปาล์ม ลูกระเบิดพวง
- จรวดขนาด 2.95 นิ้ว
- สามารถติดตั้งอาวุธที่ใต้ปีกได้ข้างละ 2 แห่ง และ ใต้ลำตัว 1 แห่ง รวมเป็นน้ำหนักสูงสุด 3,175 กิโลกรัม[4]
อ้างอิง
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.