อักษรชวา (ภาษาชวา: ꦲꦏ꧀ꦱꦫꦗꦮ อักซาราจาวา) หรือ ฮานาจารากา () เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาชวา โดยก่อนหน้าที่จะใช้อักษรชวาเขียน ราว พ.ศ. 1900 ภาษาชวาเขียนด้วยอักษรปัลลวะ อีก 200 ปีถัดมาเขียนด้วยอักษรกวิ จนราว พ.ศ. 2200 อักษรชวาหรือจารากันจึงพัฒนาขึ้นมา อักษรนี้ถูกห้ามใช้ในช่วงที่ญี่ปุ่นยึดครองอินโดนีเซียระหว่าง พ.ศ. 2483 -2488 ราวพ.ศ. 2000 มีการเขียนภาษาชวาด้วยอักษรอาหรับเช่นกัน เรียกว่าเปกอลหรือกันดิล ตั้งแต่เนเธอร์แลนด์นำการเขียนด้วยอักษรละตินเข้ามาเผยแพร่ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2300 ทั้งอักษรชวาและอักษรอาหรับจึงถูกแทนที่ด้วยอักษรละติน ปัจจุบันอักษรชวาใช้ทางวิชาการและการประดับตกแต่ง ผู้ที่อ่านได้จะได้รับการยกย่องมากอักษรนี้เคยใช้เขียนภาษาบาหลีและภาษาซุนดา แต่ถูกแทนที่ด้วยอักษรละตินหมดแล้ว
อักษรชวา | |
---|---|
ชนิด | |
ช่วงยุค | ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงปัจจุบัน |
ทิศทาง | ซ้ายไปขวา |
ภาษาพูด | ภาษาชวา, ซุนดา, ซาซะก์, มาดูรา, อินโดนีเซีย, กวิ, สันสกฤต |
อักษรที่เกี่ยวข้อง | |
ระบบแม่ | อักษรโปรโต-คานาอันไนต์ |
ระบบพี่น้อง | อักษรบาหลี อักษรบาตัก อักษรบายบายิน อักษรบูฮิด อักษรฮานูโนโอ อักษรลนตารา อักษรซุนดา อักษรเรินกง อักษรเรชัง อักษรตักบันวา |
ISO 15924 | |
ISO 15924 | Java (361), Javanese |
ยูนิโคด | |
ยูนิโคดแฝง | Javanese |
ช่วงยูนิโคด | U+A980–U+A9DF |
ประวัติ
อักษรชวาและอักษรบาหลีเป็นอักษรรุ่นใหม่ของอักษรกวิซึ่งสืบทอดมาจากอักษรพราหมี พัฒนาขึ้นในชวาเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 14 ใช้ในการเขียนเอกสารทางศาสนาในใบลาน อักษรกวิได้พัฒนามาเป็นอักษรชวาเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 22 อักษรชวาใช้ในศาลในสุรการ์ตาและยอร์กยาการ์ตา และแพร่หลายในเกาะชวาและหมู่เกาะซุนดาน้อย ใช้เขียนเอกสารทางประวัติศาสตร์ และอื่นๆ
ตัวอักษรโลหะสำหรับอักษรชวาผลิตขึ้นครั้งแรกเมื่อราว พ.ศ. 2373 โดยชาวดัตช์ อักษรแบบตัวเขียนผลิตขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 25 ใน พ.ศ. 2469 ได้จัดมาตรฐานการสะกดคำภาษาชวา อย่างไรก็ตาม การใช้อักษรชวาถูกห้ามในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นเข้ามายึดครอง ในปัจจุบันไม่มีหนังสือพิมพ์หรือวารสารตีพิมพ์ด้วยอักษรชวา และใช้ในงานวิชาการเท่านั้น การใช้ในชีวิตประจำวันถูกแทนที่ด้วยภาษาอินโดนีเซียซึ่งใช้สอนในโรงเรียน และสอนอักษรนี้เป็นรายวิชาหนึ่ง รัฐบาลท้องถิ่นในชวากลางใช้อักษรชวาในป้ายคู่กับภาษาอินโดนีเซียตั้งแต่ พ.ศ. 2555
ลักษณะ
