จะลาลาบาด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จะลาลาบาดmap

จะลาลาบาด (ปาทาน/ดารี: جلال‌آباد, Jalālābād) เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ในประเทศอัฟกานิสถาน โดยมีประชากรประมาณ 356,274 คน[3] และทำหน้าที่เป็นเมืองหลักในจังหวัดนันการ์ฮาร์ ห่างจากคาบูลประมาณ 130 กิโลเมตร (80 ไมล์) จะลาลาบาดตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำคาบูลและแม่น้ำคูนาร์ในที่ราบสูงทางใต้ของเทือกเขาฮินดูกูช[4] ทางตะวันตกมีทางหลวงเชื่อมไปที่คาบูลและทางตะวันออกผ่านทางผ่านไคเบอร์ไปยังเมืองเปศวาร์ของประเทศปากีสถาน

ข้อมูลเบื้องต้น จะลาลาบาด جلال‌آباد, ประเทศ ...
จะลาลาบาด

جلال‌آباد
เมือง
Thumb
Thumb
Thumb
Thumb
Thumb
Thumb
Thumb
จากบนซ้ายไปขวา: ภาพพาโนรามาของย่านหนึ่งในจะลาลาบาด; สะพานจะลาลาบาด; สนามกีฬาคริกเกตจะลาลาบาด; จัตุรัสพัชตูนิสถาน; มัสยิดในจะลาลาบาด; บ้านผู้ว่าการในจะลาลาบาด; สิ่งก่อสร้างในถนนสายหลัก
Thumb
จะลาลาบาด
จะลาลาบาด
ที่ตั้งในประเทศอัฟกานิสถาน
Thumb
จะลาลาบาด
จะลาลาบาด
จะลาลาบาด (ฮินดู-คูช)
พิกัด: 34°26′03″N 70°26′52″E
ประเทศเอมิเรตอิสลามอัฟกานิสถาน อัฟกานิสถาน
จังหวัดนันการ์ฮาร์
ก่อตั้งค.ศ. 1570
การปกครอง
  นายเทศมนตรีQari Ehsanullah Sajid[1]
พื้นที่
  พื้นดิน122 ตร.กม. (47 ตร.ไมล์)
ความสูง575 เมตร (1,886 ฟุต)
ประชากร
 (2021)[2]
  ทั้งหมด280,685 คน
 [2]
เขตเวลาUTC+4:30 (เวลามาตรฐานอัฟกานิสถาน)
ภูมิอากาศBWh
ปิด

จะลาลาบาดเป็นศูนย์กลางด้านกิจกรรมทางสังคมและการค้า เพราะตัวเมืองอยู่ในชายแดนTorkhamที่อยู่ห่างไป 65 กิโลเมตร (40 ไมล์)[5] โดยมีอุตสาหกรรมทำกระดาษ สินค้าเกษตร เช่น ส้ม ข้าว และอ้อย ซึ่งมีปัจจัยจากภูมิอากาศแบบอบอุ่น[6] เมืองนี้เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยนันการ์ฮาร์ สถาบันการศึกษาที่มีขนาดใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ กษัตริย์อัฟกันหลายพระองค์ทรงโปรดปรานเมืองนี้มาหลายศตวรรษ[7] ในรัชสมัยตีมูร์ ชาฮ์แห่งจักรวรรดิดูร์รานี จะลาลาบาดทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงฤดูหนาวของประเทศอัฟกานิสถาน[8]

ภูมิอากาศ

ภาพเมืองมองจากแม่น้ำคาบูลฝั่งเหนือ

จะลาลาบาดมีสภาพภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน (BWh) และเป็นหนึ่งในเมืองที่ร้อนที่สุดในประเทศอัฟกานิสถาน[9] โดยได้รับหยาดน้ำฝน 6 - 8 นิ้วต่อปี (152 - 203 มิลลิเมตรต่อปี) ซึ่งพบได้เฉพาะช่วงฤดูหนาวถึงฤดูใบไม้ผลิ และในช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิสามารถเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 49 °C[10]

เนื่องจากอุณหภูมิที่อบอุ่นในอัฟกานิสถานช่วงฤดูหนาว ทำให้จะลาลาบาด (ร่วมกับเปศวาร์) มักเป็น "เมืองหลวงฤดูหนาว" ของผู้นำอัฟกันมาหลายศตวรรษ[8][11] โดยคนรวยจะย้ายไปที่บ้านพักตากอากาศในจะลาลาบาดเพื่อหลีกเลี่ยงอากาศหนาวที่คาบูล[12]

ข้อมูลเพิ่มเติม ข้อมูลภูมิอากาศของจะลาลาบาด, เดือน ...
ข้อมูลภูมิอากาศของจะลาลาบาด
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 25.0
(77)
28.8
(83.8)
34.5
(94.1)
40.5
(104.9)
45.4
(113.7)
47.5
(117.5)
44.7
(112.5)
42.4
(108.3)
41.2
(106.2)
38.2
(100.8)
32.4
(90.3)
25.4
(77.7)
47.5
(117.5)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 15.9
(60.6)
17.9
(64.2)
22.5
(72.5)
28.3
(82.9)
34.7
(94.5)
40.4
(104.7)
39.3
(102.7)
38.0
(100.4)
35.2
(95.4)
30.5
(86.9)
23.3
(73.9)
17.5
(63.5)
28.63
(83.53)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 8.5
(47.3)
10.9
(51.6)
16.3
(61.3)
21.9
(71.4)
27.7
(81.9)
32.7
(90.9)
32.8
(91)
31.9
(89.4)
28.1
(82.6)
22.2
(72)
14.9
(58.8)
9.5
(49.1)
21.45
(70.61)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 2.9
(37.2)
5.6
(42.1)
10.5
(50.9)
15.3
(59.5)
19.8
(67.6)
24.7
(76.5)
26.7
(80.1)
26.2
(79.2)
21.4
(70.5)
14.4
(57.9)
6.9
(44.4)
3.5
(38.3)
14.83
(58.69)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) −14.1
(6.6)
-9.5
(14.9)
-1.0
(30.2)
6.1
(43)
10.6
(51.1)
13.5
(56.3)
19.0
(66.2)
17.5
(63.5)
11.0
(51.8)
2.7
(36.9)
−4.5
(23.9)
−5.5
(22.1)
−14.1
(6.6)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 18.1
(0.713)
24.3
(0.957)
39.2
(1.543)
36.4
(1.433)
16.0
(0.63)
1.4
(0.055)
6.9
(0.272)
7.7
(0.303)
8.3
(0.327)
3.2
(0.126)
8.3
(0.327)
12.1
(0.476)
181.9
(7.161)
ความชื้นร้อยละ 61 60 62 59 47 40 52 58 56 55 58 63 55.9
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 4 5 8 8 4 1 1 1 1 1 2 3 39
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 180.9 182.7 207.1 227.8 304.8 339.6 325.9 299.7 293.6 277.6 231.0 185.6 3,056.3
แหล่งที่มา: NOAA (1964-1983) [13]
ปิด

อ้างอิง

ข้อมูล

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.