ปลาฉลามมาโก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปลาฉลามมาโก

ปลาฉลามมาโก (อังกฤษ: Mako shark) ปลากระดูกอ่อนจำพวกปลาฉลามในสกุล Isurus (/อิ-ซัว-รัส/) ในวงศ์ Lamnidae อันเป็นวงศ์เดียวกับปลาฉลามขาว ซึ่งเป็นปลากินเนื้อและสัตว์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังคงสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน

ข้อมูลเบื้องต้น การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์, ชนิดต้นแบบ ...
ปลาฉลามมาโก
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ครีเตเชียส - ปัจจุบัน [1][2]
Thumb
[[ปลาฉลามมาโกครีบสั้น (อังกฤษ: Shortfin mako shark) (I. oxyrinchus)]]
Thumb
[[ปลาฉลามมาโกครีบยาว (อังกฤษ: Longfin mako shark) (I. paucus)]]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Chondrichthyes
ชั้นย่อย: Elasmobranchii
อันดับใหญ่: Selachimorpha
อันดับ: Lamniformes
วงศ์: Lamnidae
สกุล: Isurus
Rafinesque, 1810
ชนิดต้นแบบ
Isurus oxyrinchus
Rafinesque, 1810
ชื่อพ้อง
  • Isuropsis Gill, 1862
  • Lamiostoma Glikman, 1964
  • Oxyrhina Agassiz, 1838
  • Oxyrrhina Bonaparte, 1846
  • Plectrostoma Gistel, 1848
ปิด

ปลาฉลามมาโก จัดเป็นปลาฉลามที่มีความปราดเปรียวว่องไว เป็นปลาฉลามที่ว่ายน้ำได้เร็วที่สุดในโลก โดยทำความเร็วได้ถึง 50-70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทั้งนี้เป็นผลมาจากการขยับหางที่เว้าเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยวขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถเพิ่มความเร็วได้ในช่วงระยะเวลาเสี้ยววินาที เพื่อใช้ในการล่าเหยื่อประเภทต่าง ๆ เช่น โลมา, แมวน้ำ หรือเต่าทะล จากการจู่โจมจากด้านล่าง อีกทั้งยังสามารถกระโดดได้พ้นน้ำได้สูงถึง 9 เมตรอีกด้วย เป็นปลาที่มีดวงตากลมโตสีดำสนิท ภายในปากมีฟันแหลมคมจำนวนมากจนล้นออกนอกปาก จัดเป็นปลาฉลามอีกจำพวกหนึ่งที่ทำอันตรายมนุษย์ได้[3][4]

เป็นปลาที่ถือกำเนิดมาจากตั้งแต่ยุคครีเตเชียสจนถึงควอเทอนารี (ประมาณ: 99.7 ถึง 0.781 ล้านปีก่อน[1])

จำแนกออกได้เป็น 2 ชนิด ที่ยังคงสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน มีความยาวประมาณ 2.5 ถึง 4.5 เมตร (8.2 ถึง 14.8 ฟุต) และน้ำหนักมากที่สุดถึง 800 กิโลกรัม (1,800 ปอนด์)

โดยคำว่า "มาโก" มาจากภาษามาวรี หมายถึง ปลาฉลามหรือฟันปลาฉลาม[5]

การจำแนก

  • Isurus oxyrinchus (Rafinesque, 1810) (ปลาฉลามมาโกครีบสั้น)[6]
  • Isurus paucus (Guitart-Manday, 1966) (ปลาฉลามมาโกครีบยาว)[7]
  • Isurus desori (Agassiz, 1843)
  • Isurus escheri Agassiz 1843
  • Isurus flandricus (Leriche, 1910)
  • Isurus hastalis Agassiz, 1843[8]
  • Isurus minutus (Agassiz, 1843)
  • Isurus nakaminatoensis (Saito, 1961)
  • Isurus oxyrhinchus Rafinesque 1810
  • Isurus planus (Agassiz, 1856)
  • Isurus praecursor (Leriche, 1905)
  • Isurus rameshi (Mehrotra, Mishra & Srivastava, 1973)
  • Isurus spallanzani Rafinesque 1810
Thumb
ฟอสซิลฟันของปลาฉลามมาโกชนิด I. hastalis

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.