อักษรชวามีอักษร 35 ตัว แต่แทนหน่วยเสียงต่างกันขึ้นกับว่าใช้เขียนภาษาใด พยัญชนะมีเสียงอะหรือออเป็นพื้นเสียง ซึ่งเสียงสระนี้จะเปลี่ยนไปตามเครื่องหมายสระ เครื่องหมายวรรคตอน เช่น จุลภาค มหภาค และเครื่องหมายคำพูดใช้ในบทกวี เขียนจากซ้ายไปขวาและเขียนโดยไม่เว้นระหว่างคำ พยัญชนะมี 2 แบบ คือ ตัวเต็ม (อักษรา) และตัวเชิง (ปาซางัน) มีอักษรพิเศษเรียก อักษรา มุรทา หรือ อักษรา เกเท ใช้เขียนชื่อบุคคลที่เป็นที่เคารพ สระมีสองชุดคือสระจมและสระลอย
อักษรตัวเต็มพื้นฐานมี 20 ตัวได้แก่
ha | na | ca | ra | ka |
da | ta | sa | wa | la |
pa | dha | ja | ya | nya |
ma | ga | ba | tha | nga |
อักษรตัวเชิง
ha | na | ca | ra | ka |
da | ta | sa | wa | la |
pa | dha | ja | ya | nya |
ma | ga | ba | tha | nga |
เครื่องหมายตัวสะกด
Panyangga | Cêcak | Wingyan | Layar | Pangkon |
kaṃ | kang | kah | kar | -k |
พยัญชนะตัวควบกล้ำ
Cakra | Kêrêt | Pengkal |
kra | krê | kya |
อักษรส่วนเพิ่ม
เป็นอักษรที่เรียกอักษรมุรทาและมหาปรานา ใช้เขียนคำขึ้นต้นของชื่อบุคคลที่เป็นที่เคารพ โดยการใช้คล้ายกับการใช้อักษรตัวใหญ่ของอักษรละตินที่ใช้เขียนภาษาชวาในปัจจุบัน
อักษรสำหรับถ่ายเสียงภาษาอื่น
fa | qa | va | za | |
fa | qa | va | d͡ʒa |
tsa | ḥa | kha | dza | za | ṣa | ḍa | ṭa | ẓa | a' | gha | fa | qa |
θa | ħa | xa | ða | d͡ʒa | sˤa | ðˤa | tˤa | dˤa | ʔ | ɣa | fa | qa |
nya | rêu | lêu |
ɳa | rɤ | lɤ |
the | se | nie | hwe | yo | syo |
สระพื้นฐาน
a | i | u | e | o | ě |
- | Wulu | Suku | Taling | Taling-tarung | Pěpět |
สระส่วนเพิ่ม
aa | ii | uu | ai | au | ěu | o (ซุนดา) | i (กวิ) |
Tarung | Wulu mělik | Suku měndut | Dirga mure | Dirga mure-tarung | Pěpět-tarung | Tolong | - |
ตัวเลข
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 0 |
การเรียงลำดับ
อักษรชวามีการเรียงลำดับที่มีเอกลักษณ์ เพราะจะเป็นบทกวีในตัวของมันเองด้วย คือ "Hana caraka, data sawala, paḍa jayanya, maga baṭanga," ซึ่งมาจากนิทานพื้นบ้านเรื่องอายี ซากา[1] ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกษัตริย์องค์แรกของชวา อักษรชวานี้จะเรียงลำดับตามแบบของภาษาสันสกฤตก็ได้
- ꦲꦤꦕꦫꦏ
Hana caraka (มีผู้สื่อข่าวสองคน) - ꦢꦠꦱꦮꦭ
Data sawala (ต่างเป็นปรปักษ์กัน) - ꦥꦝꦗꦪꦚ
Padha jayanya (ทั้งสองเข้าต่อสู้กัน) - ꦩꦒꦧꦛꦔ
Maga bathanga (แล้วก็ตายทั้งคู่)
การใช้งานในปัจจุบัน
ใช้เขียนภาษาซุนดา
ชาวซุนดาบางส่วนใช้อักษรชวาในการเขียนภาษาซุนดา แต่ได้ดัดแปลงตัวอักษรและเปลี่ยนชื่อเรียกขากจากจารากันในภาษาชวาเป็นจาจารากัน มี 18 ตัวโดยตัดตัว dha และ tha ออกไป
ความคล้ายคลึงกับอักษรบาหลี
รูปลักษณ์ของอักษรชวาและอักษรบาหลีคล้ายคลึงกัน แต่ใช้ยูนิโคดต่างกัน
อักษรชวา | อักษรบาหลี |
อ้างอิง
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.