นกมาเลา (ตองงา: Malau, อังกฤษ: Tongan megapode, ชื่อวิทยาศาสตร์: Megapodius pritchardii) เป็นชนิดของนกในสกุล Megapodius วงศ์ Megapodiidae ปัจจุบันเป็นนกเฉพาะถิ่นในประเทศตองงา นกชนิดนี้ยังเป็นที่รูัจักในชื่ออื่น ๆ เช่น นกเมกะโพดพอลินีเชียและนกเมกะโพดนีอูอาโฟโออู ซึ่งที่มาของชื่อมาจากเกาะนีอูอาโฟโออู อันเป็นที่อยู่อย่างจำกัดของนกชนิดนี้มายาวนานหลายปี คำแสดงคุณลักษณะของนกชนิดนี้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่กงสุลอังกฤษ William Thomas Pritchard
นกมาเลา | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์ปีก Aves |
อันดับ: | อันดับไก่ Galliformes |
วงศ์: | Megapodiidae Megapodiidae |
สกุล: | Megapodius Megapodius Gray, 1864 |
สปีชีส์: | Megapodius pritchardii |
ชื่อทวินาม | |
Megapodius pritchardii Gray, 1864 | |
ชื่อพ้อง | |
|
การกระจายและถิ่นที่อยู่
นกมาเลาเป็นพันธุ์นกเมกะโพดเพียงพันธุ์เดียวที่หลงเหลืออยู่ในตองงา จากเดิมที่มีสี่พันธุ์ในยุคก่อนการเข้ามาของมนุษย์ (ซึ่งเห็นได้จากหลักฐานจากฟอสซิล) และเป็นนกเมกะโพดเพียงพันธุ์เดียวที่เหลือรอดในภูมิภาคพอลินีเชีย[2] การสูญพันธุ์ลักษณะเดียวกันนี้พบได้ในฟีจีและนิวแคลิโดเนีย ซึ่งเคยมีอยู่สามสายพันธุ์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ สำหรับนกเมกะโพดสายพันธุ์นี้เคยมีการกระจายตัวอย่างกว้างขวาง โดยพบได้ทั้งในตองงา, ซามัว และนีวเว[3] สาเหตุของการสูญพันธุ์และลดจำนวนลงเกิดจากการเข้ามาของมนุษย์บนเกาะ รวมไปถึงการล่านกโตเต็มวัย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเก็บไข่ และจากการล่าโดยสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
บนเกาะนีอูอาโฟโออู จำนวนประชากรของมนุษย์ที่น้อยและความห่างไกลของถิ่นที่อยู่ทำให้ยังสามารถดำรงสายพันธุ์อยู่ต่อไปได้ รังของนกได้รับการควบคุมอย่างระมัดระวังโดยผู้นำท้องถิ่น นกมาเลาจึงเป็นเมกะโพดที่เหลือรอดจากการเข้ามาของมนุษย์ในพอลินีเชียตะวันตก[4] ถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติของนกคือป่าที่ต่ำเขตร้อนชื้น โดยบนเกาะนีอูอาโฟโออูจะพบนกชนิดนี้ได้ในบริเวณกลางแอ่งยุบปากปล่อง นกมาเลาเหมือนนกเมกะโพดชนิดอื่นที่ไม่ฟักไข่โดยการนั่งลงบนไข่ แต่จะใช้วิธีการฝังไข่ในดินและทรายภูเขาไฟที่อุ่น เพื่อให้ไข่เกิดการพัฒนาเป็นตัวขึ้น หากเป็นถิ่นที่อยู่เดิมที่เคยพบการกระจายตัวแต่ไม่มีภูเขาไฟ คาดว่านกชนิดนี้น่าจะก่อเนินดินด้วยพืชผักเน่าเปื่อย แล่วฝังไข่ไว้ในนั้น[2] เมื่อลูกนกฟักตัวออกจากไข่จะมีความสามารถในการบินได้ทันที[5]
สถานะและการอนุรักษ์
นกมาเลาถูกคุกคามจากปัจจัยเดียวกันอันนำไปสู่การลดลงของประชากรนกทั่วพอลินีเชีย ไข่ของนกยังถูกเก็บรวบรวมโดยคนท้องถิ่น แม้ว่าในทางทฤษฎีจะมีการคุ้มครองจากรัฐบาล และยังมีการล่าเกิดขึ้นอยู่บ้าง นกมาเลายังได้รับการปกป้องจากความยากในการเข้าถึงถิ่นที่อยู่[5] ด้วยความเสี่ยงของประชากรกลุ่มเดียว จึงมีความพยายามในการโยกย้ายไข่ไปยังเกาะแห่งใหม่อันได้แก่เกาะลาเตและโฟนูอาเลอี การโยกย้ายไปยังโฟนูอาเลอีประสบความสำเร็จ และประมาณได้ว่ามีนกอยู่ 350–500 ตัว แต่การสำรวจที่เกาะลาเตพบว่าการโยกย้ายไข่นั้นล้มเหลว[6]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.