Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
La dolce vita (ภาษาอิตาลี แปลว่า "ชีวิตอันแสนหวาน" [1]) เป็นภาพยนตร์อิตาลีที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2503 กำกับและเขียนบทโดยเฟเดอริโก เฟลลินี ถ่ายทำด้วยฟิล์มขาวดำ และแต่งดนตรีประกอบภาพยนตร์โดย นิโน โรตา มีเนื้อหาเกี่ยวกับนักหนังสือพิมพ์หนุ่มเจ้าสำราญที่ใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์อยู่ในกรุงโรม วุ่นวายไปการทำงาน และใช้ชีวิตพัวพันไปกับสาวสวยหลายคน เพื่อค้นหาความรักและความสุขในชีวิต
La Dolce Vita | |
---|---|
กำกับ | เฟเดอริโก เฟลลินี |
เขียนบท | เฟเดอริโก เฟลลินี |
อำนวยการสร้าง | กัวเซปเป อามาโต แองเจโล ริซโซลี |
นักแสดงนำ | มาร์เชลโล มาสโตรอิอานนี แอนนิตา เอกเบิร์ก อานุก แอมเม อีวอง เฟอร์นูซ์ วอลเทอร์ ซานเทสโซ วาเลอเรีย ชิอานกอตตินี |
ดนตรีประกอบ | นิโน โรตา |
วันฉาย | 5 กุมภาพันธ์ 1960 19 เมษายน 1961 |
ความยาว | 174 นาที |
ประเทศ | อิตาลี ฝรั่งเศส |
ภาษา | (อิตาลี) (ฝรั่งเศส) (เยอรมัน) |
ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการอ้างถึงว่า เป็นจุดเปลี่ยนของผลงานของเฟลลินี จากผลงานยุคแรกในแนว neo-realism ไปสู่แนว surrealism ในยุคหลัง ภาพยนตร์ได้รับรางวัลปาล์มทองคำ จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ประจำปี 1960 [2][3] เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ 4 รางวัล และได้รับรางวัลการออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (ภาพยนตร์ขาวดำ) และได้รับการโหวตให้ติดอันดับ 6 จาก 100 อันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม โดยนิตยสาร Entertainment Weekly [4]
ฉากเด่นในภาพยนตร์ ที่ถูกนำมาอ้างอิงถึงบ่อยครั้ง คือฉากที่ มาร์เชลโล (มาร์เชลโล มาสโตรอิอานนี) และ ซิลเวีย (แอนนิตา เอกเบิร์ก) ลงไปเล่นน้ำในน้ำพุเทรวี [5] และฉากเปิดเรื่อง ที่มีเฮลิคอปเตอร์บรรทุกรูปปั้นพระเยซูเพื่อนำไปส่งที่กรุงวาติกัน ฉากเหล่านี้ถูกนำมาอ้างอิงถึงในภาพยนตร์ของสตีฟ มาร์ติน (L.A. Story ปี 1991), วูล์ฟกัง เบกเกอร์ (Good Bye, Lenin! ปี 2003), วูดดี อัลเลน (Celebrity ปี 1998) หรือแม้แต่หนังโป๊เกย์ของไมเคิล ลูคัส (Michael Lucas' La Dolce Vita ปี 2007)
ตัวละครช่างภาพที่ทำงานร่วมกับมาร์เชลโล ชื่อ ปาปาราซโซ (อิตาลี: Paparazzo) ก็เป็นที่มาของชื่อ "ปาปารัซซี" ที่ใช้เรียกช่างภาพอาชีพที่คอยติดตามเรื่องราวชีวิตส่วนตัวของดาราที่มีชื่อเสียง [6]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.